#ลงทุนแนวปัจจัยพื้นฐาน
#ข่าวหุ้นธุรกิจการลงทุน

BVG ผู้นำแพลตฟอร์มธุรกิจประกันด้วย AI และ Big Data

โดย stock2morrow
เผยแพร่:
1,545 views

อุตสาหกรรมประกันในเมืองไทย ถือเป็นไม่กี่ธุรกิจที่ยังสามารถเติบโตได้อีกมาก แต่การจะศึกษาในธุรกิจประกันเพื่อให้เข้าใจเป็นเรื่องยาก ทำให้กลุ่มธุรกิจลักษณะนี้มักไม่ได้รับความนิยมสักเท่าไรนักในมุมมองของนักลงทุนรายย่อย
แต่ถ้าเราบอกว่า เราลงทุนในนวัตกรรมและแพลตฟอร์มธุรกิจที่มีการเติบโตสูง เช่น ประกันสุขภาพ ประกันภัย ประกันรถยนต์ และใช้เทคโนโลยีในการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ

 

บริษัท บลูเวนเจอร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ BVG มีจุดเริ่มต้นมาจาก บริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน) หรือ THRE ผู้ให้บริการด้านการรับประกันภัยต่อ (Professional Reinsurer) มีการปรับโครงสร้างองค์กร และบริษัทย่อย 4 แห่ง 
โดยการ "Spin-Off” บริษัทลูกเข้าระดมทุนในตลาดหุ้น ในชื่อว่า BVG ผู้พัฒนาระบบบริหารจัดการธุรกิจประกันภัย โดยใช้ AI เข้าไปวิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการค่าสินไหมทดแทนรถยนต์ตลอดห่วงโซ่คุณค่าของการดำเนินธุรกิจประกัน ซึ่งจะช่วยลดขั้นตอน ระยะเวลา และต้นทุนการจัดการค่าสินไหมทดแทนให้แก่ลูกค้า

BVG อยู่ในอุตสาหกรรมมามากกว่า 20 ปี เป็นผุ้นำ และผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาระบบบริหารจัดการธุรกิจประกันภัย เรียกได้ว่าเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทยไปแล้วเรียบร้อย
ตอนนี้ บริษัทกำลังจะเปิดให้จองซื้อ IPO ระหว่างวันที่ 8-10 ก.พ.นี้ 
และคาดว่าจะสามารถนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ได้ภายในเดือน ก.พ.66
แต่ก่อนจะจองซื้อ มี 4 ข้อที่นักลงทุนต้องรุ้ก่อนลงทุน IPO ประกอบไปด้วย

 

1. บริษัททำธุรกิจอะไร รายละเอียดหุ้นแบบสรุป
บริษัท บลูเวนเจอร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ BVG ทำธุรกิจเป็นผู้พัฒนาระบบบริหารจัดการธุรกิจประกันภัย ใน 4 กลุ่มธุรกิจด้วยกัน ประกอบไปด้วย
1. ธุรกิจให้บริการระบบแพลตฟอร์มและแอปพลิเคชันสำหรับบริหารจัดการธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับประกันภัยรถยนต์ (“ระบบ EMCS”) 
2. ธุรกิจให้บริการบริหารจัดการสิทธิประโยชน์ด้านการรักษาพยาบาลและสินไหมทดแทน รวมถึงการให้คำปรึกษาแนะนำที่เกี่ยวข้อง ผ่านแพลตฟอร์มและแอปพลิเคชัน (“บริการ TPA”)
3. ธุรกิจการให้คำปรึกษาด้านคณิตศาสตร์ประกันภัย
4. ธุรกิจการให้บริการนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
.
โดยบริษัทจะมีหุ้นที่เสนอขายจำนวน 157,500,000 หุ้น 
ราคา IPO ที่ 3.85 บาทต่อหุ้น ที่พาร์ 0.5 บาทต่อหุ้น 
มูลค่าตามบัญชี (Book Value) อยู่ที่ 0.98 บาทต่อหุ้น
 

2. ผลประกอบการที่ผ่านมา
ปี 2562 บริษัทมีรายได้ 387 ล้านบาท กำไรสุทธิ 71.07 ล้านบาท
ปี 2563 บริษัทมีรายได้ 391.11 ล้านบาท กำไรสุทธิ 62.23 ล้านบาท
ปี 2564 บริษัทมีรายได้ 405.23 ล้านบาท กำไรสุทธิ 50.16 ล้านบาท
.
ปี 2564 ผลประกอบการ 9 เดือน บริษัทมีรายได้ 302.11 ล้านบาท กำไรสุทธิ 43.38 ล้านบาท
ปี 2565 ผลประกอบการ 9 เดือน บริษัทมีรายได้ 328.34 ล้านบาท กำไรสุทธิ 45.08 ล้านบาท
พบว่าบริษัทมีอัตรากำไรขั้นต้นสูงถึง 58% และอัตรากำไรสุทธิสูงสุดที่ 18% 
ที่สำคัญ BVG มีอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นที่ต่ำมาก ที่ 0.45 เท่า
 

3. โครงสร้างรายได้
บริษัทมีโครงสร้างรายได้มาจาก 3 ส่วนหลักด้วยกัน คือ 
1. รายได้จากการให้บริการระบบ EMCS สัดส่วน 40.45%
2. รายได้จากการให้บริการ TPA สัดส่วน 44.51%
3. รายได้จากการให้บริการอื่นๆ สัดส่วน 13.81% โดยแบ่งออกเป็น
... รายได้จากการให้คำปรึกษา จัดอบรมธุรกิจประกันภัย ประมาณ 6%
... รายได้จากการสนับสนุน ประมาณ 3%
... รายได้จากคณิตศาสตร์ประกันภัย ประมาณ 4%
... รายได้จากเทคโนโลยีสารสนเทศ ประมาณ 1%

 

4. วัตถุประสงค์การใช้เงิน
บริษัทคาดว่าจะได้เงินหลังจากการระดมทุนหลังหักค่าใช้จ่ายน่าจะอยู่ราวๆ 346.50 ล้านบาท และมีวัตถุประสงค์ในการใช้เงินแบ่งเป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือ 
1. พัฒนาระบบ AI และระบบสารสนเทศ จำนวน 98-190 ล้านบาท
2. ขยายธุรกิจไปยังกลุ่มประเทศอาเซียน จำนวน 10-50 ล้านบาท
3. ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนของบริษัท ซึ่งเป็นส่วนที่เหลือจากข้อ 1 และข้อ 2

 

 

คำถามสุดท้าย คือ การเสนอขายที่ราคา 3.85 บาทต่อหุ้น แพงไปแล้วหรือยัง ? 
จากข้อมูล Filling แสดงความคิดเห็นว่า การเสนอขายที่ราคา 3.85 บาทต่อหุ้น จะทำให้หุ้นมีค่า P/E อยู่ที่ 32.08 เท่า จากสมมุติฐานที่ EPS 0.12 บาทต่อหุ้น 
โดย P/E ที่นำมาเปรียบเทียบจะประกอบไปด้วย
1. หุ้นในกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 3 บริษัท คือ HUMAN ,IIG และ NETBAY ที่มีค่า P/E เฉลี่ย 44.99 เท่า 
2. อัตราส่วน P/E ของกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในกลุ่ม SET มีค่า P/E เฉลี่ย 34.36 เท่า
3. อัตราส่วน P/E ของกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยี MAI มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 55.39 เท่า
... จะเห็นได้ว่าหุ้น BVG ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั้งกลุ่ม รวมถึง SET และ MAI

 

บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ วิเคราะห์ว่า BVG มีข้อได้เปรียบในระยะยาวจากประสบการณ์ ฐานข้อมูลและจำนวนลูกค้า และยังมีศักยภาพในการเติบโตจากการนำเสนอบริการใหม่ๆ ด้วยระบบ AI รวมถึงการขยายตลาดการให้บริการไปยังต่างประเทศ

 

บทวิเคราะห์หลักทรัพย์กรุงศรี มีมุมมองเชิงบวกต่อ BVG จาก 4 ข้อด้วยกันคือ
1. ป็นผู้นำด้านการให้บริการระบบ EMCS และ TPA ที่ได้รับการยอมรับจากบริษัทประกัน
2. มี Barriers to Entry จากเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วประเทศที่ใช้ระบบ EMCS และบริการ TPA ทำให้การเปลี่ยนไปใช้ระบบแพลตฟอร์มอื่นมีต้นทุนการพัฒนาระบบที่สูง ส่งผลให้ลูกค้าใช้บริการกับบริษัทฯ ระยะยาว
3. ผลการดำเนินงานกลับมาเติบโตแข็งแกร่งจากการเปิดประเทศหลัง COVID-19 และ 
4. โอกาสในการเติบโตทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ 
.
ถือเป็นอีกหนึ่งบริษัทไทยที่กำลังเข้ามา IPO ที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่งครับ ....

อนึ่ง BVG เป็นบริษัทลูกของ บริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน) หรือ THRE ที่ถือหุ้นอยู่ 100% ภายหลังการเสนอขาย IPO จะทำให้ THRE เหลือถือสัดส่วนอยู่ราวๆ 65%

------------------------------------------------------------------------------
Reference
ข้อมล Filling : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย  [1]

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ThaiPR.net

หุ้นไทยผู้จัดการ360° 


ศูนย์รวมความรู้เรื่องหุ้น ศูนย์รวมนักลงทุนรายย่อย ที่อยากรู้วิธีการลงทุนในหุ้นอย่างถูกต้องและได้กำไรอย่างยั่งยืน ติดตามเราได้ที่

www.stock2morrow.com 

FB: stock2morrow 

LINE@stock2morrow

FacebookInstagramYoutubeLine

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง