#แนวคิดด้านการลงทุน

ทำไมผู้คนจึงไว้วางใจใน Fiat Money

โดย stock2morrow
เผยแพร่:
494 views
"จริงๆผู้คนไม่ได้ไว้วางใจในเงินเฟียต แต่ไว้วางใจในสินทรัพย์ที่อยู่เบื้องหลังของมันต่างหาก ... "


Fiat Money หรือเงินตราที่ออกโดยภาครัฐ เริ่มมีการใช้กันแบบจริงๆจังๆหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อจักรวรรดิบริติชเริ่มศูนย์เสียอำนาจการเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในช่วงล่าอาณานิคม สกุลเงิน "ปอนด์สเตอร์ลิง" ก็ค่อยๆเสื่อมค่าลงเรื่อยๆ มีหลายประเทศเริ่มประกาศเอกราช มีการแบ่งแยกดินแดชเพื่อให้หลุดพ้นจากการเป็นทาสของประเทศที่ล่าอาณานิคม
เมื่อประเทศเหล่านี้ประกาศเอกราชแล้ว สิ่งที่จะขาดไม่ได้คือ เงินตราของภาครัฐ หรือ Fiat Money (เงินเฟียต)  ...

เงินเฟียต มาจากภาษาละตินที่แปลว่า คำสั่ง คำบัญชา ประกาศิต ..
ซึ่งแต่เดิม คนเดินทางค้าขายโดยใช้ "ทองคำ" ในการแลกเปลี่ยน เพราะเหตุผล 2 ประการ คือ
1. ปริมาณของทองคำ จะเพิ่มขึ้นช้าๆและคงที่ในระบบ ทำให้มันยังคงสภาพของความมีมูลค่า
2. ด้วยคุณสมบัติทางเคมี มันไม่เสื่อมสลาย หรือเล่นแร่แปรธาตุจากสิ่งอื่นได้
แต่ทองคำมีจุดอ่อนที่ยิ่งใหญ่ คือ การเก็บรักษาที่มีต้นทุน และการพกพาเป็นเรื่องที่ยาก
ทางรัฐบาลจึงมีการออกเงินเฟียตขึ้นมา โดยใช้ทองคำเป็นสินทรัพย์ในการหนุนหลัง และประกาศว่าประชาชนทุกคนที่ถือเงินเฟียตที่ออกโดยภาครัฐ สามารถนำมาแลกคืนเป็นทองคำได้

เมื่อผู้คนเห็นว่าเงินเฟียตพกพาง่าย ใช้จ่ายคล่อง และที่สำคัญคือมีทองคำอยู่ด้านหลัง สามารถนำมาแลกคืนเมื่อไรก็ได้
ผู้คนจึงไว้วางใจในเงินเฟียต
นั้นหมายความว่า ผู้คนไม่ได้ไว้วางใจเงินเฟียต แต่ไว้วางใจในทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่อยู่เบื้องหลังของมันต่างหาก ...
ประเทศส่วนใหญ่จึงหันมาเก็บทองคำเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้เงินเฟียตที่ตัวเองผลิตขึ้นมามีเสถียรภาพ
หรือประเทศไหนที่ไม่สามารถเก็บทองคำได้ ก็จะหันมาเก็บเงินเฟียตที่มีทองคำสำรองไว้ในประเทศของตัวเอง

ถามว่าในอดีตเคยมีเหตุการณ์เงินเฟียตล่มสลายลงไปแบบสมบูรณ์ บ้างหรือไม่ ?
ในประเทศจีนสมัยที่เป็นราชวงศ์ขึ้นปกครองก็มีการสร้างเงินเฟียตเป็นของตัวเองขึ้นมา ส่วนใหญ่จะเป็นเหรียญโลหะที่มีน้ำหนักเบา พกพาง่าย แต่เนื่องจากว่ามีการเปลี่ยนราชวงศ์อยู่หลายครั้ง นับตั้งแต่จิ๋นซีฮ่องเต้รวมแผ่นดินจีนเป็นหนึ่ง แผ่นดินจีนก็แตกออกแล้วก็รวมเข้าไปอยู่อีกหลายครั้ง และเงินเฟียตที่ผู้มีอำนาจสร้างขึ้นก็ล่มสลายลงไป
ทำให้ประชาชนเริ่มไม่มั่นใจในเงินเฟียตที่ราชวงศ์สร้างขึ้น จึงนิยมเก็บเป็นทองคำกันมากกว่า

ครั้งหนึ่งในสมัยราชวงซ์ซ่ง เคยมีการสร้างเงินเฟียตเป็นของตัวเองในชื่อว่า "เจียวจือ" (jiaozi)
ซึ่งเป็นใบเสร็จรับเงินในการรับฝากทองคำของประชาชนเท่านั้น ผู้คนสามารถถือมันหรือพกพามันไปแลกเปลี่ยนเป็นเงินหรือทองคำที่ไหนก็ได้ แต่หลังจากนั้นด้วยภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และสงครามทำให้ราชวงศ์ต้องสร้างเจียวจือขึ้นมามหาศาลเกินกว่าทองคำที่มีอยู่ในระบบ
สุดท้าย เจียวจือ ก็ล่มสลายลงไม่ว่าจะด้วยตัวของมันเอง หรือการขึ้นมามีอำนาจของจักรวรรดิมองโกลเหนือแผ่นดินจีน
เมื่อจักวรรดิมองโกลปกครองจีน ภายใต้ศักราชใหม่ คือ ราชวงศ์หยวน ก็มีการสร้างเงินเฟียตขึ้นมาใหม่ ในชื่อว่า "เจา" (chao)
เมื่อขุนนางคนสนิทของฮ่องเต้ได้รับอำนาจในการควบคุมเงินตรา เขาจึงพิมพ์เงินออกมาไม่หยุดจนเขากลายเป็นบุคคลที่ร่ำรวย และสกุลเงินเจาก็ไร้ค่าเพราะมันมีอยู่ในระบบมากเกินไป พร้อมกับการล่มสลายของราชวงศ์หยวน

ถามว่าคนที่ถือเงินเจียวจือ หรือ เจา มีจุดจบอย่างไร ?
เมื่อมูลค่าของเงินพังทลายลง ความมั่งคั่งของผู้คนจะหายไปในพริบตา ผู้คนต่างอยู่ในสภาวะยากไร้ ทำให้ชาวไร่ชาวนาจำนวนมากต้องขายตัวไปเป็นทาส
จะเห็นได้ว่าความเสี่ยงสูงที่สุดของเงินเฟียต คือ ถ้ามันถูกผลิตเพิ่มอย่างรวดเร็ว เงินเฟียตก็จะสูญเสียมูลค่าของมันอย่างรวดเร็วด้วยเหมือนกัน

ดังนั้น สิ่งที่ภาครัฐจะทำได้คือ ควบคุมปริมาณเงินในระบบอยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสม
เพราะผู้คนไม่ได้ไว้วางใจในเงินเฟียต แต่ไว้วางใจในทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์เบื้องหลังของมันต่างหาก

ศูนย์รวมความรู้เรื่องหุ้น ศูนย์รวมนักลงทุนรายย่อย ที่อยากรู้วิธีการลงทุนในหุ้นอย่างถูกต้องและได้กำไรอย่างยั่งยืน ติดตามเราได้ที่

www.stock2morrow.com 

FB: stock2morrow 

LINE@stock2morrow

FacebookInstagramYoutubeLine

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง