จากข่าวเมื่อคืนที่ผ่านมาดูเหมือนว่าจะเป็นไปอย่างที่ตลาดคาด ....
เฟดปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ตามคาด โดยมีสาระสำคัญที่อยากจะเล่าให้ฟังแบบนี้ครับ
- การขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ให้มาอยู่ในกรอบ 1.50%-1.75%
- การขึ้นดอกเบี้ยครั้งนี้ถือเป็นการขึ้นดอกเบี้ยสูงที่สุดในรอบ 30 ปี นับตั้งแต่ปี 1994
- เฟดส่งสัญญาณว่าอาจจะขึ้นดอกเบี้ยไปแตะระดับ 3.5% เท่ากับว่าต้องปรับเพิ่มอีก +1.75% ภายในสิ้นปีนี้ เป็นการบ่งบอกว่าเฟดต้องการสกัดเงินเฟ้อระดับ "จริงจัง"
- ตลาดคาดเป็นที่แน่ชัดแล้วว่า การประชุมครั้งหน้า อาจจะปรับเพิ่มอีกราวๆ 0.5-0.75%
- การปรับขึ้นเงินเฟ้อ อาจจะส่งผลต่ออัตราการว่างง่ายเพิ่มขึ้นซึ่งอาจจะส่งผลลบต่อเศรษฐกิจสหรัฐด้วยเหมือนกัน
- เฟดมั่นใจว่าอเมริกาจะไม่เกิด Recession
- เฟดปรับ GDP Growth อเมริกาเหลือราวๆ 1.7% จากเดิมที่มองไว้ 2.8%
ถามว่าประเด็นสำคัญที่ทำให้ตลาดหุ้นกลับมาบวกได้คืออะไร ?
คำตอบคือ การที่เฟดแสดงความมั่นใจว่าอเมริกาจะไม่เกิด "Recession"
แต่ก็ต้องแลกมาด้วยอะไรหลายอย่าง เช่น ต้นทุนของภาคธุรกิจที่เพิ่มขึ้น อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น เศรษฐกิจของประเทศเติบโตลดลง
ดูเหมือนจะมีแต่ประเด็นร้ายๆ ...
แต่ถ้าถามว่าพอจะมีประเด็นในเชิงบวกบ้างหรือไม่กับการขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ก็ต้องบอกว่า "มี" โดยจะส่งผลต่อการเก็งกำไรราคาน้ำมันลดลง
ฝ่ายวิจัยเอเชียพลัส วิเคราะห์ว่า การขึ้นดอกเบี้ยจะส่งผลให้ราคาน้ำมัน WTI เริ่มย่อตัวลงมาบ้างแล้ว เนื่องจากเทรดเดอร์ และนักลงทุนสถาบันจะเริ่มขนย้ายเม็ดเงินจากสินทรัพย์เสี่ยงกลับไปยังสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยมากขึ้น
โดยจะเห็นว่าราคาน้ำมันในช่วง 1 สัปดาห์มานี้ปรับตัวลดลงแล้วราวๆ 5% บวกกับดอลล่าร์มีโอกาสแข็งค่ามากขึ้น เป็นสัญญาณชัดเจนว่านักลงทุนสถาบันเริ่มเทขายสินทรัพย์เพื่อการเก็งกำไร ไปยังสินทรัพย์ปลอดภัย
ทั้งนี้ สิ่งที่น่ากังวลต่อไปในอนาคต คือ การประชุมของเฟดครั้งหน้า ... ?
ซึ่งแน่ชัดแล้วว่าอาจจะมีการขึ้นดอกเบี้ย แต่จะขึ้นเท่าไรเป็นประเด็นสำคัญ เพราะการเร่งขึ้นดอกเบี้ยมากเกินไปก็อาจจะส่งผลเสียได้เหมือนกัน
บล.กสิกรไทย วิเคราะห์ว่ากรณีเลวร้ายสุด คือ ประธานเฟดส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยระดับ 0.75% ติดต่อกัน 5 ครั้งในการประชุมเฟดที่เหลือของปี
ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้นจริงตลาดหุ้นทั่วโลกอาจจะถูกเทขายอย่างหนักจากสภาวะตกใจ ...
ต้องยอมรับจริงๆว่าตัวเลือกในการแก้ไขเงินเฟ้อมีไม่มาก
และแต่ละทางที่เลือกก็ส่งผลกระทบให้ "เจ็บทุกทาง"
------------------------------------------------
Reference
กรุงเทพธุรกิจ
ไทยรัฐออนไลน์
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
บทวิเคราะห์หลักทรัพย์เอเชียพลัส