สำหรับเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงไปในทาง "ที่ไม่ดี" เท่าไรนัก ...
ถ้าจะให้นิยามภาพลักษณ์ของวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ น่าจะบอกได้อยู่ 2 คำ นั้นคือ
"โตช้า" และ "ซึมยาว"
ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมานี้เศรษฐกิจโลกถูกขับเคลื่อนด้วยหนี้ ...
ทำให้ล่าสุดหนี้ในโลกสูงขึ้นถึงกว่า 270% ของ GDP ทั้งโลก สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะธนาคารกลางทั่วโลกยังสามารถคงดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำ จากการที่เศรษฐกิจโลกไม่มีแรงกดดันด้านเงินเฟ้อตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา
แต่การใช้นโยบายขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อพุ่ง ย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจจากหนี้ที่อยู่ในระดับสูงรวมทั้งเศรษฐกิจไทยที่มีหนี้ในระดับสูงเช่นกัน
บทวิเคราะห์ KKP Research วิเคราะห์ว่า ประเทศไทยกลุ่มที่มีความน่ากังวลมากที่สุด คือ หนี้ในภาคครัวเรือนที่ในปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้นเกิน 90% ของ GDP และสูงเป็นลำดับที่ 11 ของโลก ซึ่งเกิดจากภาคครัวเรือนมีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย โดยเฉพาะครัวเรือนรายได้น้อยที่สุด 20% แรกที่มีรายได้ต่อเดือนเฉลี่ยเพียงประมาณ 10,000 บาท
ในขณะที่ค่าใช้จ่ายต่อเดือนอยู่ที่ 12,000 บาท และครัวเรือนจำเป็นต้องมีการกู้ยืมเงินเพื่อบริโภค ทำให้ไทยมีสัดส่วนหนี้เพื่อการบริโภคระยะสั้นเมื่อเทียบกับหนี้ครัวเรือนทั้งหมดมากกว่า "ประเทศพัฒนาแล้ว" ในขณะที่รายได้ต่อหัวยังอยู่ในระดับต่ำ
... พูดง่ายๆคือ ไทยเป็นประเทศรายได้ต่อหัวยังไม่สูง แต่ครัวเรือนกลับมีหนี้สูงมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก
ไม่เพียงแค่นั้น เพราะเราอาจจะมีผลกระทบหนักกว่าประเทศอื่นๆอีกด้วย
เนื่องจากไทยที่เป็นหนึ่งในประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่งสูงที่สุดในโลกตามรายงานของ Credit Suisse ทำให้ประชาชนไม่มีรายได้เพียงพอมาจ่ายหนี้ และยิ่งดอกเบี้ยสูงขึ้น กลุ่มคนเหล่านี้ก็ต้องลดการบริโภคเพื่อมาจ่ายปนี้แทน กลายเป็นปัญหาเศรษฐกิจต่อไป
และยิ่งได้รับผลกระทบจากเงินเฟ้อ จะกระทบกับคนรายได้น้อยมากกว่าคนที่มีรายได้สูง ส่งผลให้เงินออมลดลง ความสามารถในการจ่ายคืนหนี้ลดลง และจะทำให้ทิศทางหนี้เสียของไทยมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น
KKP Research ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยอาจจะอยุ่ในสภาวะ "ขาลงยาวนาน" จาก 3 ส่วนด้วยกันคือ
- ภาระหนี้ที่จะปรับสูงขึ้นตามทิศทางอัตราดอกเบี้ย เช่น สินเชื่อสำหรับธุรกิจ
- หนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้นจะทำให้การบริโภคเติบโตช้าลง หนี้ที่เพิ่มสูงขึ้นจะเห็นผลกระทบต่อเศรษฐกิจชัดเจนในช่วงหลังจากนั้นประมาณ 3-5 ปี
- การกระตุ้นการบริโภคด้วยหนี้จะถึงทางตัน เพราะคนไทยหนี้สูงอยู่แล้ว การเติบโตด้วยการบริโภคที่ถูกขับเคลื่อนด้วยหนี้จะไม่สามารถโตต่อไปได้
KKP Research ประเมินว่า GDP เริ่มปรับตัวลดลง จะทำให้แรงส่งต่อการบริโภคหายไปประมาณ 1.3% และเศรษฐกิจเติบโตได้ชะลอลงไปประมาณ 0.7% หรือทำให้เศรษฐกิจไทยโตได้ช้าและซึมยาว
-------------------------------------------------
Reference
บทวิเคราะห์ KKP Research