บ้านทองหยอด โรงเรียนแบดมินตันที่เริ่มต้นจากการขายขนมไทย ผู้ปลุกปั้น “วิว-กุลวุฒิ” คว้าเหรียญเงินโอลิมปิก
นาทีนี้คงไม่มีคนไทยคนไหนไม่รู้จัก “วิว กุลวุฒิ วิทิตศานต์” นักกีฬาแบดมินตันทีมชาติไทยผู้คว้าเหรียญเงินในโอลิมปิกเกม 2024 แต่เส้นทางนี้จะขาดผู้สนับสนุนรายสำคัญอย่าง “บ้านทองหยอด” ผู้ปลุกปั้นนักกีฬาแบดมินตันไทยไปคว้าแชมป์โลกแล้วถึง 2 คนด้วยกัน
วันนี้ Stock2morrow จะพาทุกคนมาเจาะธุรกิจโมเดลของ “บ้านทองหยอด” ว่าทำไมโรงเรียนที่เปิดสอนเฉพาะแบดมินตันล้วน ๆ ถึงสามารถกลายเป็นสถานที่ฝึกสอนแบดมินตันที่มีชื่อเสียงและสร้างนักกีฬาระดับโลกได้
[ชีวิต วิว-กุลวุฒิ ไม่ได้ง่ายเหมือนที่คิด ?]
เริ่มต้นแรกเริ่ม “วิว กุลวุฒิ วิทิตศานต์” ในวัย 7 ปี ได้เริ่มเล่นแบดมินตันตามคุณพ่อของเขาในระยะเริ่มแรก โดยเริ่มเล่นด้วยความสนุกสนานเพียงเพื่อต้องการหายขาดจากโรค “ภูมิแพ้” ที่เป็นอยู่
ต่อมาจึงเริ่มเข้าฝึกแบดมินตันอย่างจริงจังเพื่อลงแข่งในระดับยุวชนและเยาวชนภายในประเทศ ก่อนที่จะเริ่มย้ายสังกัดเข้ามาสู่ “บ้านทองหยอด” เมื่อวัย 13 ปี โดยได้แรงบันดาลใจจากรุ่นพี่ที่คว้าแชมป์โลกอย่าง “เมย์- รัชนก อินทนนท์”
ในปีแรกวิว-กุลวุฒิ ก็ยังไม่ได้โชว์ฟอร์มออกมาดีนัก ก่อนที่ในปีต่อ ๆ มาจะสามารถคว้าแชมป์เยาวชนโลกได้ 3 สมัยติดต่อกัน
ทั้งนี้ในปี 2565 วิวยังคว้าเหรียญทองในกีฬาซีเกมส์ 2022 ที่ประเทศเวียดนามมากฝากคนไทย และคว้าแชมป์โลกชายเดี่ยวในปี 2566 ได้สำเร็จ
ล่าสุดในงานโอลิมปิกเกม 2024 ที่ประเทศฝรั่งเศส วิว-กุลวุฒิ ก็ยังเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ แต่พลาดท่าให้กับคู่แข่งอย่าง Viktor Axelsen ก่อนคว้าเหรียญเงินกลับมาฝากคนไทย
[โมเดลธุรกิจบ้านทองหยอด]
เริ่มแรกของบ้านทองหยอดเกิดขึ้นจาก “โรงงานทำขนมไทย” ก่อนที่เริ่มสร้าง “ชมรมแบดมินตันบ้านทองหยอด” จากความตั้งใจว่าอยากให้ลูก ๆ เพื่อน ๆ มีสถานที่เล่นแบดมินตัน ก่อนที่ท้ายที่สุดจะมีการจ้างโค้ชเข้ามาฝึกสอนภายในอย่างจริงจัง และขยายพื้นที่เป็น “โรงเรียนแบดมินตันบ้านทองหยอด”
ธุรกิจโมเดลของบ้านทองหยอด แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่
- สปอนเซอร์
- ค่าเล่าเรียนแบดมินตัน
ในส่วนของสปอนเซอร์ผู้สนับสนุนบ้านทองหยอดอย่าง Yonex ก็ได้มอบอุปกรณ์กีฬาให้กับนักกีฬาในสโมสรอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะมีเพียงนักกีฬาและนักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเท่านั้น
โดยโรงเรียนบ้านทองหยอดเปิดเผยว่าได้เงินเฉพาะค่าเรียนเฉลี่ยปีละเกือบ 40 ล้านบาทเลยทีเดียว
คำนวณจากนักกีฬาในสังกัดประมาณ 300 คน เฉลี่ยมีค่าเรียนคนละ 10,000 บาทต่อเดือน
นั่นหมายความว่าใน 1 ปี บ้านทองหยอดมีรายได้มากถึง 36 ล้านบาท
ทั้งนี้แม่ปุกเปิดเผยว่าหากเป็นช่วงที่ “เมย์-รัชนก” เพิ่งได้แชมป์โลกมาหมาด ๆ อาจพุ่งสูงขึ้นถึง 60 ล้านบาทต่อปีเลยทีเดียว
[บ้านทองหยอด ธุรกิจที่มีแต่ให้กับให้]
ก่อนที่ “เมย์-รัชนก” จะคว้าแชมป์โลกได้ คุณกมลา ทองกร (แม่ปุก) ควักเงินตัวเองให้เด็กไปแข่งขันทัวร์นาเมนต์ต่าง ๆ จัดซื้ออุปกรณ์ จ้างโค้ชปีละหลายล้านบาท
และแม้ว่า “เมย์-รัชนก” จะสามารถคว้าแชมป์โลกได้แล้ว แต่การปั้นนักกีฬา 1 คนเพื่อเติบโตบนเส้นทางอาชีพหรือก้าวขึ้นสู่ระดับโลกใหม่ ๆ นั้น ก็ยังจำเป็นต้องใช้เงินจำนวนหนึ่งอยู่ดี ซึ่งเฉลี่ยแล้วก็ตก 1 ล้านบาทเหมือนเดิม
ดังนั้นเงินที่หาได้จากบ้านทองหยอด ส่วนใหญ่มักจะถูกนำไปลงทุนกับนักกีฬา เนื่องจากนักกีฬาส่วนใหญ่ไม่มีเงินเดือนอยู่แล้ว ทำให้เงินที่ได้จากการแข่งขันจะถูกนำไปเป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัว และไม่ได้หักเข้ากระเป๋าเลยแม้แต่บ้านเดียว เว้นแต่จะเป็นนักกีฬาบ้านทองหยอดเท่านั้นที่จะแบ่งเงินเข้ากองทุนบ้านทองหยอด 10%
แม้ว่าสุดท้ายแล้ว “วิว-กุลวุฒิ” จะยังไม่สามารถคว้าเหรียญทองในงานโอลิมปิก 2024 ได้ แต่เชื่อว่าปีหน้า ๆ ประเทศไทยจะกลับมาเติบโตอย่างแข็งแกร่งอย่างแน่นอน
#Stock2morrow #Badminton #Kunlavut #บ้านทองหยอด #ธุรกิจ #การลงทุน #ประเทศไทย #โอลิมปิก