สำหรับคนที่ผ่านช่วงตลาดหุ้นขึ้นและลงมาหลายรอบ
มักจะเจอ 2 ข้อนี้เป็นหลัก
1. หุ้นตก ตก และตกแรง ... เราติดหุ้นที่ทุนสูง ถัวจนไม่มีเงินสดเหลือ
เพราะเอาเงินสดมาถัว รัวและเร็วเกินไป และในหลายกรณีถัวหุ้นผิดตัวด้วยซ้ำ คือไปเน้นหุ้นที่ราคาลงเยอะอย่างเดียว โดยไม่ได้ดูว่ามันจะผ่านวิกฤตได้ไหม มันได้รับผลบวกจากนโยบายในช่วงนั้นหรือไม่ มีแรงส่งอะไรหรือไม่
ถ้าติดแบบนี้ การปรับพอร์ตเป็นเรื่องสำคัญ ตอนช่วงโควิดผมก็เคยเป็นแบบนี้ ถัวจนเงินสดหมดแล้ว SETก็ยังลงต่อ ก็ต้องอาศัยการขายขาดทุนหุ้นบางตัว เพื่อเข้าซื้อหุ้นที่มีโอกาส upside สูงกว่า พื้นฐานดีกว่า ได้รับแรงส่งได้มากกว่า
เมื่อตลาดกลับมาฟื้นตัวเป็นขาขึ้นความผิดพลาดข้อนี้จะหายไปทันที
2. หุ้นขึ้น ขึ้น และขึ้นแรง... แต่พอร์ตว่าง แทบไม่มีหุ้นในพอร์ตเลย
เพราะคัทลอสตอนหุ้นตก แล้วถูกทาง หุ้นก็ยังลงต่อก็ยิ่งกระหยิ่มว่า เราคิดถูก และลงต่อไป กระทั่งตลาดหยุดแพนิค เริ่มพลิกเป็นฟื้นตัว
ในช่วงแรกจิตวิทยาการลงทุนของเราจะปฏิเสธการฟื้นตัวของตลาดหุ้น เราคิดว่าเป็นแค่ศพกระตุก ขึ้นแล้วก็ต้องลงต่อ
กระทั่งตลาดหุ้นกลับขึ้นมาถึงจุดที่สัญญาณทางเทคนิคคอนเฟิร์มขาขึ้นแล้ว ตลาดจะขึ้นพร้อมวอลุ่มไปอีก คราวนี้บางคนจะเริ่มรู้สึกว่าตกรถแล้วแต่ก็ทำใจซื้อบริเวณนี้ไม่ได้ก็ยังคิดว่าหุ้นจะต้องปรับลง แต่หุ้นก็ยังขึ้นต่อไป เป็นการพลาดโอกาสการลงทุนในรอบหลายปี อย่างน่าเสียดาย
คหสต. อาการข้อ 2 แก้ไขได้ยากกว่า ข้อ 1
คนที่เชื่อว่าจะเกิดวิกฤต ตลอดเวลามีเรื่องใหญ่ให้กังวล จะต้องรอให้ตลาดแพนิคระดับ -30% ทั้งตลาดเท่านั้นจึงจะกล้าซื้อ
เอาเข้าจริง พอวิกฤตมาถึง เขาก็จะไม่กล้าลงทุนอยู่ดี น้ำหนักการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงจะน้อยอยู่เสมอ ถ้าติดข้อ 2 มากๆการลงทุนที่เหมาะอาจจะเป็นการ DCA แบบไร้ใจในกองทุนดัชนีประเทศที่เป็นขาขึ้นระยะยาวไปเลย