เมื่อคืนที่ผ่านมา มีประเด็นเศรษฐกิจที่น่าสนใจ คือ ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ประกาศขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.5%
โดยมีสาระสำคัญ คือ
1. ตัวเลขเศรษฐกิจยังออกมาดูไม่ดี โดยเฉพาะตัวเลขเงินเฟ้อยังสูงอยู่เลยเป็นปัจจัยกดดันให้ ECB ขึ้นดอกเบี้ย 0.5%
2. ทาง ECB แสดงท่าทีว่าจะยังคง "ขึ้นแรง" ต่อเนื่อง จากการพยายามสกัดเงินเฟ้ออยู่
โดยตลาดคาดว่า ในปีหน้าตัวเลขเงินเฟ้อจะอยู่ที่ 6.3%
และปี 2567 ตัวเลขเงินเฟ้อจะอยู่ที่ 3.4%
ทำให้ตลาดมองว่าเศรษฐกิยุโรป จะยังคงแย่อยู่ต่อไป จากความเสี่ยงทั้งเงินเฟ้อ นโยบายทางการเงิน ราคาพลังงาน และเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงในภุมิภาคแถบนี้
สอดคล้องกับทางธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ที่ปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.5% ตามท่าทีของ ECB และยังส่งสัญญาณชัดเจนว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปเพื่อควบคุมเงินเฟ้อให้ได้
กลับมาทางฝั่งสหรัฐอเมริกา ...
เมื่อวานธนาคารกลางสหรัฐ (FED) มีการปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.50% สู่ระดับ 4% โดยแสดงท่าทีว่า
1. จะไม่หยุดขึ้นดอกเบี้ยเร็วๆนี้ และมีแนวโน้มจะขึ้นอีกในปีหน้าโดยมีเป้าหมายของเงินเฟ้อ คือ 2%
2. ถึงแม้จะมีการขึ้นดอกเบี้ย แต่จะไม่ขึ้นแบบรุนแรงเหมือนที่ผ่านมา
โดยสรุปแล้วทั้ง FED และ ECB จะยังคงขึ้นดอกเบี้ยต่อไป ...
ประเด็นคือ การขึ้นดอกเบี้ยครั้งนี้ บอกอะไรเรา ?
คำตอบ คือ สัญญาณเศรษฐกิจสภาวะถดถอย (Recession) ปรากฏชัดเจนมากขึ้น และอาจจะรุนแรงมากกว่าที่คาดกันเอาไว้
เพราะการขึ้นดอกเบี้ย จะส่งผลกระทบต่อภาคค้าปลีกและอุตสาหกรรมโดยภาพรวมอาจจะหดตัวลง
อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มต้นทุนให้ผู้ประกอบการแบกรับต้นทุนที่มากขึ้น โดยเราจะเห็นภาพใหญ่ๆในปีหน้า คือ
1. คนมีแนวโน้มจะตกงานมากขึ้น
2. เศรษฐกิจไม่คล่องตัวเหมือนที่ผ่านมา
3. ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น ... จากเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง
แต่ก็ใช่ว่าจะมีแต่ปัจจัยลบอย่างเดียว ....
เพราะถ้าเราเชื่อว่าการเคลื่อนไหวของกระแสเงินสอดคล้องกับทาง FED มากกว่า ECB
การชะลอขึ้นดอกเบี้ยของ FED ในปีหน้า จะบอกเรา 2 อย่างด้วยกัน คือ
1. ค่าเงินจะมีเสถียรภาพมากขึ้น ไม่ผันผวนเหมือนในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงประเทศไทย
2. กลไกดอกเบี้ยมีความสมดุล FED ปรับดอกเบี้ยช้าๆ ในขณะที่ ECB ไม่ต้องโดนแรงกดดันจากการปรับดอกเบี้ยของ FED
แต่ที่แน่ๆ สิ่งที่พอจะมั่นใจได้ คือ ปีหน้าการลงทุนให้ได้ผลตอบแทนที่ดี ไม่ได้ง่ายอย่างแน่นอนครับ ...