แต่เดิมประเทศอังกฤษ กำลังเจอปัญหาอยู่สองประการหลักๆจากปัญหาเงินเฟ้อ
1. ค่าเงินปอนด์สเตอร์ลิง ร่วงลงอย่างมาก โดยปีนี้ร่วงไปแล้วกว่า 20%
2. เศรษฐกิจประเทศไม่เติบโต
พูดง่ายๆ คือ ปัญหาตอนนี้ประเทศอังกฤษกำลังเข้าสู่ Recession เรียบร้อยแล้วและจะทำให้ประเทศอื่นๆในยุโรปเกิดปัญหาตามไปด้วย
อังกฤษเลยคิดว่าอยู่เฉยแบบนี้ต่อไปไม่ได้แล้ว อาจจะต้องทำอะไร "บางอย่าง"
คำว่าบางอย่างของอังกฤษ คือ การอัดฉีดสภาพคล่อง 3 ประการ ประกอบไปด้วย
1. การตั้งวงเงิน 6.5 หมื่นล้านปอนด์ เข้ามากว้านซื้อพันธบัตรรัฐบาลของอังกฤษ
ข่าวนี้ส่งผลค่าเงินปอนด์แข็งค่าขึ้นทันที และยังส่งผลกระทบเชิงบวกต่อสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกบวกขึ้นมาได้ สวนทางกับดอลล่าร์ที่นักลงทุนเทขาย
2. รัฐบาลออกมาตรการลดภาษีครั้งใหญ่
3. การเยียวยาภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ
เข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจหลังจากประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากข้าวของแพงขึ้น
... พูดง่ายๆ คือ กลับมาอัดฉีดสภาพคล่องให้กับเศรษฐกิจ (อีกแล้ว) ...
เลยทำให้นักลงทุนคิดว่า ...
สุดท้ายรัฐบาลทำอะไรไม่ได้ ก็ต้องอัดฉีดสภาพคล่องกลับไปเหมือนเดิม ...
ไม่ว่าจะเป็นการแจกเงิน พยุงค่าเงิน - รักษาเสถียรภาพค่าเงินไม่ให้อ่อนค่าลงไปมากกว่านี้
และนี้เริ่มที่อังกฤษ เดียวประเทศอื่นๆก็ "ทำตาม"
คำว่า "ทำตาม" ได้เกิดขึ้นแล้วในหลายประเทศ เช่น
... ธนาคารกลางจีน (PBOC) ออกมาเตือน (และสั่ง) เรื่องของการเก็งบกำไรค่าเงิน
... ธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) มีแผนจะเข้าแทรกแซงซื้อพันธบัตรของประเทศเกาหลี
... ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เริ่มใช้มาตรการ "พยุงค่าเงิน" เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2541
และมีแนวโน้มว่าจะมากขึ้นเรื่อยๆ
ประเด็นที่นักลงทุนต้องใส่ใจ คือ การขึ้นของสินทรัพย์เสี่ยงครั้งนี้ อาจจะดูคลายกังวล
แต่ถ้ามองในระยะยาวถือว่าน่าเป็นห่วง
เพราะการกระตุ้นเศรษฐกิจของธนาคารกลางอังกฤษ หมายถึง การ "ก่อหนี้เพิ่ม"
ซึ่งทาง IMF ก็ได้แสดงความกังวล และไม่เห็นด้วยว่ารัฐบาลไม่ควรทำแบบนี้
ยังไงก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นจะเรียกว่าอัดฉีดเงินเหมือนที่ผ่านๆมา ก็คงไม่ใช่ เพราะถ้าทำมากไปปัญหาเงินเฟ้อก็จะตามมาอีก
เราอาจจะเรียกมาตรการครั้งนี้ว่า ... การดูแลช่วงสั้น เพื่อไม่ให้เกิด Panic
เพราะสุดท้ายแล้ว การลดเงินเฟ้อ คือเป้าหมายหลักของทั่วโลก
ดังนั้น การที่เราเห็นสินทรัพย์เสี่ยงปรับขึ้น อาจจะเป็นเรื่องชั่วคราว
เดียวสักพักก็ต้องกลับไปกังวลกันใหม่ ครับ