ตั้งแต่การมาเยือนไต้หวันของนางเพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฏรอเมริกา และยังกล่าวต่อสาธารณชนอีกว่าเคารพความเป็นประชาธิปไตยของไต้หวัน ทำให้ทางรัฐบาลจีนไม่พอใจอย่างมาก สื่อต่างๆเลยคาดว่าอาจจะมีความขัดแย้งระหว่างจีนและไต้หวันเกิดขึ้นก็เป็นได้
ถามว่า ถ้าเกิดความขัดแย้งขึ้นจริงๆ จะเกิดผลกระทบอย่างไรบ้าง
... เซมิคอนดักเตอร์ขาดแคลน
... ความวุ่นวายทางการทหาร ราคาสินค้าอาจจะมีการปรับเพิ่มขึ้น
... กำแพงภาษีที่น่าจะถูกเลื่อนออกไป
... การเติบโตเศรษฐกิจโลกเกิดการสะดุดอีกครั้ง
นี้คือสิ่งที่นักลงทุนรู้
แต่ในความเป็นจริงแล้วนักลงทุนอาจจะมองโลกในแง่ดีเกินไป เพราะความขัดแย้งระหว่างจีน - ไต้หวัน อาจจะส่งผลกระทบมากกว่าที่เราคิด
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (Economic Intelligence Center: EIC ) ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้วิเคราะห์สถานการณ์ออกเป็น 3 กรณีด้วยกัน ประกอบไปด้วย
กรณีที่ 1 : คว่ำบาตรเชิงสัญลักษณ์ ไม่ร้ายแรงมาก (มีความเป็นไปได้มากที่สุด)
จีนกับไต้หวัน อาจจะมีการคว่ำบาตรเชิงสัญลักษณ์ เพิ่มการซ้อมรบชั่วคราว
สหรัฐไม่คว่ำบาตรจีน สถานการณ์ยังไม่มีความรุนแรง มีความคลุมเครือทางยุทธ์ศาสตร์ ไม่มีการเผชิญหน้ากันโดตรง
กรณีนี้ เป็นแค่ความตึงเครียดระหว่างประเทศ ไม่มีการปะทะหรือใช้กำลังทหาร แต่ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น คือ มีการแบ่งขั้วทางเศรษฐกิจชัดเจน กระทบต่อเศรษฐกิจโลกไม่มาก ยังขยายตัวระดับ 3.2% และการค้าโลกจะเติบโตราวๆ 4.1% ในปีนี้
กรณีที่ 2 : มีความตึงเครียด ปิดน้ำน่าน กระทบต่อห่วงโซ่อุปทานโลกและเศรษฐกิจภูมิภาค แต่ไม่ถึงขั้นสงครามหรือใช้อาวุธและกำลังทหารเข้าปะทะ
สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากที่สุด คือ เซมิคอนดักเตอร์ จะขาดแคลนเพราะไต้หวันเป็นผู้ผลิตที่สำคัญที่สุดของโลก
ทางฝั่งสหรัฐอาจจะคว่ำบาตรเศรษฐกิจจีน ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจโลกขยายตัวได้ราวๆ 2% เพราะมูลค่าทางการค้าของจีน สูงกว่าของรัสเซียอยู่มาก
กรณีที่ 3 : เลวร้ายสุด คือสงครามของจีนและไต้หวัน เศรษฐกิจโลกแบ่งข้างชัดเจน จีนและสหรัฐเข้าสู่สภาวะถดถอย การค้าระหว่างประเทศหยุดชะงักในหลายพื้นที่ และเศรษฐกิจโลกอาจจะโตราวๆ 1% เท่านั้น
ประเด็นสำคัญคือ การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีอาจจะหยุดชะงักลงเลยก็เป็นได้ ...
อ่านมาถึงตรงนี้เราอาจจะรู้สึกสงสัยว่า แล้วถ้าเกิดความขัดแย้งขึ้นจริงๆจะส่งผลกระทบต่อไทยอย่างไรบ้าง ?
EIC ได้วิเคราะห์ว่าจะกระทบไทยเป็น 4 ข้อด้วยกัน คือ
1. การค้าระหว่างประเทศ
การขนส่ง โลจิสติกส์ ทำได้ยากขึ้น ค่าใช้จ่ายแพงขึ้น แต่ในบางกลุ่มสินค้าอาจจะได้ประโยชน์จากการนำเข้าและส่งออกสินค้าทดแทน
2. การลงทุนระหว่างประเทศ
บริษัทต่างชาติอาจจะหันมาลงทุนในภูมิภาคใกล้เคียง ย้ายฐานการผลิต เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์โลกที่สูงขึ้น
3. อัตราเงินเฟ้อเร่งตัว
ห่วงโซ่อุปทานสำคัญของสหรัฐฯ และจีนได้รับผลกระทบ จึงต้องหันมาพึ่งพาการผลิตในประเทศหรือภูมิภาคเดียวกันมากขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นกว่าเดิม อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น
4. ความผันผวนทางด้านตลาดการเงินสูงขึ้น
ห่วงโซ่อุปทานสำคัญของสหรัฐฯ และจีนได้รับผลกระทบ จึงต้องหันมาพึ่งพาการผลิตในประเทศหรือภูมิภาคเดียวกันมากขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นกว่าเดิม อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น
อย่างไรก็ตาม นี้เป็นกรณีที่ค่อนข้างเลวร้าย คือ มีการคว่ำบาตรแบบจริงๆจังๆ หรือใช้อาวุธส่งกำลังทหารเข้ายึดพื้นที่ทำให้มีคนบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ซึ่งต้องยอมรับว่ามีความเป็นไปได้น้อย
ความเป็นไปได้มากที่สุด คือ การคว่ำบาตรเชิงสัญลักษณ์ ไม่ร้ายแรงมาก ...
ซึ่งถ้าเกิดกรณีนี้ขึ้นมาจริงๆ มันก็อาจจะไม่ได้เลวร้ายอย่างที่เราคิด
-------------------------------------
Reference