พูดกันบ่อยมาก เดียวเศรษฐกิจจะเกิด "Recession"
อเมริกาจะเกิด "Recession" แล้วนะ เตรียมรับแรงกระแทกให้ดี ?
คำถาม คือ เราจะรู้ได้อย่างไรว่า นี้คือสภาวะ Recession แล้วเป็นที่เรียบร้อย มีข้อบ่งชี้อะไรที่ชัดเจนและพอจะจับต้องได้บ้าง
.
จริงๆเรื่องของ Recession มีปัจจัยอยู่หลายอย่างด้วยกันครับ เช่น
1. จีดีพีติดลบกัน 2 ไตรมาสติดต่อกัน ** อันนี้เป็นสัญญาณที่ชัดเจนมาก
2. อัตราการว่างงาน (Unemployment rate) สูง 8.5%
ตอนนี้อเมริกาอยู่ราวๆ 3.6% ครับ (จากช่วงโควิดราวๆ 5-6% )
3. เกิดขึ้นได้บ่อยตามวงจรเศรษฐกิจ
4. เกิดบ่อยก็จบเร็วเหมือนกันครับ
สาเหตุเป็นเพราะว่าผลกระทบวงจำกัดอยู่ในประเทศ
จะมีเรื่องของการเมือง การเลือกตั้ง กลัวเสียคะแนนในการเลือกตั้งครั้งหน้าจึงพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจบ่อยครั้งไม่ให้ GDP ติดลบติดต่อกัน
เมื่อเราพูดถึง Recession แล้ว มันเป็นเรื่องยากที่จะไม่พูดถึง "ขั้นกว่า" ของ Recession นั้นก็คือ "Depression"
หรือในวงการมักจะเรียกว่า Economic Depressions
ถามว่า Depression แตกต่างจาก Recession ตรงไหนบ้าง ?
ข้อบ่งชี้การเกิด Depression มีหลายข้อเหมือนกัน ได้แก่
1. จีดีพีติดลบต่อเนื่องยาวนานหลายปี
2. อัตราการว่างงานสูงถึง 25% ของประชากรทั้งหมด
3. ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ
4. ถ้าเกิดขึ้นจริงจะกินระยะเวลายาวนาน .... บางทีก็เป็น 10 ปี
5. ผลกระทบขยายเป็นวงกว้าง เกิดขึ้นหลายประเทศ หรืออาจจะเกิดขึ้นทั่วทั้งโลก
ถามว่าในประวัติศาสตร์การเงิน โลกของเราเคยเกิด Depression บ้างไหม ?
คำตอบคือ เคยเกิดครับ ในช่วงปี 1930 เราเรียกว่า...
ภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ (The Great Depression) มีสาเหตุมาจาก
1. เกิดเหตุการณ์ล่มสลลายของตลาดวอลสตรีทในเดือนตุลาคมปี 1929
2. เหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2
ซึ่งหลังการเกิดสภาวะนี้แล้ว กินระยะเวลายาวนานราวๆ 10 ปี เศรษฐกิจจึงเริ่มกลับมาได้อีกครั้ง
อนึ่ง ในช่วงโควิด สื่อเศรษฐกิจตะวันตกหลายสื่อต่างก็คาดกันว่าโลกของเราอาจจะเจอกับ The Great Depression อีกครั้งจากการปิดประเทศ ปิดเมือง เศรษฐกิจหยุดชะงักและจะทำให้จีดีพีติดลบต่อเนื่องไปอีกหลายปี (เพราะไม่รู้ว่าจะระบาดไปนานแค่ไหน)
สุดท้าย ด้วยการพิมพ์เงินอัดเข้าไปในระบบของธนาคารกลางสหรัฐอย่างมหาศาล เราก็สามารถรอดพ้นกับสภาวะ The Great Depression ได้
แต่ใครจะไปนึกว่าเราจะได้เจอกับสภาวะเงินเฟ้อพุ่งแบบมหาศาล เข้ามาแทน