จริงครับ รูปแบบราคาหรือ Price Pattern ถ้ามันเกิดขึ้นแล้ว มักจะไปถึงเป้าตามตำราที่ระบุไว้ แล้วทำไมถึงเป็นอย่างนั้น นั่นสินะทำไม เรื่องของ Price Pattern นั้นเกิดจากการศึกษาพฤติกรรมของราคา ซึ่งพฤติกรรมของราคาก็เกิดจากพฤติกรรมของนักลงทุนนั่นแหละ มันสะท้อนออกมาว่า นักลงทุนในตลาดคิดอะไร สังเกตกันมาแบบนี้จนเป็นสถิติที่น่าเชื่อถือ
พอเราไปอ่าน เราไปเรียน หรือเราถูกสอนเรื่อง Price Pattern ว่า หากเกิดรูปแบบราคา Invert Head and Shoulder ที่เป็นรูปแบบการกลับตัวแล้ว เมื่อราคาทะลุ Neckline หรือเส้นตัดคอหอยขึ้นไป ราคาจะวิ่งไปต่อเท่ากับความสูงของ Head นี่ไงเราถูกสอนมาแบบนี้ ถ้าเราถือหุ้นที่ทะลุผ่าน Neckline เราก็อยากจะวางเป้า อยากจะพาไปขายตามเป้าที่ระบุไว้ตามที่รู้ ตามที่เรียนมา นี่ไงเป็นเหตุให้ถึงเป้าราคาตาม Price Pattern แล้วราคาจะมีการย่อ ย่อเพราะแรงขายจากคนที่เทรดและวางแผนออกตามเป้าราคาของ Pattern นั้นๆ
แต่เรามาลองพิจารณาดูครับ จริงๆ แล้วเราควรต้องออกตามนั้นหรือเปล่า ส่วนตัวผมเป้าราคาตาม Price Pattern ผมก็ให้น้ำหนักนะ แต่ถ้ามันพอดีไปพ้องกับการวัดเป้าด้วยวิธีอื่นๆ ความแม่นยำมันจะมีมากขึ้นเพราะไม่ใช่แค่คนที่เทรดด้วย Price Pattern จะออกที่เป้านั้น ยังมีคนที่วัดเป้าด้วยวิธีอื่นแต่ได้เป้าเดียวกัน แปลว่ามีคนหลายกลุ่มคิดเหมือนกัน
ถ้าเรายังไม่เก่งเทคนิค ยังวัดไฟโบเพื่อหาเป้าไม่เป็นอาจต้องพึ่งเป้าตาม Pattern ไปก่อน แต่หากวัดเป้าด้วยไฟโบ หรือวิธีอื่นได้ อาจนำมาพิจารณาประกอบกันครับ อย่างน้อยถ้ามันแค่ย่อที่เป้าเราจะได้ไม่ต้องขายหมู หรือตัดโอกาสในการรันเทรนด์ของเรา
เป้าราคาตาม Price Pattern อาจใช้สำหรับการตั้งเป็นเป้าเบื้องต้นเพื่อคำนวน Money management ได้ ก็ลองดูนะครับ การศึกษาเพิ่มเติมจะทำให้เราพัฒนาการวางเป้าได้ดีขึ้นครับ
แล้วคนที่เป็นโรค มโน ชอบมโนเป้าราคา ชอบมโน Pattern สุดท้ายพัง แก้ยังไงดีคะ?
ถ้าใครเคยเรียนเรื่อง Price Pattern มาแล้วคงพอจะรู้ว่า Price Pattern นั้นมีรูปแบบต่างๆ มากมาย แต่ละรูปแบบก็ให้เป้าราคา มากบ้างน้อยบ้าง
สมัยผมเริ่มศึกษาเรื่อง Price Pattern ใหม่ๆ รุ่นพี่ผมบอกไว้ว่า “มึงไม่ต้องหาอะไรมาก หาธง กับถ้วยพอ แค่นี้ก็รวยเละแล้ว” ผมถึงกับไล่เปิดกราฟทีละตัว หา Pattern ทำรวยนี้เลย หา หา หา หาไปเรื่อย บางตัวมันไม่ใช่ก็จะให้มันใช่ (แต่ไอ้ตัวใช่ดันหาไม่เจอ) มโนไปต่างๆ นานา บางทีเจอ Pattern ที่เป็น Flag (รูปธง) แต่มันยังไม่ทะลุแนวต้าน ยังไม่เบรคแนวผืนธง ก็เข้าซื้อก่อน เรียกว่าเข้าไปซื้อรอมันเบรค จะได้ต้นทุนถูกด้วย รวยจาก Pattern ด้วย ดูดิ ความโลภ และความโง่มันบังตาผม แค่เจอ Pattern ที่ “น่าจะ” เป็นธง ผมก็โลภเข้าไปนั่งรอ พร้อมกับมโนไว้ก่อนเลยว่า ถ้าเบรค Pattern แล้วมันจะไปเท่านั้น เท่านี้ โอ้ววว รวยทั้งนั้น แต่สุดท้าย ตลาดเฉลย มันไม่เบรค แถม Sideway down ไปเรื่อยๆ ไหนล่ะที่รุ่นพี่บอกว่าเจอแล้วรวย
บ้าสิ ก็ดันไปมโนไปเอง เพ้อไปเองว่ามันจะเป็นธง มันยังไม่เฉลยเลย เข้าซื้อไปแล้ว แบบนี้บอกเลย เจ๊ง ไม่ต่างจากซื้อล๊อตเตอรี่แล้ว นั่งฝันถึงรางวัลที่ 1 แล้วแบบนี้ จะดูยังไงว่ามันใช่หรือมันไม่ใช่ ผมพูดเสมอครับว่า Pattern ใดๆ ก็ตามถ้ามันยังไม่เฉลย มันมีความเป็นไปได้มากมายหลายแบบ แต่สุดท้ายมันมีแบบเดียวที่ถูกต้อง ดังนั้นอย่าไปมโน แต่ถ้ากลัวว่าเรามโนไปเอง ให้เช็คแบบนี้ครับ
ลองเอา Pattern เนี้ย ไปถามเพื่อน 10 คน ถ้าทั้ง 10 คนมองเหมือนที่เรามอง (แต่ห้ามไปโน้มน้าวเขานะ) แบบนี้แสดงว่าคนหมู่มากมองเหมือนเรา พอมันเบรค Pattern ก็ซัดเลย วัดเป้ารอได้เลย แต่ถ้าถามแล้ว จินตนาการกันไปต่างๆ นาๆ หลายแบบ หลาย Pattern แบบนี้แปลว่าเรามโนไปเอง และที่สำคัญถ้ามโนแล้วดันเข้าไปนั่งรอใน Pattern นั้น ลำบากเลย โอกาสพังมีสูง รอตลาดเฉลยดีกว่านั่งมโน คิดว่ามันใช่ก็ทำแผนรอไว้ เบรคมาแล้วค่อยว่ากัน อย่าไปใช้จินตนาการครับ
แม้ว่าไอน์สไตน์บอกว่า จินตนาการสำคัญ แต่ผมศึกษาดูก็ไม่พบว่าไอน์สไตน์ปรากฎในตำราหุ้นเล่มไหน แปลว่าไอน์สไตน์ไม่ได้เล่นหุ้น และจินตนาการ มันใช้ในตลาดหุ้นไม่ได้ มันใช้ได้แต่ Fact แค่ข้อเท็จจริงเท่านั้น
ภาพที่ยังไม่สมบูรณ์ อาจทำให้เราจินตนาการไปหลากหลายรูปแบบ แต่สุดท้าย เมื่อตลาดเฉลยมันมีเพียงคำตอบที่ถูกต้อง เพียงคำตอบเดียว ดังนั้นอย่าไปมโน
----------------------------------------------------------------------------
ใครที่กำลังสนใจการใช้เครื่องมือเทคนิคอล เรียนรู้ Fibonacci ในการวัดเป้า..
วัดการเด้ง และ การย่อตัวของราคา ตั้งแต่พื้นฐานไปถึงการเจาะลึกใน Fibonacci แต่ละรูปแบบ
ให้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์ ตอบตัวเองได้ว่า ตีหาอะไร.. ตียังไงถึงได้เป๊ะ..!!
พร้อม Workshop เรียนสนุก กับ โค้ชพี่ป๊อบ
คอร์ส "เทรดหุ้นเชิงประยุกต์ด้วยฟีโบนัชชี Fibonacci In Action"
วันเสาร์ - อาทิตย์ที่ 25 - 26 มีนาคม นี้..ที่ stock2morrow
ดูรายละเอียด จอง คลิก.. https://goo.gl/xS97rd
สอบถาม โทร. 090 980 2196
Line@ : @stock2morrow