เมื่อคืน ตัวเลขเงินเฟ้อเดือนสิงหาคมถูกประกาศออกมาอยู่ที่ 8.3% yoy
ซึ่งตลาดคาดว่าน่าจะอยู่ราวๆ 8.1% yoy
เมื่อตัวเลขออกมาสูงกว่า ทำให้ตลาดเกิดแรงเทขายออกมาอย่างมากทำให้ตลาดหุ้นทางฝั่งอเมริการ่วงกันอย่างมาก
แต่ถ้าเราพิจารณาดีๆ ตัวเลข 8.3% ที่ออกมา ต่ำว่าเดือนกรกฏาคม (อยู่ที่ 8.5%)
ถือว่า "ดูดี" ขึ้น ไม่ใช่เหรอ ?
อีกทั้งการคาดของตลาดที่ 8.1% yoy ก็ไม่ได้ห่างจากตัวเลข 8.3% มากนัก
ตลาดน่าจะ "หยวนๆ"
ซึ่งการมองแบบนี้ไม่ใช่เรื่องผิด
แต่สิ่งที่ผิด คือ ความชันการลดลงของเงินเฟ้อ ช้ากว่าที่นักลงทุนคาดเอาไว้
ในตอนแรก นักลงทุนมองว่า เงินเฟ้อน่าจะลดลงเร็ว ... ถ้าต่ำกว่า 8.1% ได้จะดีมากๆ
ถ้าเงินเฟ้อลดลงเร็ว ท่าทีของเฟดก็จะเปลี่ยนไปเป็นเพิ่มดอกเบี้ยไม่รุนแรงมาก
แต่กลายเป็นว่า การลดลงของเงินเฟ้อ เป็นไปอย่าง "เชื่องช้า"
ทำให้นักลงทุนมองว่า ตัวเลขเงินเฟ้อไม่ยอมลง ยังไงเฟดก็น่าจะขึ้นดอกเบี้ยแรงๆ
เพื่อควบคุมเงินเฟ้อให้ลงมา สู้ยอมเทขายสินทรัพย์เสี่ยงออกไปก่อน ค่อยว่ากันอีกที
ภาพก็เลยออกมาอย่างที่เห็น ดัชนีทางฝั่งอเมริการ่วงกัน -2% หรือแนสแดค -5% ...
นอกจากประเด็นเงินเฟ้อและการขึ้นดอกเบี้ยแล้ว
นักลงทุนบางส่วน ยังมองต่อไปอีกว่า การขึ้นดอกเบี้ยแรงๆ จะทำให้เศรษฐกิจอเมริกาชะลอตัวลงอีก อาจจะนำไปสู่ Recession แบบจริงๆได้
เพราะตอนนี้เป็นแค่การเกิด Technical Recession เท่านั้น หมายความว่า GDP ติดลบกันสองไตรมาส แต่ตัวเลขต่างๆออกมาดีขึ้น แนวโน้มเป็นไปในทิศทางของการฟื้นตัว
สรุปง่ายๆ คือ นักลงทุนกังวลว่าเฟดน่าจะยังขึ้นดอกเบี้ยแรงๆต่อไป นำไปสู่การเกิด Recession ได้ในท้ายที่สุด