เมื่อมองย้อนกลับไป ปี 2563 ถือเป็นปีแห่งการ "จุดเริ่มต้น" ของการระบาด COVID-19
มนุษย์ยังไม่รู้วิธีการจัดการกับมัน ค้นหาวัคซีน
การจัดการสิ่งต่างๆรอบตัว ...
เกิด New Normal ใหม่ๆมากมาย ถือเป็นโอกาสของเศรษฐกิจดิจิทัลที่เร็วกว่าที่คาดกันเอาไว้
ในปี 2564 คือ ปีแห่งการ "อยู่ร่วมกัน"
มนุษย์เริ่มค้นพบวัคซีน เริ่มมีการฉีดวัคซีนมากขึ้น เหมือนว่าจะอยู่ร่วมกับมันได้
แต่โรคโควิดก็เกิดการกลายพันธุ์สายพันธุ์ใหม่ๆ มนุษย์ก็มีความก้าวหน้า พยายามพัฒนาวัคซีน ยากินเพื่อควบคุม
อยู่ร่วมกันกับมันให้ได้ ถือเป็นปีที่ผ่านพ้น "จุดต่ำสุด" ไปแล้วในแง่ของเศรษฐกิจ
สำหรับภาพของปี 2565 คาดว่าจะเป็นปีแห่งการ "กลับสู่สภาวะปกติ" ...
แต่การบอกว่า "ภาวะปกติ" มันก็ไม่ได้ปกติซะทีเดียว ยังมีเรื่องต่างๆที่นักลงทุนต้องจับตาอีกมาก
ฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ แสดงมุมมองว่าธีมเศรษฐกิจในไตรมาส 4 ปีนี้จนถึงปี 2565 คือธีม Rebound Reflation และ Resurgence หมายความว่าหลายๆประเทศจะกลับมาฟื้นตัวได้ แต่ก็จะมาพร้อมกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นเช่นเดียวกัน
>>> ประเทศที่พัฒนาแล้ว (Developed Market) อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะเริ่ม "ชะลอตัว"
>>> ประเทศตลาดเกิมใหม่ (Emerging Market) อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ "ฟื้นตัวดี"
... จากการศึกษา พบว่า 34 ประเทศจาก 43 ประเทศพบว่าอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มเร่งตัวขึ้น
แต่ปัญหาที่จะทำให้ภาพเปลี่ยน คือ การกลายพันธุ์ของ COVID สายพันธุ์ใหม่ โดยเฉพาะ "Omicron" ที่กำลังกังวลกันอยู่ในปัจจุบัน ถ้ามีการระบาดรุนแรง การฟื้นตัวก็จะไม่ได้เป็นไปอย่างที่คาดกันเอาไว้
ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยยังได้ฉายภาพไปยังอนาคตด้วยว่า 3 สิ่งสมมุติฐาน และ 5 ความคาดหวัง ... มีอะไรบ้างไปดูกันครับ
สิ่งสมมุติฐาน 3 สิ่ง ประกอบไปด้วย
1. โควิด-19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่น เนื่องมาจากการฉีดวัคซีนที่มากขึ้น
2. อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทั่วโลกจะฟื้นตัว 60-90% คนอยากจะท่องเที่ยว
3. ปัญหาคอขวดด้านอุปทานจะคลี่คลายลง
ความคาดหวัง 5 ข้อ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ประกอบไปด้วย
1. เราคาดว่าเศรษฐกิจโลกปี 2022 จะกลับมาเป็นปกติมากขึ้น
โดยในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว การเติบโตจะชะลอตัว อันเป็นผลมาจากความต้องการที่ถูกกดเอาไว้ (Pent-up demand) เริ่มหมดลง ต้นทุนการผลิตและค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น และนโยบายการเงินการคลังที่จะตึงตัวขึ้น การใช้จ่ายในประเทศจะเริ่มชะลอลง แต่เศรษฐกิจจีนจะชะลอตั้งแต่ปีนี้
2. เราคาดว่าเงินเฟ้อโลกจะลดลงในครึ่งปีหลัง เป็นภาวะเงินเฟ้อชั่วคราว กินเวลา 1 ปี
สาเหตุสำคัญมากจากเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง ความต้องการสินค้าโภคภัณฑ์จะลดลง ปัญหาคอขวดมีแนวโน้มที่จะคลี่คลาย
และจากสภาพคล่องทางการเงินโลกที่เริ่มตึงตัว
3. เราคาดว่านโยบายการเงินโลกจะกลับมาเป็นปกติมากขึ้น
4. ประเด็นสงครามเย็นระหว่างสหรัฐและจีนจะทวีความรุนแรงมากขึ้น
5. ภาพรวมดูเป็นบวก แต่มีสิ่งที่น่ากังวล
- การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน
- ความผันผวนด้านการเงินโลก
- การเกิด Global Stagflation
- ความผันผวนด้านภูมิอากาศโลก
- โควิด-19 สายพันธุ์ใหม่
สำหรับประเทศไทย บทวิจัยจากหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ วิเคราะห์ว่า "มองบวกได้แต่ต้องระมัดระวัง"
โดยในปี 2020 คาดว่าไทยจะหดตัว -6.1%
และกลับมาเติบโต +1% ได้ในปี 2021 ด้วยธีม "2-4-4-8" ประกอบไปด้วย
>>> ส่งออกโต 2%
>>> การบริโภคภาคเอกชนโต 4%
>>> จีดีพีโต 4%
>>> นักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวไทยจำนวน 8 ล้านคน
อย่างไรก็ตามเรื่องของการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ คิดว่าจะไม่เห็นนโยบายการคลังชุดใหญ่เนื่องจากทางการกังวลเกี่ยวกับวินัยการคลัง
อ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่นี้ : https://res.scbsonline.com/stocks/extra/48464_20211130113234.pdf