ช่วงนี้เราจะเห็นประเด็นเรื่องของค่าเงินบาทที่ "อ่อนค่า" ลงอย่างมาก
ล่าสุด อยู่ที่ 37 บาท/ดอลลาห์สหรัฐ ซึ่้งถือเป็นครั้งแรกในรอบ 16 ปีที่บาทอ่อนค่ามากขนาดนี้
แต่ถ้าเราลองดูในอีกมุมหนึ่ง และตั้งคำถามว่ามีโอกาสมากน้อยแค่ไหนที่เงินบาทอาจจะกลับมาแข็งค่าได้อีกครั้ง
ฟังดูแล้วอาจจะเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ หรือแทบจะหาเหตุผลในการที่ค่าเงินบาทจะกลับมาแข็งค่าได้เลย
ถามว่า การตั้งสมมุติฐานว่าค่าเงินบาทจะกลับมาแข็งค่า เนื่องมาจากเหตุผลอะไร ?
คำตอบ คือ มาจาก 3 เหตุผลด้วยกัน อยากจะเล่าสู่กันฟังแบบนี้ครับ
1. การปรับขึ้นดอกเบี้ยของ FED ไม่น่าจะแรงไปกว่านี้อีกแล้ว
ในการประชุมที่จะถึงนี้ ...
... ตลาดมองว่า FED อาจจะปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.75% มาสู่ระดับ 3.25% มีความน่าจะเป็นสูงถึง 82%
... โอกาสที่จะขึ้นดอกเบี้ยแรงถึง 1% มีโอกาสเพียงแค่ 18% ซึ่งจะเป็นการขึ้นมากกว่าที่ตลาดคาด
ส่วนการประชุมครั้งต่อๆไป FED อาจจะขึ้นดอกเบี้ย "น้อยลง" หรืออยู่ที่ราวๆ 0.25% - 0.5%
สาเหตุเพราะว่า
2. ต้นทุนที่ FED ต้องจ่าย คือ สภาวะเศรษฐกิจ Recession
การเร่งขึ้นดอกเบี้ยเร็ว และค้างไว้ข้างบนนานเกินไป ความเสียหายที่ FED และรัฐบาลต้องจ่าย คือ เศรษฐกิจถดถอย (Recession)
ดังนั้น FED อาจจะไม่พิจารณาปรับขึ้นดอกเบี้ยแรงๆ ...
3. เงินเฟ้อสหรัฐผ่านจุดพีคไปแล้ว
เราต้องยอมรับว่า เงินเฟ้อล่าสุด คือ 8.3% ถึงแม้จะสูงและมากกว่าที่ตลาดคาด
แต่จากข้อมูลต่างๆ เช่น ดัชนี CPI ราคาพลังงานเริ่มมีการปรับลดลงแล้ว ดังนั้นไม่น่าจะเห็นเงินเฟ้อทำจุดสูงสุดใหม่ หรือค้างอยู่ข้างบนได้นาน
ตัวเลขเงินเฟ้อมีแนวโน้มจะลดลงเรื่อยๆ และเป้าหมายที่ FED มองไว้ คือ 2% yoy
สรุปแล้ว ช่วงที่เหลือของปี เราอาจจะเห็นค่าเงินบาทกลับมาแข็งค่าจาก 3 เหตุผลที่กล่าวมาขัางต้น
พร้อมกับคาดหวังว่าเศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงของการฟื้นตัว
----------------------------------
Reference