ทุกวันนี้ยังมีความเข้าใจที่ไม่ค่อยถูกเท่าไรเรื่องประกันกันอยู่ครับ
บางคนก็อยากได้ "ผลตอบแทนสูงๆคุ้มค่า"
บางคนก็ลังเลกลัวว่าหากไม่เกิดอะไรก็จะ "ไม่คุ้ม"
บางคนก็คิดว่าเ "อาไว้ตอนแก่ๆสุขภาพเริ่มไม่ดีค่อยซื้อก็ได้"
บางคนก็จะซื้อไว้ "หักภาษีเท่านั้น"
บางคนก็อยากได้ประกัน "แบบสั้นๆ"
บางคนคิดว่าเป็นอะไรไปก็ "จ่ายเองได้"
บางคนมองการซื้อประกัน "เป็นภาระ"
และอื่นๆอีกมากมาย
วันนี้ขอทำความเข้าใจเรื่องประกันที่ถูกที่ควรกันหน่อยครับ ...
ประกันชีวิตไม่ได้ซื้อเพราะต้องการความคุ้ม
ครอบครัวหรือคนที่คุณรัก
ไม่อยากได้ความคุ้มจากการที่คุณเป็นอะไร
แม้แต่ตัวคุณเองผมก็คิดว่าคุณก็คงไม่อยากที่จะคุ้มจริงป่ะ
เพราะถ้าจะซื้อให้คุ้มนะสงสัยต้องแบบ
สละชีพชำระเบี้ยครั้งเดียว ...
การตัดสินใจว่า ทำประกันหรือไม่ทำคุณก็มีโอกาสตัดสินใจผิด
พอตัดสินใจทำ ทำแล้วไม่เกิดอะไรขึ้นเลยก็รู้สึกว่าตัดสินใจผิด
ตัดสินใจไม่ทำ แล้วถ้ามีอะไรเกิดขึ้น ก็รู้สึกว่าตัดสินใจผิด
แต่ถามจริงเถอะครับ คุณว่า
ตัดสินใจผิดแบบไหน น่าตัดสินใจผิดมากกว่ากันครับ
ประกันเป็นเครื่องมือในการโอนย้ายความเสี่ยง
ไม่ใช่สินค้าที่ซื้อเพราะว่ากำไรเยอะดี
ประกันเป็นสินค้าการเงิน
ที่คุณต้องซื้อมันในเวลาที่คุณไม่ต้องการมัน
ไม่เช่นนั้นเมื่อถึงเวลาที่คุณจำเป็นต้องใช้มัน
คุณจะไม่สามารถซื้อมันได้
เพราะประกันไม่ใช่แค่มีเงินถึงจะซื้อได้
แต่คุณต้องมีสุขภาพที่ดีตอนซื้อด้วย
ประกันเป็นสินค้าที่ทำแล้วอยากให้คุ้มครองนานๆ
ไม่ใช่ซื้อเพราะว่ามันสั้นๆเพราะแค่อยากได้เงินคืนเร็วๆ
ไม่เช่นนั้นเวลาที่คุณซื้อสินค้า
คุณคงไม่อยากได้สินค้าที่รับประกันนานๆหรอกจริงป่ะ
ประกันไม่ใช่สินค้าการเงินที่มีวัตถุประสงค์หลัก
เพื่อการลดหย่อนภาษี
แต่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อโอนย้ายความเสี่ยง
ภาษีเป็นเสมือนแค่ของแถมเท่านั้น
ประกันไม่ว่าคุณจะอยากทำหรือไม่อยากทำ
คุณก็ได้ทำประกันอยู่ดี
ขึ้นกับว่าคุณทำประกันกับใคร
ทำกับบริษัทประกัน หรือทำกับตัวคุณเอง
แต่ถามจริงๆเถอะระหว่างคุณกับบริษัทประกัน
ใครมีสถานะการเงินแข็งแกร่งกว่ากัน
ใครบริหารความเสี่ยงได้ดีกว่ากัน
ใครจ่ายเงินก้อนใหญ่ให้คุณได้ทันที
การจ่ายเบี้ยประกันไม่ใช่เป็นภาระ
แต่การจ่ายเบี้ยประกัน
เป็นการลดภาระหากมีอะไรเกิดขึ้นกับผู้ทำต่างหาก
ตอนนี้พอเข้าใจประกันตรงกันแล้วนะครับ