คำถามหนึ่งที่นักลงทุนให้ความสนใจมากที่สุด คงจะเป็นเรื่องของการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (FED)
แน่นอนแล้วว่า FED ขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้ออย่างแน่นอน
ประเด็น คือ จะหยุดขึ้นดอกเบี้ยเมื่อไหร่ ?
นักวิเคราะห์จาก CNBC มองว่า FED อาจจะขึ้นดอกเบี้ยลากยาวไปจนถึงปลายปี 2567
พูดง่ายๆ คือ ธีมของการขึ้นดอกเบี้ยจะอยู่กับเราไปอีก 2 ปีข้างหน้า ....
หรือภายใต้เงื่อนไข "บางอย่าง" ที่ FED มั่นใจได้ว่าพอแล้ว คุมได้อยู่แล้ว ประกอบไปด้วย 2 ข้อ คือ
1. อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับปกติ คือ 2-3%
2. อัตราการว่างงาน (Unemployment rate)เพิ่มขึ้นมากเกินไปจนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
สื่อ CNN ได้มีการพูดคุยกับ Mary Daly ประธาน FED สาขาซานฟรานซิสโก ซึ่งมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่าการขึ้นดอกเบี้ยเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผลที่จะทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลง
และมองว่าการขึ้นดอกเบี้ยน่าจะคงอยู่ต่อไปจนถึงปี 2566
ตอนนี้นักลงทุนวอลสตรีทมองโลกในแง่ดีเกินไป ว่า FED ไม่น่าจะดุดันกับการขึ้นดอกเบี้ยมากนัก แต่หลังจากตัวเลขเงินเฟ้อออกมาอาจจะทำให้นักลงทุนเริ่มเปลี่ยนท่าที่ว่า FED อาจจะขึ้นดอกเบี้ยไปเรื่อยๆจนกว่าจะเริ่มเห็นระดับเงินเฟ้อลงมาอยู่ที่ 6% อาจจะส่งสัญญาณชะลอความร้อนแรงของการขึ้นดอกเบี้ย
โดยดอกเบี้ยที่น่าจะไปถึง อาจจะแตะระดับ 4.5-5% (ปัจจุบันอยู่ที่ 2.25%)
ประเด็นสำคัญถัดมา คือ แล้วสำหรับประเทศไทยล่ะ ?
จะมีการแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยได้บ้างหรือไม่ ? ...
บทวิเคราะห์หลายๆสำนักมีทิศทางการมองคล้ายๆกันว่า แบงก์ชาติอาจจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย "แบบค่อยเป็นค่อยไป" เพียง 0.25% มาอยู่ที่ 1.25-1.5%
เนื่องจากมองว่าเศรษฐกิจไทยเริ่มมีการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง หนุนโดยการท่องเที่ยวและการส่งออก จะหนุนการเติบโต GDP ของไทยในครึ่งปีหลังของปีนี้ ไปจนถึงปี 2566
ดังนั้น เราอาจจะไม่ได้การขึ้นดอกเบี้ยนโยบายแรงๆอย่างที่ FED ทำในประเทศไทย ...
------------------------------------
Reference