การทำประกันควรทำเมื่อไร ทำตอนไหน ?
เราสามารถวางแผนเกษียณ ผ่านการทำประกันได้ด้วยหรือ ?
ที่จริงแล้วการทำประกันชีวิต ไม่มีหลักการตายตัวว่าจะทำเมื่อไรดีที่สุด ทำตอนไหนมีความเหมาะสมที่จุด เพราะบางครอบครัวเริ่มทำประกันชีวิตให้ลูกตั้งแต่เมื่อแรกเกิด พ่อแม่บางคนอาจจะเห็นว่ารอให้ลูกโตกว่านี้อีกสักหน่อยจึงเริ่มทำเพราะเล็งเห็นว่าประกันชีวิตเด็กแรกเกิดเบี้ยประกันสูงมาก
บางคนเริ่มทำประกันหลังจากมีงานทำ หรือเริ่มต้นในการทำงานมีเงินเดือน
บางคนทำประกันชีวิตเอาตอนวัยใกล้เกษียณแล้ว
จะเห็นได้ว่าการทำประกัน ปัจจัยสำคัญที่สุดคือ "ความพร้อมทางการเงิน" พูดง่ายๆคือความสามารถในการชำระเบี้ยประกันของแต่ละบุคคล
... หากพูดถึงแบบประกันชีวิตสำหรับวัยเกษียณ คงหนีไม่พ้นประกันชีวิตแบบบำนาญ เพราะมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนว่าเป็นการคุ้มครองชีวิตและมีเงินสะสมไว้ใช้ในช่วงบั้นปลายของชีวิต รูปแบบของกรมธรรม์จึงเป็นแบบประกันระยะยาวตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป หรือแบบประกันที่มีรูปแบบการจ่ายผลตอบแทนหลังเกษียณ ซึ่งอาจจะจ่ายคืนเป็นเงินก้อนครั้งเดียวคล้ายกับเงินบำเหน็จ หรือทยอยคืนอย่างสม่ำเสมอเป็นงวด ๆ คล้ายกับเงินบำนาญ
เมื่อกล่าวถึงการทำประกันชีวิตแบบบำนาญเพื่อช่วยวางแผนเกษียณ หลายคนอาจรู้สึกว่าคุ้มค่าที่จะทำหรือไม่ เพราะหากมองผลตอบแทนของประกัน แน่นอนว่าผลตอบแทนค่อนข้างต่ำ หรือหากมองในด้านความคุ้มครองชีวิตก็ไม่สูงมากนัก ซึ่งไม่เหมาะกับผู้ที่ต้องการทุนประกันสูง ๆ เพื่อคุ้มครองภาระทางการเงิน อย่างไรก็ตามในข้อจำกัดยังมีสิ่งที่โดดเด่นของประกันชีวิตแบบบำนาญที่แตกต่างจากประกันชีวิตแบบอื่น ๆ คือ มีเงินคืนให้เป็นประจำหลังเกษียณหรือช่วงที่หยุดชำระเบี้ยแล้ว ทำให้ผู้ทำประกันมีรายได้เป็นรายปีต่อเนื่องหลังเกษียณ หรือมีรายได้เข้ามาสม่ำเสมอแบบตอนทำงานอยู่
นี้เป็น 5 ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจทำประกันชีวิต
1. ทำประกันชีวิตเพื่ออะไร ต้องมีเป้าหมายชัดเจน หรือผลลัพธ์จากการทำประกันชีวิต เช่น ต้องการมีเงินก้อนไว้ใช้ ต้องการออมเงินและลงทุนไปด้วย หรือต้องการกระจายความเสี่ยงถ้าเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้น หรือเพื่อทิ้งทรัพย์สมบัติให้กับครอบครัวที่อยู่ข้างหลัง เป็นต้น
2. เลือกแบบประกันให้เหมาะสมกับเงินในกระเป๋าของเรา เพราะสิ่งที่เป็นปัญหามากที่สุดสำหรับคนทำประกัน คือ จ่ายค่าเบี้ยประกัน บางคนเลือกที่จะจ่ายรายเดือน บางคนจ่ายปีละครั้ง ถ้าไม่ค่อยได้ใช้ประกันการจ่ายค่าเบี้ยประกันเราจะรุ้สึกว่า "ไม่คุ้มค่า" เพราะซื้อไปก็ไม่ได้ใช้ สู้เอาเงินก้อนนี้มาทำอย่างอื่นดีกว่า ซึ่งเป็นความคิดที่ผิด
... ในความเป็นจริงแล้วถ้าเราไม่ได้ใช้ประกัน ถือว่าเป็นเเรื่องที่ดีเพราะแสดงว่าเราไม่ได้เจ็บป่วย ร่างกายแข็งแร่ง แต่ถ้าเกิดอุบัติเหตุเกิดขึ้นเราก็สามารถใช้ได้ทันทีแบ่งเบาภาระของเราได้ ดังนั้นสิ่งสำคัญคือ เลือกแบบประกันให้มีความเหมาะสมกับเงินที่เราหาได้ ไม่จ่ายมากจนเกินไปจนกระทบกับชีวิตประจำวัน หรือจ่ายน้อยเกินไปทำให้ไม่เพียงพอต่อการใช้แต่ละครั้ง
3. คำนวณจำนวนเงินเอาประกันที่ต้องการ โดยควรเลือกจำนวนเงินเอาประกันให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถในการจ่ายเบี้ยประกันด้วย
4. เลือกบริษัทประกันที่มีอยู่ในตลาด เลือกบริษัทที่เชื่อใจได้ มีความแข็งแกร่งทำตลาดมาอย่างยาวนาน รวมถึงเปรียบเทียบกรมธรรม์จากหลาย ๆ บริษัท เพราะแต่ละบริษัทมีแบบประกันแตกต่างกัน เบี้ยประกันก็ต่างกัน ผลประโยชน์ก็แตกต่างกัน เลือกให้เหมาะสมกับตัวเราครับ
5. สิ่งที่มองข้ามไม่ได้ คือ เมื่อถึงเวลาจ่ายเบี้ยประกัน ควรจ่ายกับบริษัทประกันโดยตรง หรือกรณีตัวแทนประกันต้องขอดูใบอนุญาตการเป็นตัวแทนประกัน กรอกรายละเอียดต่าง ๆ ให้ครบถ้วน จ่ายเบี้ยประกันตามกำหนด เพราะเคยมีหลายครั้งทีจ่ายเบี้ยไปแล้ว ปรากฏว่าตัวแทนไม่ได้นำจ่ายให้เรา เกิดปัญหากันขึ้น
... ที่สำคัญ คือ เมื่อจ่ายเบี้ยประกันแล้วควรรีบให้บริษัทประกันส่งใบเสร็จรับเงินทันที ตรวจสอบรายละเอียดให้ครบถ้วนว่าถูกต้องหรือไม่ นั้นเองครับ
-----------------------
ขอบคุณแหล่งข้อมูล
https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/retirement-plan/pension-life-insurance.html
https://www.alife.co.th/site/window_insurance/insurance_vs_bank/
https://www.krungsri.com/th/planyourmoney/must-stories/other-plan/deposit-insurance
https://www.krungthai-axa.co.th/th/saving-insurance
https://www.muangthai.co.th/th/savings-insurance
https://www.scb.co.th/th/personal-banking/insurance/savings-insurance.html