ผมอยากยกตัวอย่างหุ้นตัวนึง Exxon (บริษัทน้ำมัน)
ท่ามกลางกระแส EV เติบโต ใครๆ ก็พูดว่า ธุรกิจน้ำมันหมดอนาคต
แต่ถ้าเราไปดูกราฟ จะพบว่า ตั้งแต่ปี 2020 หุ้น Exxon ขึ้นมาแล้ว 4 เด้ง ?
ทำไมถึงเป็นแบบนั้น
บทเรียนก็คือ จุดที่กำไรสูงสุดในหุ้น และ ปลอดภัยในการลงทุน ก็คือ จุดที่น่ากลัวที่สุดเสมอ
โดยวางอยู่บนพื้นฐานที่สำคัญคือ ธุรกิจนั้นๆ ยังไม่เจ๊ง
ตัวอย่างหุ้นบริษัทน้ำมันก็ชัดเจน คนบอกว่ากำลังหมดอนาคต
แต่เอาเข้าจริงกว่า คนจะเลิกใช้และหมดอนาคตจริงๆ ก็ต้องใช้เวลาเป็นสิบปีขึ้นไปแน่นอน
แต่ระหว่างนั้น คือ "ช่องว่างในการทำกำไร"
1. ถ้าของสิ่งนั้นยังคงใช้อยู่จริง แต่ผู้เล่นใหม่จะไม่เข้ามาลงทุนเพราะมองว่าไม่มีอนาคต
แปลว่า Supply หรือ คู่แข่งของธุรกิจนี้จะลดลง
ในขณะที่ Demand ก็ลดลงแต่ลดลงช้ากว่า
นี่คือ ช่องว่างแรกในการหาจุดเข้าซื้อทำกำไร
2. หุ้นเวลาลงด้วยข่าวร้ายมักลงต่ำกว่าพื้นฐาน
ในกรณี Exxon ก่อนการขึ้นครั้งใหญ่ ลงมาแล้ว 70% จากจุดสูงสุด (ลงมาจน RSI Oversold ซึ่งในเชิงเทคนิค มันสามารถเด้งกลับได้ตลอดเวลา)
ยิ่งลงลึก การเด้งกลับยิ่งแรง คือ ช่องว่างที่สอง
3. ในจุดที่ราคาลงแรงและข่าวร้ายเยอะๆ จะเป็นจุดที่รายย่อยส่วนใหญ่ ยอม Cut Loss ขายทิ้ง
ก็คือ ช่องว่างที่สาม
เพราะหุ้นใดก็ตามที่รายย่อยส่วนใหญ่ขายหมด หุ้นก็จะกลับไปสู่มือของรายใหญ่ พร้อมการกลับตัวของราคาครั้งใหม่นั่นเอง
เอาช่องว่าง 3 ข้อนี้ รวมกัน ก็จะกลายเป็น "โอกาสที่คุ้มเสี่ยง" ...
ตามทฎษฎี เวลาหุ้นเด้งกลับ ในกรณีที่หุ้นลงต่ำกว่าพื้นฐานมากๆ ในกรณี Exxon ลงต่ำกว่า Book Value
การเด้งกลับ ส่วนใหญ่จะเด้งกลับไปที่ 2 เท่า Book Value ง่ายๆ
ซึ่งเวลานี้หุ้นก็เด้งกลับขึ้นมาเกือบ 4 เด้งจากจุด RSI Oversold
พอมาถึงตรงนี้ก็มาจุดที่คนจะเริ่มสนใจ เพราะ พอราคาขึ้นมาเยอะ คนก็จะเริ่มมาดู แล้วมวลชนก็จะกลับมาสนใจอีกครั้ง
อาจจะพูดกันว่า เห็นไหม พื้นฐานก็ยังดีอยู่นี่
EV อาจไม่ได้มาเร็วอย่างที่คิดกัน
ปันผลก็ดี
แล้วก็กลับเข้ามาซื้อกัน
ครับ ... พอถึงจุดนี้ ผลตอบแทนเยอะๆ ก็จะหมดไป ความเสี่ยงก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ที่เอาหุ้นตัวนี้ยกตัวอย่างมาให้ดูเพราะ มันชัดเจนมากๆ ว่า "โอกาสที่เยอะๆ จะอยู่ในจุดที่คนกลัว พอคนเลิกกลัวโอกาสก็จะหายไป"