"ประเทศที่พัฒนาแล้ว สุ่มเสียงต่อการเกิด Recession ..."
เราน่าจะได้ยินข่าวไปแล้วว่าตัวเลข GDP ไตรมาส 2 ของสหรัฐอเมริกาติดลบ -0.9% qoq ถือเป็นการติดลบติดต่อกันสองไตรมาสต่อเนื่อง
ทำให้เข้าสู่นิยามของสภาะวเศรษฐกิจถดถอยว่า "Technical Recession" ...
หมายความว่าทางทฤษฏีนิยมของการถดถอย คือ ติดลบสองไตรมาสติดต่อกัน
แต่เนื่องด้วยว่าตัวเลขออกมา "ลดลง" ถือเป็นแนวโน้มที่ดีของการฟื้นตัว และทาง FED ก็มีความมั่นใจว่าเศรษฐกิจของอเมริกาจากนี้จะเริ่มฟื้นตัวขึ้นเรื่อยๆ
ทำให้นักลงทุนมีความมั่นใจ ตลาดหุ้นทางฝั่งอเมริกาเลยกลับมาบวกเขียวได้อย่างน่าเหลือเชื่อ
แสดงว่า ประเด็นนี้ มันจบแล้ว ใช่ไหม ?
คำตอบคือ ยังไม่ใช่ครับ
เพราะสัญญาณ Technical Recession เป็นจุดเริ่มต้นทำให้ประเทศในยุโรปเริ่มมีความ "สุ่มเสี่ยง" ที่จะเกิด Recession อีกครั้ง
... นำโดย อังกฤษ ...
เมื่อไม่นานมานี้ ...
GDP ของอังกฤษไตรมาสแรก เติบโต 0.8% qoq
GDP ของอังกฤษไตรมาสสอง ลดลง -0.1% qoq
... จากสัญญาณค้าปลีกที่ชะลอตัวลง และการบริโภคครัวเรือนที่ลดลง
ทำให้นักลงทุนเริ่มกังวลว่า ถ้าไตรมาสสามอังกฤษประกาศตัวเลขว่า GDP ติดลบ แสดงว่าอังกฤษได้เข้าสู่สภาวะ Recession
และการเกิด Recession ของอังกฤษ อาจจะนำไปสู่การลุกลามให้เกิดสภาวะ Recession ทั่วทั้งยุโรปโดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว
นี้ถือเป็น "สัญญาณวิกฤตของประเทศพัฒนาแล้ว " ที่ตลาดอาจจะกลับมากังวลกันอีกครั้ง
อ่านมาถึงตรงนี้เราอาจจะสงสัยว่า แล้วสำหรับประเทศไทยละ ?
คำตอบคือ GDP ไทยยังแข็งแกร่ง และมีแนวโน้มที่จะโตต่อ
บทวิเคราะห์หลักทรัพย์เอเชียพลัส วิเคราะห์ว่าความเสี่ยงเรื่อง Technical Recession ยังไม่เกิดขึ้นกับประเทศไทย จากเหตุผล 3 ประการด้วยกันคือ
1. GDP ไทยยังแข็งแกร่ง และไม่ติดลบรายไตรมาส
2. ตัวเลขทางเศรษฐกิจไทยยังแข็งแกร่ง
3. ค่าเงินบาทยังแข็งค่าต่อเนื่อง
สรุปได้ว่า ตอนนี้ถือเป็นวิกฤตของประเทศพัฒนาแล้ว มีความสุ่มเสี่ยงว่าจะเกิด Recession นำโดยอเมริกาและอังกฤษที่ GDP ติดลบไปแล้ว 1 ไตรมาส และมีแนวโน้มว่าจะติดลบติดต่อกันเป็นครั้งที่สอง
ขณะที่ประเทศไทย GDP ยังเป็นบวก ตัวเลขทางเศรษฐกิจยังดูดี ถือเป็นปัจจัยบวกช่วยหนุน SET Index จาก FundFlow ของต่างชาติให้ไหลเข้ามายังหุ้นไทยต่อเนื่องได้ นั้นเองครับ ....
--------------------------------------
Reference