#ข่าวหุ้นธุรกิจการลงทุน

ค่าเงินบาทกำลังงมีปัญหา คล้ายริงกิตที่อ่อนค่ามากสุดใน 26 ปี

โดย stock2morrow
เผยแพร่:
761 views

สาเหตุที่ทำให้ค่าเงินริงกิตของมาเลเซีย อ่อนค่ามากสุดและไม่กลับไปที่ระดับเดิมอีกเลย เกิดจากประเด็นเรื่องของการส่งออก และพึ่งพาการนำเข้าพลังงานเพิ่มขึ้น
ทำให้ช่วงต้นปีที่ผ่านมาค่าเงินริงกิตอ่อนค่า ทะลุ 4.8 ริงกิตต่อดอลลาร์สหรัฐฯ 
ถือว่าอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 26 ปี นับตั้งแต่ปี 2531 ในช่วงวิกฤตการเงินเอเชีย ...

หากดูการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินในอดีต จะพบว่าในช่วงปี 2556-2559 ค่าเงินริงกิตอ่อนค่าลงเกือบ 50% 
โดยเป็นช่วงที่ปรับฐานของค่าเงินริงกิตสู่จุดสมดุลใหม่
ประเด็น คือ ไทยเองก็กำลังเจอกับโครงสร้างหลายอย่าง คล้ายกับมาเลเซีย
ซึ่งอาจทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่า เหมือนกับค่าเงินริงกิต หากภาครัฐไม่ทำการแก้ไขแบบเร่งด่วน

แล้วถ้าเราเจาะลึกว่าค่าเงินริงกิตที่ร่วงหนัก มาจากสาเหตุอะไร (อ้างอิงจากบทวิเคราะห์ KKP Research) พบว่า
การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของดุลบัญชีเดินสะพัดของมาเลเซีย
- ดุลบัญชีเดินสะพัดของมาเลเซียเคยอยู่ในระดับ 15% ของ GDP แต่หลังปี 2553 ได้ปรับลดลงมาเหลือเพียง 2-3% ของ GDP
- ดุลบัญชีเดินสะพัดที่ลดลง มาจากดุลการค้าที่เกินดุลลดลงอย่างมาก จากระดับ 20% เหลือแค่ 10% ของ GDP

 

อ่านมาถึงตรงนี้ เราอาจจะสงสัยว่า 
แล้วดุลการค้าที่เกินดุลลดลงอย่างมาก มาจากอะไร ?
คำตอบ คือ มาจาก 2 เหตุผลหลักด้วยกัน คือ 
1. การสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในสินค้าส่งออกหมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมสำคัญของมาเลเซีย
โดยมาเลเซียสูญเสียความสามารถในการแข่งขันให้กับคู่แข่ง เช่นเวียดนามและจีน ที่ได้เปรียบด้านค่าแรงที่ถูกกว่า
ทำให้มาเลเซียสูญเสียส่วนแบ่งตลาดจากเดิมที่เคยมีส่วนแบ่งถึงเกือบ 1 ใน 4 ในตลาดโลกลดลงมาเหลือ เพียง 10% เท่านั้น 
รัฐบาลมาเลเซียตัดสินใจใช้กลยุทธ์เน้นสินค้าที่อาศัยเทคโนโลยีขั้นสูงและมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น เช่น ชิป แทนสินค้าเดิมที่มี Value-added ต่ำ

2. การเปลี่ยนจากประเทศ "ผู้ผลิตและส่งออกน้ำมัน" มาสู่ประเทศ "ผู้นำเข้าน้ำมันเข้ามาบริโภค"
ดุลการค้าผลิตน้ำมันเคยอยู่ที่ราว 5-6% ต่อ GDP ในช่วงปี 2545-2554 
ได้ปรับลดลงต่อเนื่องจนเหลือเพียง 1% ของ GDP เท่านั้นในช่วงหลังโควิด
สาเหตุมาจากสภาพที่เสื่อมลงของแหล่งน้ำมันที่ผลิตมานาน และการค้นพบแหล่งน้ำมันใหม่ที่น้อยลง 
สวนทางกับการบริโภคที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2545


นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอะไรกดดันค่าเงินริงกิตอีกบ้าง ? 
คำตอบ คือ ปัญหาเรื่องของการคอรัปชั่นในประเทศ และการลดค่าเงินหยวนในปี 2558 กล่าวคือ
- ปัญหาภายในจากการฉ้อโกงของกองทุนเพื่อการพัฒนามาเลเซีย (1MDB) แทนที่จะนำเงินไปลงทุน กลับพบว่ามีการยักยอกเงินจำนวนมาก โดยมูลค่าความเสียหายราว 1.5% ของ GDP ปี 2558 ส่งผลให้เกิดการแห่ถอนเงินทุนออกจากมาเลเซีย
- การประกาศลดค่าเงินหยวนในปี 2558 ของ ธนาคารกลางจีน (PBOC) ส่งผลให้สกุลเงินภูมิภาคปรับอ่อนค่าตามลงมาเช่นกัน โดยเฉพาะมาเลเซียที่มีจีน เป็นคู่ค้าสำคัญรายใหญ่ที่สุด

 

ค่าเงิน USD เทียบกับ Thai Baht
https://www.tradingview.com/chart/IMSwDjEs/?symbol=FX_IDC%3ATHBUSD


ประเด็นที่นักลงทุนต้องกลับมานั่งคิดต่อ คือ ค่าเงินบาทมีโอกาสสูงมากที่จะเดินตามรอยค่าเงินริงกิต เพราะมีปัญหาหลายอย่างคล้ายกัน ไม่ว่าจะเป็น
1. ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยที่มีแนวโน้มจะปรับลดลงถาวรตามความสามารถในการแข่งขันของภาคการส่งออกที่แย่ลงของไทย
2. ปัญหาด้านความมั่นคงทางพลังงานที่ไทยต้องพึ่งพาการนำเข้ามากขึ้นในอนาคต เมื่อแหล่งก๊าซธรรมชาติในประเทศกำลังจะหมดลง
3. ดอกเบี้ยนโยบายของไทยที่หลังพ้นช่วงโควิดมาก็ปรับขึ้นได้ไม่มาก เพราะเศรษฐกิจฟื้นตัวช้า
4. ระดับหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง
และปัจจัยทั้งหมดที่เล่ามาคือ สิ่งที่จะกดดันค่าเงินบาทให้อ่อนค่าในระยะยาว หากไทยยังไม่มีแผนที่เป็นรูปธรรมมาดำเนินการนั่นเอง

 


ที่มา KKP Research : ค่าเงินบาทจะตามรอยริงกิตหรือไม่


ศูนย์รวมความรู้เรื่องหุ้น ศูนย์รวมนักลงทุนรายย่อย ที่อยากรู้วิธีการลงทุนในหุ้นอย่างถูกต้องและได้กำไรอย่างยั่งยืน ติดตามเราได้ที่

www.stock2morrow.com 

FB: stock2morrow 

LINE@stock2morrow

FacebookInstagramYoutubeLine

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง