วางแผนภาษี ไม่เท่ากับ หนีภาษี นะครับ
วางแผนภาษีคือการเตรียมการเสียภาษีให้ถูกต้อง
โดยใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ตามที่กฎหมายกำหนด
ถ้ามองเฉพาะเรื่องลดหย่อนภาษี ไม่ได้มองถึงความจำเป็นของการใช้เครื่องมือทางการเงินที่มีสิทธิลดหย่อน หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆที่นำมาลดหย่อนได้ รายได้เท่าไรจึงเริ่มใช้สิทธิลดหย่อนภาษี เหล่านี้ดี
ดูแบบนี้ครับ สมมุติพนักงานกินเงินเดือนคนนึง
รายได้สุทธิที่เริ่มมีอัตราภาษีคือ 150,001 บาท
หักค่าใช้จ่ายส่วนตัว 100,000 บาท
หักค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
หักเงินสะสมประกันสังคม 9,000 บาท
รายได้จริงที่อาจจะเริ่มใช้ตัวข่วยลดหย่อนภาษีคือ
150,001 + 100,000 + 60,000 + 9,000 = 319,000 บาท
จุดนี้ครับเราค่อยมาดูเรื่องการใช้สิทธลดหย่อนภาษีตัวอื่นๆ
หลักในการใช้สิทธิตัวช่วยลดหย่อนภาษี แบบนักวางแผนการเงินคือดู #ความจำเป็นที่ต้องใช้ก่อนครับ เมื่อจำเป็นและได้สิทธิลดหย่อนด้วยก็ใช้เลย เช่น
ถ้าจำเป็นต้องเก็บเงินเพื่อเกษียณอยู่แล้ว แทนจะใช้กองทุนรวมทั่วไป ก็เริ่มจากRMF ,SSF ,ประกันบำนาญก่อน
ถ้าจำเป็นต้องมีความคุ้มครองชีวิตและสุขภาพ ก็หนีไม่พ้นประกันชีวิตและประกันสุขภาพ เพราะนอกจากได้ความคุ้มครองแล้ว ผลพลอยได้คือลดหย่อนภาษีอีกด้วย
ถ้าต้องผ่อนบ้านอยู่แล้ว ก็เอาดอกเบี้ยผ่อนบ้านมาหักลดหย่อน
หลักคิดหลักพิจารณาตามนี้ครับ อย่ามองเพียงแค่จะลดภาษีอย่างเดียวเท่านั้น มองประโยชน์ที่เป็นแก่นของตัวช่วยทางการเงินเหล่านั้นด้วยครับ
ตังตังค์และ WDC Group
เตรียมข้อมูลอัพเดทสิทธิลดหย่อนภาษีประจำปี 2564
ตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้เรื่อง "ภาษี" เป็นเรื่องไม่ยาก
ลองเช็คกันนะครับว่าเราสามารถนำ
ค่าใช้จ่ายส่วนไหนไปลดหย่อนภาษีได้บ้าง
เผื่อจะช่วยลดหย่อนภาษีได้ไม่มากก็น้อยนะครับ