ถ้าเราบอกว่าตอนนี้ความกังวลเรื่องสภาวะถดถอย หรือ Recession เป็นเรื่องที่น่ากลัวแล้ว ...
สำหรับปีหน้าเราอาจจะได้เห็นสภาวะถดถอยทั่วโลก หรือ Global Recession ที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นในปี 2023
ถามว่าตอนนี้ประเด็นที่ธนาคารกลางทั่วโลกกำลังกังวล คืออะไร ... คำตอบ คือ"เงินเฟ้อ"
และสิ่งที่จะทำให้เงินเฟ้อลดลงได้ คือ ราคาน้ำมันที่ลดง
ซึ่งถ้าเราสังเกตในหลายวันที่ผ่านมาจะเห็นว่า ราคาน้ำมันร่วงแรงจนหลุด 100 เหรียญ แล้ววันถัดไปก็เด้งกลับขึ้นมายืน 100 เหรียญได้อีกครั้ง เรียกได้ว่า เหวี่ยงขึ้นลง ทำให้ต้องลุ้นกันตลอดเวลา
ทำให้นักเศรษฐศาสตร์บางคนมองว่า ถ้า Recession มาจริงเราจะได้เห็นราคาน้ำมันโลกลดลงอย่างรวดเร็ว เข้าสู่จุดสมดุลอีกครั้งระหว่าง Demand และ Supply
เมื่อราคาน้ำมันลดลง .... เงินเฟ้อก็จะเริ่มคลี่คลาย
ธนาคารกลางหลายๆแห่งก็จะมีช่องว่างให้ได้หายใจหายคอขึ้นมาบ้าง
ไม่จำเป็นต้องใช้ยาแรงอย่างการปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว เหมือนอย่างที่นักลงทุนคาดกันไว้
ดังนั้น ถ้าเรามองว่าธนาคารกลางเอาเงินเฟ้อไม่อยู่ ก็ปล่อยให้มันเกิด Recession ไปเลยพร้อมๆกันทั่วโลก
คำว่า "เกิด Recession ไปเลยพร้อมๆกันทั่วโลก" เราเรียกเหตุการณ์นี้ว่า Global Recession
ยอมเจ็บ แต่จบ ...
เงินเฟ้อโลกก็จะลดลงอย่างรวดเร็วกลับสู่ระดับปกติ
ซึ่งจะทำให้ธนาคารกลางทั่วโลก "ทำในสิ่งที่ชอบทำ" คือ การกระตุ้นเศรษฐกิจ (พิมพ์เงิน ลดดอกเบี้ย อัดเงินเข้าระบบ)
จริงๆเรื่องนี้ไม่ใช่แค่นักเศรษฐศาสตร์ที่คิดวิเคราะห์ถึงประเด็นนี้ ...
แม้แต่ประธาน IMF อย่าง นาง Kristalina Georgieva ก็เปิดเผยต่อสำนักข่าวรอยเตอร์ ประเด็นสำคัญๆ เช่น
"ปี 2020 เป็นปีที่ยากลำบากแล้ว แต่ปี 2023 จะลำบากมากยิ่งกว่า..."
หรืออย่าง ...
"เศรษฐกิจในปีหน้าจะค่อนข้างมืดมิดอย่าเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะด้วยเรื่องของเงินเฟ้อ ปัญหาของการเพิ่มดอกเบี้ย จีนเติบโตน้อยลง สงครามรัสเซีย ยูเครน ล้วนแต่เป็นปัจจัยที่ทำให้ชี้ชัดได้ว่า ปี 2023 อาจจะไม่ใช่ปีที่ดีของเศรษฐกิจ ... เราอาจจะเกิด Global Recession ซึ่งทาง IMF จะยังไม่ตัดความเป็นไปได้ออก"
อ่านมาถึงตรงนี้เราอาจจะเกิดคำถามขึ้นมาได้ว่า มีหลักเกณฑ์อะไรบ้างที่ชี้ชัดได้ว่าเราได้เกิด Global Recession เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ?
จากข้อมูลของ IMF ไม่ได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์อย่างแน่ชัดมากนัก เนื่องจากเศรษฐกิจโลกมีหลายตัวแปร เช่น การเกิน/ขาดดุลการค้า การแข็งค่าหรืออ่อนค่าของค่าเงินตราแต่ละประเทศ อัตราแลกเปลี่ยน อัตราเงินเฟ้อของแต่ละประเทศ อัตราการว่างงาน เป็นต้น
แต่นักเศรษฐศาสตร์หลายสำนัก พยายามคิดค้นเครื่องมือที่เรียกว่า Global GDP ขึ้นมาเพื่อเป็นเกณฑ์กำหนดว่าโลกของเราจะเกิด Global Recession หรือไม่
โดยตัวเลข Global GDP จะต้องเติบโตลดลง 2 ไตรมาสติดต่อกัน
โลกของเราได้เกิด Global Recession ขึ้นมาแล้ว 5 ครั้งด้วยกัน คือ ปี 1975, ปี 1982, ปี 1991 และปี 2009
ล่าสุดคือปี 2020 ทาง IMF ได้ประกาศว่าโลกของเราได้เกิด Global Recession เนื่องมาจากโรคระบาด COVID-19 ที่ทำให้เกิดการล็อกดาวน์ทั่วโลก
และทาง IMFยังบอกอีกด้วยว่า วิกฤต COVID-19 ถือเป็นวิกฤตทางเศรษฐกิจที่หลายแรงที่สุดครั้งประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ นับตั้งแต่เกิดวิกฤต Great Depression ในปี 1929
ตอนนี้เราก็ต้องดูกันต่อไปว่าทิศทางของเศรษฐกิจโลกจะไปทางไหน
ไม่ยอมเจ็บ ก็ไม่จบ ... ก็ต้องประคับประคองกันต่อไปจนกว่าราคาน้ำมันโลกจะลดลงสู่ระดับปกติ
หรือจะยอมเจ็บ แต่จบ ... ยอมให้เกิด Recession หรือร้ายแรงสุด คือ Global Recession ให้มันจบๆกันไปเลย
เจ็บสั้น ดีกว่าปวดนาน ...
-----------------------------------------
Reference
cnbc.com
fortune.com
reuters.com
ft.com
investopedia.com
en.wikipedia.org
Dr.KOB, Facebook