ในตลาดหุ้นมีคำกล่าวหนึ่งที่มักจะนำมาพูดเล่นกันทุกปี คือ Sell in May and Go Away
หรือขายหุ้นในเดือนพฤษภาคมแล้วหนีออกจากตลาด ..
อาจจะเป็นข้อมูลทางสถิติที่บอกว่าเดือนพฤษภาคมมักจะเป็นเดือนที่หุ้นลงมากที่สุด
แต่เราเคยสงสัยไหมว่า แล้วเดือนไหนที่เราควรจะเข้าไปซื้อหุ้น ?
คำตอบคือ เดือนมกราคม ซึ่งตรงกับเหตุการณ์ที่เรียกว่า January Effect
January Effect คือช่วงที่หุ้นมักจะขึ้นในเดือนมกราคม
ทำไมต้องเดือนมกราคม ...
คำอธิบายมีหลายสาเหตุ เช่น
1. การขายหุ้นของนักลงทุนสถาบันช่วงเดือนธันวาคม แล้วต้องมาซื้อกลับในเดือนมกราคม
2. มาตราการทางภาษีของนักลงทุน โดยบางประเทศที่สามารถนำผลขาดทุนมาลดหย่อนได้จากกำไรหุ้นที่เกิดขึ้นก็มักจะขายช่วงปลายปี แล้วมาซื้อกลับช่วงต้นปี
3. การทำ Window Dressing ของกองทุนขนาดใหญ่ช่วงต้นปี รวมถึงซื้อก่อนจะมีเทศกาลปันผลช่วงเดือนมีนาคม
4. นักลงทุนได้เงินโบนัส แล้วนำมาลงทุน
ทั้งหมดที่กล่าวมา เป็นเรื่องของ "สมมุติฐาน" เพื่อนำมาอธิบายเหตุการณ์ January Effect
ซึ่งไม่ได้มีการยืนยันว่าเป็นความจริงเท็จประการใด
แต่ถ้าเราดูข้อมูลจากอดีตอย่างดัชนี S&P500 ตั้งแต่ พ.ศ. 2471 จนถึงปี 2561 พบว่าหุ้นขึ้นในเดือนมกราคมคิดเป็น 56 ครั้งจากทั้งหมด 91 ครั้ง หรือคิดเป็น 62%
โดยคำอธิบายจากผู้จัดการกองทุนหลายแห่งมีความคิดตรงกันว่า การขายหุ้นที่มากเกินไปในช่วงเดือนพฤษจิกายน และเดือนธันวาคมทำให้หุ้นหลายๆตัวมีราคาต่ำเกินความเป็นจริง จึงจำเป็นต้องกลับมาซื้อคืนในเดือนมกราคม หุ้นก็เลยขึ้นในเดือนนี้เป็นส่วนใหญ่
ข้อมูลที่น่าสนใจอีกอย่าง คือ หุ้นที่ขึ้นมักจะเป็นหุ้นขนาดเล็ก มากกว่าหุ้นขนาดใหญ่
ประเด็นคือ เรื่องของ ทำไมต้องเดือนมกราคม January Effect ใช้ได้กับตลาดหุ้นไทยไหม ?
จากข้อมูลสถิติ 10 ปีย้อนหลัง ตั้งแต่ปี 2554 - 2564 พบว่าหุ้นจะเป็นบวกในเดือนมกราคมมากถึง 7 ครั้งจากทั้งหมด 10 ครั้ง หรือคิดเป็น 70%
ที่สำคัญ คือ การบวกแต่ละครั้งให้ผลตอบแทนเฉลี่ยราวๆ 3.85% เลยทีเดียว
สรุปแล้ว สถิติบอกเราว่าหุ้นมักจะบวกในเดือนมกราคม
แต่ไม่ได้หมายความว่า เราจะซื้อเพียงอย่างเดียวเพราะในความเป็นจริงจะมีปัจจัยอื่นๆที่มีผลต่อทิศทางของตลาดหุ้นมากกว่าครับ ...