เมื่อวานนี้ ก.ล.ต. ห้ามผู้ประกอบการธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลทุกประเภท เช่น Exchange ภายใต้ ก.ล.ต. อย่าง Bitkub, Satang Pro, Zipmex เป็นต้น รับชำระสินค้าและบริการด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล เริ่มตั้งแต่ 1 เมษายน 2565 นี้เป็นต้นไป
... จากประกาศนี้ อาจจะสร้าง Sentiment เชิงลบกับหุ้นที่เคยนประกาศว่าจะรับชำระด้วยสินทรัพย์ Digital แต่ถ้าเรามองในอีกแง่หนึ่งอาจจะไม่ได้กระทบกับพื้นฐานของธุรกิจมากนัก
เนื่องด้วยว่าการใช้จ่ายเงินลักษณะนี้ จะเน้นกลุ่มลูกค้า GenY มากกว่า ซึ่งไม่ได้ส่งผลต่อยอดขายอะไรมากนัก
อีกทั้ง คนกลุ่มนี้สามารถเปลี่ยน Digital Asset มาเป็น Fiat Currency ในการชำระสินค้าได้อยู่แล้ว
แต่หลังจากนั้นไม่นาน ทางแบงก์ชาติ ก็ได้ออกร่างแนวทางการกำกับดูแลกลุ่มธุรกิจการเงินของธนาคารพาณิชย์เกี่ยวกับธุรกิจดิจิทัล โดยมี 2 ประเด็น แบบนี้ครับ
1. ยกเลิกเพดานการลงทุนในธุรกิจ FinTech
แต่เดิมแบงก์ชาติบอกว่า กลุ่มแบงก์สามารถลงทุนในบริษัท FinTech ได้ไม่เกิน 3% ของเงินกองทุน
ล่าสุด แบงก์สามารถเพิ่มการลงทุนได้มากขึ้น
บทวิเคราะห์หลักทรัพย์เอเชียพลัส มองว่า SCB และ KBANK น่าจะเป็นแบงก์ที่ได้รับผลประโยชน์จากประเด็นนี้มากที่สุด
2. ให้บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน สามารถลงทุนในกิจการที่ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Digital Asset ได้
แต่ยังห้ามแบงก์ประกอบธุรกิจ Digital Asset โดยตรง
ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้เพดาน 3% ของเงินกองทุน ส่วนที่เกินให้นำมาหักออกจากเงินกองทุน โดยจุดประสงค์หลักเพื่อให้การเติบโตเป็นแบบ "ค่อยเป็นค่อยไป"
หากในอนาคตธุรกิจ Digital Asset มีมาตรฐานมากขึ้น ทางแบงก์ชาติก็พร้อมปรับเพิ่มได้เหมือนกัน
บทวิเคราะห์หลักทรัพย์เอเชียพลัส มองว่าแบงก์ของไทยส่วนใหญ่ไม่ได้มีการลงทุนใน Digital Asset มากนัก ยกเว้น SCB ที่อยู่ในดีลระหว่างการเข้าซื้อหุ้น 51% ใน Bitkub มูลค่ากว่า 1.8 หมื่นล้านบาท
ซึ่งเงินกองทุนของ SCB อยู่ที่ 4.2 แสนล้านบาท จึงสามารถลงทุนในธุรกิจ Digital Asset ได้ไม่เกิน 1.3 หมื่นล้านบาท
ทำให้ดีลนี้เป็นที่น่าติดตามว่าทาง SCB จะทำอย่างไรกันต่อไป
ก็ถือเป็นประเด็นที่น่าติดตามกันต่อไป โดยเฉพาะผู้ถือหุ้น SCB ที่ต้องติดตามประเด็นนี้อย่างใกล้ชิดครับ
----------------------------------------
ขอบคุณแหล่งข้อมูล
บทวิเคราะห์หลักทรัพย์เอเชียพลัส