เป็นเรื่องไม่ง่ายเลยที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคจากใช้เงินกระดาษใช้จ่าย หรือโอนเงินผ่านสมาร์ทโฟนที่มีความรวดเร็ว
เปลี่ยนมาใช้สกุลเงินดิจิทัล อย่าง Bitcoin
ล่าสุด ประเทศเอลซัลวาดอร์ ภายใต้การนำของประธานาธิบดีนายิบ บูเคเล่ ที่มีความจริงจังในการนำ Bitcoin ไปใช้เป็นสกุลเงินหลักของประเทศแทนที่สกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐ (ข้อมูลจาก Wikipedia) ดูเหมือนจะไม่ประสบความสำเร็จในการพยายามผลักดันให้ Bitcoin เป็นสกุลเงินหลัก
จากงานวิจัยเรื่อง ARE CRYPTOCURRENCIES CURRENCIES? BITCOIN AS LEGAL TENDER IN EL SALVADOR ของ www.nber.org
แสดงความคิดเห็นว่า ประเทศกำลัง "ล้มเหลว" จากการนำ Bitcoin ไปใช้ โดยสาเหตุสำคัญอยู่ที่ "ความเชื่อใจ" ...
ซึ่งระบบนิเวศต่างๆที่ภาครัฐพยายามจัดเตรียมให้ (เช่นกระเป๋าเงินดิจิทัล Chivo)ไม่น่าไว้วางใจ รวมถึงตัวของ Bitcoin เองก็ไม่ได้รับความเชื่อถือจากประชาชนมากสักเท่าไรนัก
และสาระสำคัญของงานวิจัย ที่พอจะสรุปได้ อยากจะเล่าสู่กันฟังแบบนี้ครับ
1. คนที่ดาวโหลดกระเป๋าเงิน Chivo มีจุดประสงค์เพื่อรับเงินโบนัส 30 ดอลล่าร์ที่รัฐบาลแจกเพื่อหวังกระตุ้นให้คนเข้าไปใช้งาน หลังจากนั้นกว่า 60% ก็ลบแอปทิ้งหรือไม่ได้เข้าไปใช้งานอีกเลย
2. ชาวเอลซัลวาดอร์กว่า 89% ไม่เคยโอนรับหรือโอน Bitcoin ผ่านแอป Chivo
3. ชาวเอลซัลวาดอร์ 99% ไม่เคยจ่ายภาษีด้วย Bitcoin
4. บริษัทและร้านค้าท้องถิ่น มีเพียง 20% เท่านั้นที่รับ Bitcoin คิดเป็นธุรกรรมราวๆ 5% ของทั้งหมดที่มี Bitcoin เป็นตัวกลาง แต่ก็เป็นเพียงการแปลงค่าเงินจาก Bitcoin มาเป็นดอลล่าร์สหรัฐแล้ว
5. ยังมีประชากรอีกราวๆครึ่งหนึ่งที่ไม่ได้โหลดแอป Chivo แม้ว่าพวกเขาจะมีสมาร์ทโฟนและเข้าถึงอินเตอร์เน็ตก็ตาม
6. ชาวเอลซัลวาดอร์ส่วนใหญ่ไม่เคยใช้ตู้ Chivo ATM ที่ติดตั้งทั่วประเทศ ขณะที่ตู้ ATM ธรรมดา การใช้เงินสด บัตรเครดิตต่างๆแทบไม่ได้เปลี่ยนแปลง เพราะผู้ใช้ส่วนใหญ่มองว่าตัวเองมีแอป Chivo อยู่แล้ว ตู้ Chivo ATM เลยไม่ได้มีความจำเป็น
อย่างไรก็ตาม ในรายงานยังระบุอีกว่างานวิจัยครั้งนี้ ประเทศเอลซัลวาดอร์ยังมีเวลาที่ "สั้นเกินไป" ในการพยายามเปลี่ยนประเทศไปสู่การเป็น Bitcoin City ซึ่งถ้านับระยะเวลาคร่าวๆจะอยู่ที่ราวๆ 6 เดือนเท่านั้น จำเป็นที่จะต้องให้ระยะเวลาที่มากกว่านี้ ไม่แน่ว่าสถานการณ์การใช้ Bitcoin อาจจะได้รับความนิยมขึ้นมาก็เป็นได้
อนึ่ง Al Jazeera รายงานว่า ประธานาธิบดีนายิบ บูเคเล่ มีความพยายามอย่างมากจะสร้างบรรยากาศเมืองแห่ง Bitcoin ไม่ว่าจะเป็นการออกกฏหมาย การสร้างตุ้ ATM สำหรับ Bitcoin และพยายามให้ร้านค้าท้องถิ่นหันมารับ Bitcoin แทนเงินกระดาษของประเทศ
แต่สิ่งที่น่ากังวล คือ หนี้สินของประเทศที่สูงกว่า 50% ของ GDP ทำให้ประเทศเล็กๆแห่งนี้พยายามขอกู้เงินจาก IMF มากถึง 1.3 พันล้านเหรียญ
แต่ทาง IMF ตอบปฏิเสธเพราะรู้สึกไม่สบายใจที่เอลซัลวาดอร์ไม่พยายามจะหาเงินเข้าประเทศ แต่กลับจะนำประเทศไปสู่การเป็น Bitcoin City แทน
------------------------------------
Reference