#ข่าวหุ้นธุรกิจการลงทุน
#วางแผนการเงิน

วิกฤตการเงินของคน Gen Z คือ ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง

โดย stock2morrow
เผยแพร่:
1,667 views

โมเดลธุรกิจแบบ Buy Now, Pay Later หรือ BNPL เป็นโมลเดลธุรกิจที่เติบโตเร็ว มีมาร์จิ้นที่ดีมากๆ 
แต่การที่มีมากเกินไป อาจจะเป็นวิกฤตการเงินของคน Gen Z ในอนาคต

BNPL คือ ผู้บริโภคสามารถซื้อของที่ต้องการได้ทันที โดยไม่ต้องจ่ายเงินออกไปก่อน 
ผู้บริโภคจะขยายระยะเวลาในการชำระออกไป อีกทั้งมีค่าธรรมเนียมที่ต่ำหรือแทบจะไม่มีเลย จึงเป็นบริการที่ถูกใจผู้บริโภคมากๆ
เพราะผู้บริโภคคิดว่า ของชิ้นนี้ยังไม่ได้จ่ายเงินซื้ออกไป แต่ได้สินค้ามาใช้ก่อนซึ่งตามหลักจิตวิทยาแล้วจะทำให้เรามีความสุขมากขึ้นกว่าเดิม

แต่รู้หรือไม่ว่า ด้วยความนิยม BNPL อาจจะกำลังก่อตัวเป็นฟองสบู่เศรษฐกิจลูกใหม่ ...
โดยบทวิเคราะห์จากLendingTree ชี้ว่า ...
... มีผู้ใช้บริการ BNPL กว่า 70% ใช้จ่ายมากกว่าเงินที่ตัวเองหาได้
... มีผู้ใช้บริการ BNPL กว่า 42% จ่ายเงินไม่ตรงเวลา เมื่อครบกำหนด
และใน 42% ข้างต้น กว่าครึ่งเป็นคนในรุ่น Gen Z

 

ปัจจุบันขนาดตลาดของ BNPL มีมูลค่าสูงถึง 9.16 หมื่นล้านเหรียญ
จากบทวิเคราะห์ของ Alliedmarket research คาดว่าตลาด BNPL จะโตเฉลี่ยปีละ 45.7% ในปี 2021 - 2030
นั่นหมายความว่าในปี 2030 ตลาด BNPL จะมีมูลค่าสูงถึง 3.98 ล้านล้านเหรียญ
ด้วยมูลค่าที่สูงมาก อาจจะกลายเป็นระเบิดเวลาฟองสบู่ลูกใหม่ของเศรษฐกิจก็เป็นไปได้

 

โดยเมื่อไม่นานมานี้ U.S. Consumer Financial Protection Bureau หรือ CFPB วางแผนที่จะเริ่มควบคุมบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับ BNPL มากขึ้น 
เนื่องจากกังวลว่าผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เติบโตเร็วจะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค และเศรษฐกิจในภายหลัง
อีกทั้ง CFPB ยังมองว่าต้นทุนที่สูงขึ้น การใช้จ่ายของชาวอเมริกาลดลงในช่วงเงินเฟ้อที่พุ่งสูง อาจจะทำให้วิกฤตเกิดขึ้นได้เร็วกว่าที่คาดกันเอาไว้ถ้าไม่มีการควบคุม

สื่อ CNBC มองว่าเป็นข่าวดีที่จะมีการควบคุมเรื่องเหล่านี้ ถึงแม้ว่าตอนนี้ยังไม่ได้มีกฏที่ชัดเจนมากนัก แต่การเข้ามาควบคุมก็แสดงให้เห็นว่าภาครัฐมองเห็นปัญหาเหล่านี้ และในอนาคตวิกฤตการเงิน BNPL อาจจะไม่รุนแรง ลุกลามกลายเป็นวิกฤตการเงินลูกใหญ่

 

อย่างไรก็ตาม การเข้ามาควบคุม BNPL อาจจะทำให้หุ้นกลุ่มเทคโนโลยี หรือมีธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ "ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง" จะโดนกระทบ
เช่น Affirm, PayPal, Klarna
ทั้งนี้บริษัทที่น่าจะได้รับประโยชน์ คือ บริษัท Payment ขนาดใหญ่ เช่น Visa และ Mastercard

 

สรุปแล้ว การทำธุรกิจแบบ BNPL เป็นโมลเดลธุรกิจที่เติบโตเร็วและกำไรดี แต่การเติบโตย้อมต้องแลกมากับหนี้สินของประชาชนที่เพิ่มสูงขึ้นซึ่งอาจจะกลายเป็นฟองสบู่ลุกลามมาเป็นวิกฤตการเงินในภายหลังถ้าไม่มีการควบคุม
แต่ดูเหมือนว่าภาครัฐจะมองเห็นปัญหา และเริ่มเข้ามาตั้งกฏเกณฑ์ควบคุมมากขึ้น
วิกฤตครั้งนี้อาจจะไม่ได้รุนแรงมาก แต่ก็ยังมองข้ามไม่ได้ครับ ....

 

อนึ่ง ในสหรัฐอเมริกา โดยทั่วไปจะมีการแบ่งแยกระหว่างธนาคารและการพาณิชย์ แต่เนื่องจากว่าการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยี ทำให้เรื่องของการชำระเงินและบริการทางการเงินแทบจะเป็นเนื้อเดียวกัน และควบคุมยากมากยิ่งขึ้น


ศูนย์รวมความรู้เรื่องหุ้น ศูนย์รวมนักลงทุนรายย่อย ที่อยากรู้วิธีการลงทุนในหุ้นอย่างถูกต้องและได้กำไรอย่างยั่งยืน ติดตามเราได้ที่

www.stock2morrow.com 

FB: stock2morrow 

LINE@stock2morrow

FacebookInstagramYoutubeLine

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง