ไม่รู้ว่ารายย่อยส่วนใหญ่ที่ติดดอยสูงก่อนราคาถ่านหินโลกปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง จะยอมเพิ่มทุนมาถัวหรือเปล่านะครับ
เพราะถ้าไม่เพิ่มทุนตาม โดน price dilution 35% เยอะเหมือนกัน
ใครที่จะเพิ่มทุนรอบนี้ คงต้องไปหวังที่รายได้ BANPU ทีมาจากโรงไฟฟ้า มากกว่าหวังเรื่องราคาถ่านหินฟื้นตัวครับ เพราะในระยะสั้นยังไม่เห็นวี่แววว่าราคาถ่านหินโลกจะปรับตัวขึ้นแรงๆได้เลย
โรงไฟฟ้าคืออนาคต จริงหรือ?
* BANPU ตอนนี้รายได้ส่วนใหญ่ยังมาจากธุรกิจถ่านหิน แต่ผู้บริหารตั้งเป้ากำไรจากธุรกิจโรงไฟฟ้าจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 40-50% ในปี 2563
* โรงไฟฟ้าหงสาจะรับรู้รายได้เต็มที่ในปีหน้า โบรกเกอร์ประเมินรายได้ไว้ที่ 2-3 พันล้านบาท หรือคิดเป็นกำไรต่อหุ้น EPS ที่ประมาณ 0.40-0.60 บาท (fully diluted) ซึ่งหากประเมินมูลค่าโดยให้ P/E ที่ 10-12 เท่า จะได้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นมาอีกประมาณ 4.00-7.20 บาท
* BANPU มีแผนที่จะนำโรงไฟฟ้าถ่านหิน BLCP ขนาดใหญ่ 1,400 MW เข้าตลาด SET อีกด้วย (ยังไม่ได้ข้อสรุปเรื่องเวลา)
ดูเหมือน BANPU คงจะค่อยๆผันตัวเองจากที่เคยพึ่งพิงการขายถ่านหิน มาเป็นธุรกิจโรงไฟฟ้ามากขึ้น ดังนั้นเมื่อไรก็ตามที่รายได้จากธุรกิจผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นแตะ 50% ในอนาคต เราอาจต้องประเมินราคา BANPU เสมือนธุรกิจโรงไฟฟ้าด้วยเช่นกัน
รายละเอียดการเพิ่มทุน
* BANPU แจ้งมติคณะกรรมการบริษัทฯ อนุมัติเพิ่มทุนจดทะเบียน 2.58 พันล้านหุ้น
* ขาย RO สัดส่วน 2 ต่อ 1 ราคาหุ้นละ 5 บาท
* พ่วงแจกวอร์แรนต์ (BANPU-W3) ฟรี 1 ต่อ 1
* เหตุผลที่ให้ไว้คือ เพิ่มทุนชำระหนี้ 1.29 หมื่นลบ. และดอกเบี้ยค้างจ่าย 500 ลบ./ปี ลด D/E เหลือ 1.23 เท่า จาก 1.62 เท่า
* วันที่ไม่ได้รับสิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน (XR) 23 มี.ค. 2559
* วันจองซื้อและชำระค่าหุ้น 23 พ.ค. 2559 ถึงวันที่ 31 พ.ค. 2559
* การเพิ่มทุนในครั้งนี้ จะส่งผลต่อการลดลงของราคา (Price Dilution) 35% และต่อการลดลงของสัดส่วนการถือหุ้น (Control Dilution) 50%