ในช่วงที่เงินเฟ้อกำลังเพิ่มขึ้นอย่างมากในประเทศไทยโดยดูจากราคาเนื้อสัตว์ที่อยู่ในท้องตลาดก็พอจะเดาได้ว่า ปีนี้น่าจะเป็นอีกปีที่หนักแน่นอนของผู้บริโภค
แต่ในนั้นก็มีข่าวดี คือ "มาม่า" ไม่ได้ขึ้นราคา ยังช่วยลดค่าใช้จ่าย ลดค่าครองชีพของผู้บริโภคลงได้
ทำให้ต้องกลับไปดูราคาหุ้นมาม่า หรือ TFMAMA บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ว่าที่ผ่านมาเป็นอย่างไรบ้าง
พอเปิดราคาหุ้นย้อนหลังดูก็รู้สึกแปลกใจเป็นอย่างมาก เพราะราคาหุ้นได้ทำ New High ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วที่ราคา 213 บาท
เท่าที่ทราบ TFMAMA เจอกับการเปลี่ยนแปลงอยู่หลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็น
1. การเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค ที่นิยมทำอาหารกินเองมากขึ้นช่วงโควิด
2. คู่แข่งมหาศาลที่เข้ามาในตลาด ไม่ใช่แค่ของไทยอย่างเดียว ยังมีการนำเข้าจากต่างประเทศไม่ว่าจะมาจากอินโดนีเซีย จีน หรือแม้แต่ของเกาหลีก็มีให้เห็น
ราคาหุ้น TFMAMA
พอไปดูผลประกอบการของบริษัทก็ต้องแปลกใจเป็นครั้งที่ 2 เพราะบริษัทยังรักษาคุณภาพได้ดีอย่างต่อเนื่อง
ปี 2561 บริษัทมีรายได้ 22.8 พันล้านล้าน กำไรสุทธิ 3.4 พันล้านบาท
ปี 2562 บริษัทมีรายได้ 24.5 พันล้านล้าน กำไรสุทธิ 3.9 พันล้านบาท
ปี 2563 บริษัทมีรายได้ 23.8 พันล้านล้าน กำไรสุทธิ 4.1 พันล้านบาท
.
ปี 2564 ผลประกอบการ 9 เดือน บริษัทมีรายได้ 18.4 พันล้านบาท และกำไรสุทธิ 2.7 พันล้านบาท
เท่ากับว่าบริษัทรักษาอัตรากำไรสุทธิได้ราวๆ 20-22% ถือว่าสูงมาก
อัตราส่วน P/E อยู่ราวๆ 15-19 เท่า P/BV ราวๆ 2.5 เท่า และปันผลระดับ 2.3%
ถือว่าไม่ได้แพงอะไรมากเลย ณ ระดับราคาหุ้นที่ไต่ New High ไปเรียบร้อยแล้ว ...
แต่เดิม TFMAMA มาจากการควบรวม 2 บริษัท คือ TF หรือ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จากัด (มหาชน) ผู้ผลิตมาม่า และขนมปังกรอบภายใต้แบรนด์ "บิสชิน" และ "โฮมมี่"
และ PR บริษัท เพรซิเดนท์ไรซ์โปรดักส์ จากัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจผลิตอาหารกึ่งสาเร็จรูป ประเภทเส้นหมี่ เส้นเล็ก เส้นใหญ่ ก๋วยจั๊บ กึ่งสาเร็จรูป โจ๊กข้าวต้ม ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มาจากข้าวเป็นหลัก รวมถึงวุ้นเส้นกึ่งสาเร็จรูป
ดังนั้น เมื่อรวมทั้ง 2 บริษัทเข้าด้วยกันกลายมาเป็น TFMAMA ผู้ประกอบธุรกิจผลิตและจาหน่ายผลิตภัณฑ์อาหาร โดยเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทบะหมี่กึ่งสาเร็จรูปที่ทา
จากข้าว และอาหารกึ่งสาเร็จรูป ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ ขนมปังกรอบ น้ำผลไม้ และ บรรจุภัณฑ์ ซึ่งจาหน่ายทั้งในประเทศและส่งออกไปต่างประเทศ โดยมีสัดส่วนรายได้ ออกเป็น 5 ส่วนหลักด้วยกันคือ
1. บะหมี่กึ่งสาเร็จรูปและอาหารกึ่งสาเร็จรูป (Instant Food) คิดเป็น 53% ซึ่งรายได้ส่วนใหญ่มาจากแบรนด์มาม่า
2. เบเกอรี่ คิดเป็นสัดส่วน 33%
3. ขนมปังกรอบ 4%
4. น้ำผลไม้ 4%
5. ธุรกิจบรรจุภันฑ์ (Packaging) 4%
โดยสัดส่วนกว่า 80% มาจากธูรกิจในประเทศ
และสัดส่วน 20% มาจากการส่งขายไปต่างประเทศ
ผลิตภัณฑ์ของ TFMAMA
ที่น่าสนใจ คือ TFMAMA ยังถือหุ้นใหญ่ใน PB หรือบริษัท เพรซิเดนท์ เบเกอรี่ จำกัด (มหาชน) เจ้าของแบรนด์ขนมปัง "ฟาร์มเฮาส์" ที่ทำตลาดมานาน และผู้บริโภคน่าจะรู้จักเป็นอย่างดี โดยถือหุ้นอยู่ 52%
เมื่อลองวิเคราะห์จุดแข็ง และจุดอ่อน ของบริษัท มีอะไรที่น่าสนใจบ้าง
... อยากจะเล่าให้ฟังแบบนี้ครับ
== จุดแข็ง ==
1. บริษัททำตลาดมายาวนาน มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 1
2. รายได้เติบโตต่อเนื่องแบบค่อยเป็นค่อยไป เป็นสินค้าที่ผู้บริโภคสามารถกลับมากินซ้ำได้เรื่อยๆ ทนทานต่อสภาวะเศรษฐกิจไม่ว่าจะดีก็กินได้ หรือแย่ก็สามารถช่วยประหยัดได้
3. มีผลิตภันฑ์ที่หลากหลาย กระจายในหลายกลุ่มตั้งแต่ระดับกลาง ไปจนถึงระดับพรีเมี่ยม
4. ที่สำคัญ บริษัทมีฐานะทางการเงินแข็งแกร่ง หนี้สินน้อย ราวๆ 0.15 เท่า ถือว่าน้อยมากๆ
== จุดอ่อน ==
1. ปัญหาอย่างหนึ่งที่แก้ได้ยาก คือ สภาพคล่อง เพราะหุ้น TFMAMA ซื้อขายกันน้อยมาก มีสภาพคล่องต่ำ วันหนึ่งซื้อขายกันหลัก 500 หุ้น ทำให้ยากแก่การที่นักลงทุนสถาบันจะเข้ามาถือหุ้นจำนวนเยอะๆ
2. บริษัทมีดีลกับ สหพัฒนพิบูล มาก กล่าวคือรายได้ส่วนใหญ่มาจากการขายให้กับสหพัฒนพิบูล
โดยเป็นผู้จัดจาหน่ายสินค้าให้กับทางบริษัท
3. ธุรกิจเบเกอรี่ เอง ก็พึ่งพา CPALL มากเกินไป โดยคิดเป็นสัดส่วนกว่า 40% ของรายได้จากธุรกิจเบเกอรี่
4. ตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนมปัง เบเกอรี่มีการแข่งขันที่สูงมาก ไม่ว่าจะทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผู้บริโภคมีตัวเลือกใหม่ๆแทบจะทุกวัน
เมื่อลองมองดูหุ้น TFMAMA แล้วถือว่าน่าสนใจไม่น้อยทั้งข้อดีในเรื่องของแบรนด์ที่แข็งแกร่ง และฐานะทางการเงินที่ดี แต่เมื่อพิจารณาจุดอ่อนก็คือ สภาพคล่องที่น้อยมากๆ และการแข่งขันที่สูง
นักลงทุนก็อาจจะต้องเลือกดูว่า เราจะเก็บหุ้นตัวนี้ไว้ทำการบ้านต่อกันดีไหม เพราะหุ้นทุกตัวมีโอกาสก็มีความเสี่ยงด้วยในเวลาเดียวกัน