เมื่อไม่นานมานี้ทาง KBANK ได้ประกาศข่าวเรื่องของการเข้าลงทุนใน ธนาคารแมสเปี้ยน หรือ BMAS ในประเทศอินโดนีเซีย
โดยสาระสำคัญของดีลนี้ คือ
1. ทาง KBANK จะเข้าถือหุ้น 67.5% ใน BMAS
... ตอนแรก KBANK ได้เข้าไปถือหุ้นใน BMAS แล้ว 9.99%
... ต่อมา ได้เข้าซื้อเพิ่มอีก 30.01% รวมถือหุ้นใน BMAS ทั้งหมด 40%
... ต่อไป คือ การเข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนเพื่อเพิ่มสัดส่วนการถือเป็น 67.5% ใน BMAS
2. ทาง KBANK ใช้เงินไปกว่า 220 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบเท่าเป็นเงินไทยประมาณ 7,556 ล้านบาท
3. ธุรกรรมนี้จะแล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2565
ประเด็นที่นักลงทุนสงสัยคือ ดีลนี้คุ้มค่ามากแค่ไหนสำหรับ KBANK ?
... ขนาดของดีลนี้อยู่ที่ 7,556 ล้านบาท คิดเป็น 0.2% ของสินทรัพย์ทั้งหมดของ KBANK และขนาดของสินทรัพย์ใน BMAS จะอยู่ที่ 3.3 หมื่นล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 1%
ถ้าเรามองดูที่กำไรของ BMAS ที่ทำได้ในปี 2564 จะอยู่ที่ 179 ล้านบาท คิดเป็น 0.4% ของกำไรสุทธิใน KBANK
มองดูทั้งขนาดสินทรัพย์และกำไร ต้องยอมรับว่ามีขนาดเล็กกว่า KBANK ของไทยอยู่มาก
แต่ถ้ามองดูจากตัวเลขไม่ว่าจะเป็น P/E Ratio หรือ P/BV ถือว่าไม่ถูก
- ค่า P/E ของ BMAS จะอยู่ราวๆ 96 เท่า
- ค่า P/Bv ของ BMAS อยู่ที่ 5.5 เท่า
อย่างไรก็ดี การใช้เงินไป 7.5 พันล้านบาทเพื่อเข้าลงทุนใน BMAS ถือว่าคุ้มค่า และใช้เงินต่ำกว่าการขอใบอนุญาตประกอบกิจการธนาคารในอินโดนีเซีย ที่ต้องมีทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ 10 ล้านล้านรูเปีย หรือราวๆ 690 ล้านเหรียญสหรัฐ
บทวิเคราะห์หลักทรัพย์เอเชียพลัส มองว่า การเข้าลงทุนครั้งนี้คุ้มค่า ซึ่ง KBANK จะได้ประโยชน์ที่เห็นได้ชัด คือ
1. เป็นการเข้าไปเปิดตลาดใหม่ในอินโดนีเซีย ภายใต้การบริหารและนโยบายสินเชื่อเป็นไปในทิศทางเดียวกับ KBANK
2. การใช้ Platform Digital ของ KBANK ไปช่วยให้ BMAS เติบโตในอินโดนีเซีย
3. ช่วย Support ลูกค้าไทยที่มีธุรกรรมในประเทศอินโดนีเซีย
สอดคล้องกับความเห็นของบทวิเคราะห์หลักทรัพย์ฟินันเซีย ที่มองว่าในระยะสั้นไม่ได้สร้างผลกระทบอะไรต่อผลประกอบการของ KBANK มากนัก
แต่ในระยะยาวแล้ว BMAS มีการเติบโตที่ดีมากในอินโดนีเซีย ทั้งตัวบริษัทเอง และการเติบโตของประเทศที่อยู่ในเกณฑ์ดีมาก
บทวิเคราะห์เชื่อว่าผลประกอบการของ KBANK จะยังเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ...
ข้อควรรู้เพิ่มเติม
- ก่อนหน้านี้ BBL ได้เข้าไปลงทุนใน Permata โดยถือหุ้นอยู่ 98.7% ใช้งบไปกว่า 9 หมื่นล้านบาท
- อินโดนีเซีย ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับสูง
โดยทาง IMF คาดการณ์ว่า ในปี 2565-2568 ประเทศอินโดนีเซียจะมีการขยายตัวทาง GDP อยู่ราวๆ 5.7% ซึ่งถ้าเทียบกับประเทศไทยเฉลี่ยอยู่ที่ 3.7% ต่อปี ถือว่าตลาดในอินโดนีเซียมีโอกาสอยู่มาก
-------------------------------------
Reference
THE STANDARD WEALTH
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
บทวิเคราะห์หลักทรัพย์เอเชียพลัส
บทวิเคราะห์หลักทรัพย์ฟินันเซีย