ดูเหมือนว่าภาษีขายหุ้นมีแนวโน้มสูงมากว่าจะถูกจัดเก็บจริงๆ
และคงจะไม่มีอะไรหยุดยั้งการเก็บภาษีตัวนี้ได้ ถึงแม้จะมีหน่วยงานต่างๆแสดงความ "ไม่เห็นด้วย" ก็ตาม
ทั้งนี้ถ้ามีการเก็บภาษีขายหุ้นในปี 2566 จะส่งผลต่อภาพรวม 5 ข้อด้วยกัน ประกอบไปด้วย
1. ภาระค่าธรรมเนียมของนักลงทุนที่สูงขึ้น 64%
จากเดิมค่าคอมมิชชั่นเฉลี่ยของโบรกเกอร์อยู่ที่ 0.084% หากมีการเก็บภาษีขายหุ้น 0.11% เท่ากับว่าต้นทุนของนักลงทุนจะเพิ่มขึ้นถึง 64%
2. ช่วงระยะเวลาการขึ้นภาษี เป็นช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น
แต่เดิมสภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น จะเป็นการลดทอนมูลค่าของตลาดหุ้นไทยให้ซื้อขายในระดับ P/E ต่ำลงอยู่แล้ว และการมีภาษีขายหุ้นจะยิ่งเป็นการตอกย้ำให้สภาพคล่องในระบบลดลงไปอีก
หมายความว่า มูลค่าของตลาดหุ้นไทยก็อาจจะซื้อขายใน P/E ที่ลดลงตามไปด้วย
3. สภาพคล่องลดลง
ประเด็นแรก ปีหน้าจะเป็นปีที่เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ Recession สภาพคล่องหุ้นไทยน่าจะลดลงจากสถานยการณ์ที่ไม่สู้ดีนักจากสภาวะเศรษฐกิจ
ประเด็นที่สอง การเก็บภาษีจะทำให้นักลงทุนต่างชาติแบกรับค่าใช้จ่ายมากขึ้น หุ้นไทยอาจจะหมดเสน่ห์ในสายตานักลงทุนต่างชาติ
4. หุ้นไทยสภาพคล่องต่ำ ผลตอบแทนก็จะต่ำตามไปด้วย
บทวิเคราะห์หลักทรัพย์เอเชียพลัส เปิดสถิติช่วงปี 2011 - 2022 ระยะเวลา 12 ปี พบว่า
... ปีไหนที่มูลค่าการซื้อขายสูงกว่าปกติ ตลาดหุ้นไทยจะให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 18.3%
... ถ้าช่วงไหนการซื้อขายเกาะกลุ่มกับค่าเฉลี่ย ผลตอบแทนจะอยู่ราวๆ 5.6%
... ถ้าช่วงไหนการซื้อขายน้อยกว่าค่าเฉลี่ย ผลตอบแทนจะติดลบ -2.9%
ดังนั้น มูลค่าการซื้อขายลด ผลตอบแทนก็มีแนวโน้มจะลดลงตามไปด้วย
พูดง่ายๆ คือ "ภาษีขายหุ้น" อาจจะกดดันหุ้นไทยให้ผลตอบแทนต่ำในอีกหลายปีข้างหน้า
เมื่อปริมาณการซื้อขายน้อยลง ภาครัฐก็จะจัดเก็บภาษีได้น้อยลง
ดูเหมือนว่าการขึ้นภาษีครั้งนี้ อาจจะได้ไม่คุ้มเสียสักเท่าไร
-----------------------------------------------
Reference