#แนวคิดด้านการลงทุน

ตลาดชำระเงินผ่านมือถือในจีน เติบโตมากกว่า 50%

โดย ธีรัตม์ กฤตยาภัทร
เผยแพร่:
88 views

ในปี 2014 ตลาดการชำระเงินผ่านสมาร์ทโฟนมีมูลค่าสูงถึง US$0.94 trillion โดยคาดว่าสิ้นปี 2015 จะมีมูลค่าสูงถึง US$1.41 trillion หรือเติบโตมากกว่า 50% (CIW2015) โดยใน Q2/2015 มีมูลค่า US$0.54 trillion (จาก Internet & Consulting firm analysis)

ผู้ประกาศข่าวของ WSJ ทดลองใช้ชีวิต 1 วันใน Shenzhen ด้วยมือถือเครื่องเดียวไร้เงินสดติดตัว เพื่อทดสอบว่า การใช้มือถือชำระค่าบริการต่างๆในเมืองจีนพัฒนาไปถึงไหนแล้ว สิ่งที่พบคือ...

- การซื้อของอุปโภคบริโภค (Grocery Shopping) ร้านค้าสะดวกซื้อ อาทิ Walmart, Carrefour, 7-11 มากกว่า 40,000 ร้าน และพวกร้านขายขนมข้างทาง ชานมไข่มุก โรตี และอีกมากมายที่รับจ่ายเงินด้วย Alipay, WeChat ซึ่งถือว่าเป็น China's two largest mobile payment system

- การท่องเที่ยว (Sight-Seeing) การต่อคิวซื้อตั๋วเที่ยวสวนสนุก ในประเทศที่มีประชากร 1.3 พันล้านคน อาจเป็นเรื่องยากลำบากยิ่งยวด เมื่อเห็นดังนั้น Alipay เปิดให้มีการซื้อตั๋วผ่านมือถือ โดยเมื่อไปถึงสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆสามารถใช้มือถือแสกนผ่านเข้าไปได้เลย ซึ่งใช้ได้แล้วกว่า 100 เมืองในจีน

- การเรียกแท็กซี่ (Hailing a cab) Didi Kuaidi เป็นผู้เล่นหลักใน Taxi App (Didi Dache + Kuaidi Dache เพิ่งควบรวม Feb 2015 ที่ผ่านมา และเพิ่ง fundraising ไป US$3B เมื่อ Sep 2015 ซึ่งมีผู้กล่าวขวัญว่ามูลค่าที่แท้จริงอาจสูงถึง US$16.5B) คล้ายกับ Uber ที่ผู้โดยสารสามารถจ่ายตังค์ในแอพได้เลยโดยได้รับการสนับสนุนจากทั้ง Tencent และ Alibaba ให้จ่ายผ่าน WeChat และ Alipay

- กินข้าว (Dining) แอพมือถือ DianPing (เจ้าของคือTencent HKG: 0700) คล้ายกับแอพมือถือ Yelp (NYSE:YELP) แต่ทำได้มากกว่าการเป็นแหล่งรวมรีวิวร้านอาหาร ด้วยการมีโปรโมชั่นและคูปอง ที่สำคัญให้ลูกค้าสามารถจ่ายเงินผ่านแอพโดยตรงได้เลยแถมมีส่วนลดให้อีกตังหาก ซึ่งทั้ง Alibaba และ Tencent ต่างโปรโมทและจูงใจผู้คนในเมืองใหญ่ๆของจีนจ่ายผ่านมือถือถือเป็นกลยุทธเพิ่มส่วนแบ่งการตลาด ด้วยการให้ส่วนลดที่มากกว่า (ดึงผู้เล่น major fast food chain อาทิ KFC, McDonald's)

- ดูหนัง (Watching Movie) เกือบทุกแอพมือถือในจีน เมื่อเลือกหนัง วันเวลา ที่นั่งเสร็จแล้วสามารถจ่ายผ่านแอพ WeChat, Alipay ได้เลย นอกจากนี้จะซื้อ Popcorn หรือน้ำดื่มหน้าโรงหนัง ก็สามารถเลือกจ่ายผ่านแอพมือถือได้เช่นกัน โดยส่วนใหญ่แล้วจะถูกกว่าใช้เงินสดจ่ายเสียอีก

จะเห็นได้ว่า Chinese Tech Companies ได้พยายามทำให้การชำระเงินผ่านมือแทรกซึมเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตของผู้คนในจีนไปแล้ว การเข้ามาของ Apple Pay ในปีหน้าฟ้าใส Feb 2016 จะกระเทือนส่วนแบ่งการตลาดปัจจุบัน Alipay (79.9%), Tenpay (8.9%), Lakala (6.5%), others (4.7%) as of Oct 2015 มากน้อยแค่ไหนคงต้องคอยติดตามต่อไป...

น่าจับตามองไม่น้อยว่า วงการ mobile payment ในไทยเอง อาทิ Paypal, Line, SiamPay, Paysbuy จะพัฒนาไปในทิศทางใดต่อไปนับจากนี้...

ขอบคุณข้อมูล: http://www.wsj.com/…/82324CF7-42C8-4DA0-A04A-CD5E35548B6E.h… 
Wallstreet Journel, China Marketing Tips.com, China Internet Watch, CNBC, Nasdaq, Bloomberg

บทความโดย: บูม MoneyCrown / FB: MoneyCrown

 


ผู้ก่อตั้งแฟนเพจ MoneyCrown ที่เน้นสาระความรู้และการวิเคราะห์บริษัทจากปัจจัยพื้นฐาน โดยเน้นหุ้นเติบโต (growth stock) ที่ราคาสมเหตุสมผล มีเงินปันผลสูง และเติบโตต่อเนื่อง

ประสบการณ์การทำงานเป็นที่ปรึกษาด้านการจัดการ (Management Consulting) ที่ประเทศไทย ประเทศอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา

ประวัติการศึกษา:

- ปริญญาตรี: คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

- ปริญญาโท: MS in Management, Cass Business School, London

- ปริญญาโท: MS in Management Science & Engineering, Columbia University in the City of New York

นอกเหนือจากความสนใจหาหุ้นที่น่าสนใจโดยอาศัยวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานแล้ว ยังสนใจการลงทุนในต่างประเทศเป็นพิเศษ โดยเฉพาะตลาดจีน ตลาดอเมริกา เทคโนโลยีใหม่ๆ รวมถึงเรื่องราวของ tech startup ที่อเมริกาอีกด้วย

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง