เคยมีคนพูดเอาไว้ว่า ...
... น่าเสียดายตายไปเงินยังไม่หมด
น่าสลดเงินหมดแต่ยังไม่ตาย ....
ประโยคนี้ถือเป็นประโยคคลาสสิค
ที่ผมมักจะใช้อยู่เสมอ เวลาต้องพูดคุยเรื่องเกษียณ
รู้หรือไม่ครับ? สิ่งน่าเศร้ามากๆ สำหรับคนในประเทศเรา ก็คือ คนส่วนใหญ่ในประเทศนี้ เกษียณไม่ได้
สาเหตุหลักๆ มาจากการไม่ตระหนักถึงการเตรียมเงินเกษียณ ขาดความรู้ความเข้าใจถึงกระบวนการคิด และการวางแผน ว่าควรต้องทำอย่างไร? เริ่มต้นเมื่อไหร่?
บางคนยังเข้าใจว่าการเก็บออม ฝากBank ปลอดภัยที่สุด เก็บด้วยความหวังว่าถึงตอนนั้น เงินที่เก็บมาคง "เพียงพอ" ซึ่งวิธีนี้ ร้อยทั้งร้อย "ไม่เคยพอ"
จริงๆ เรื่องนี้รายละเอียดกว้างมากครับ การวางแผนสำหรับคนแต่วัย ก็มีวิธีแตกต่างกัน
เพราะ เวลาของแต่ละคนเหลือไม่เท่ากัน
แต่วันนี้ผมพูดถึงกลุ่มคนที่อายุ 50 ปี (แต่ใครอายุไม่ถึง ผมก็ยินดีด้วยครับที่คุณจะได้อ่านก่อนเพื่อเตรียมตัว) เพราะกลุ่มนี้เสี่ยงเหลือเกิน
สำหรับคนที่อายุ 50ปี คุณเหลือเวลาอีก 10 ปี เท่านั้น (ในกรณีตั้งเป้าเกษียณที่อายุ 60ปี) ถามว่ายังทันหรือไม่ หรือ หมดหวังแล้ว?
.... ก็ต้องบอกว่า "ทันครับ"
แต่เหนื่อยหน่อย และ ต้องยอมรับความจริงว่า คุณมีเวลาน้อยกว่าคนที่เตรียมตัวมาแต่เนิ่นๆ
สำหรับสิ่งที่คุณต้องรู้ หากจะเตรียมตัวเพื่อเกษียณ โดยเฉพาะในวันที่คุณเหลือเวลาหาเงินไม่มากแล้ว
มี 3 เรื่องครับ
1. คุณรู้ว่าจะใช้เงินเท่าไหร่ในวันเริ่มเกษียณ จนถึงวันที่จากไป ประเมินคร่าวๆ จากข้อมูลจากองค์การสหประชาชาตินั้นได้ประเมินว่าในปี 2020 อายุเฉลี่ยของชาวไทยนั้นอยู่ที่ 77.19 ปี และในอีก 30 ปีข้างหน้าจะเพิ่มขึ้นเป็น 82.36 ปี
หมายความว่าหากเราเกษียณตอนอายุ 60 ปี ก็มีแนวโน้มว่าเราจะต้องใช้ชีวิตอยู่อีกประมาณ 20 ปี ลองคูณด้วยเงินรายเดือน ที่คุณอยากใช้ช่วงนั้น และ บวกเงินเฟ้ออีก 1% นั่นคือ เงินก้อนที่คุณต้องมีครับ
2. สำรวจสถานะการเงินตัวเอง หากสถานะทางการเงินของคุณ อยู่ในระดับที่ หนี้สินเหลือน้อย มีเงินเก็บอยู่บ้างก็ถือว่ามีต้นทุนพอที่จะวางแผนได้ ให้list ออกมาเลยครับ
คุณมีทรัพย์สินเท่าไหร่ มีหนี้ที่คิดว่าจะหมดเมื่อไหร่ มีเงินเก็บ เงินลงทุน อยู่ตรงส่วนไหนบ้าง เช่น มีฝากBank มีกองทุนฯ แยกออกมาให้หมอด เพื่อจะได้รู้ว่า ที่ที่คุณเอาเงินไปวางไว้ ให้ผลตอบแทนได้เพียงพอ และ ทันเวลาหรือ ไม่?
แต่ถ้าสถานะทางการเงินของคุณ ยังมีหนี้สินมากมาย รายได้มีน้อย อันนี้บอกตรงๆว่า ลำบากมากทีเดียวครับ แนะนำคือ เคลียร์หนี้ให้เหลือน้อยที่สุด
เริ่มต้นจากการเก็บเงินฉุกเฉิน ให้ได้อย่างน้อย 3-6 เท่าของรายจ่ายก่อน เพื่อเอาปัจจุบันให้ปลอดภัยก่อนครับ และที่สำคัญหารายได้เพิ่มครับ
3. วางแผนการเก็บเงินที่ให้ผลตอบแทนด้วยพลังของดอกเบี้ยทบต้น ปัจจุบันการฝากออมทรัพย์ ไม่สามารถให้ผลตอบแทนที่เอาชนะเงินเฟ้อได้แล้วนะครับ เงินโตไม่ทันใช้ เก็บไปเก็บมา ไม่พอใช้เอาด้วย
ดังนั้นในการเก็บเงิน และทำให้เงินงอกเงยได้ เราต้องเปลี่ยนวิธีในการวางเงิน เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่เหมาะสม ตามเป้า เช่น ในอัตราเฉลี่ย 1%, 3%, 5% และ 8% ต่อปี
ปัจจุบัน เราเครื่องมือทางการเงินหลายรูปแบบมากๆ ทั้งแบบที่ความปลอดภัยสูงแต่ตอบผลแทนต่ำ เช่นการซื้อพันธบัตร ตราสารหนี้ หรือ ความปลอดภัยต่ำ แต่ผลตอบแทนสูง เช่นลงทุนในหุ้น หรือ ปลอดภัยหน่อยก็ลงทุนในกองทุน
ซึ่งรายละเอียดตรงนี้ ว่าใครเหมาะสมจะวางเงินแบบไหน ต้องดูความสามารถในการรับความเสี่ยงของแต่ละคนไปครับ
ใครที่ยังไม่ได้เริ่มเก็บเงินเกษียณเลย ผมก็ต้องบอกว่าเริ่มตอนนี้ก็ยังดีกว่าไม่เริ่ม อาจจะไม่ได้ตามเป้า100% แต่ก็ยังดีกว่าไม่รู้เป้าหมายเลย ลองสำรวจตัวเองตามที่ผมแนะนำดูก่อนครับ
บางคนยังไม่เคยรู้ด้วยซ้ำครับ ว่าตัวเองต้องใช้เงินเท่าไหร่ หรือ สถานะทางการเงินตัวเองอยู่ในขั้นไหน
ส่วนคำแนะนำสำหรับคนที่อายุ50ปี เวลาหาเงินของคุณเหลือน้อย และคุณอาจจะเสี่ยงมากไม่ได้แล้วครับ การจะโยกเงินทั้งหมด ไปลงหุ้นเพื่อให้ได้ผลตอบแทนมากที่สุด ได้ไวที่สุดก็จะอันตรายไป แต่หากจะเน้นปลอดภัยเท่านั้น เงินก็โตไม่ทันอยู่ดี
ผมแนะนำให้คุณศึกษาหาข้อมูลเรื่องลงทุนในแบบต่างๆ เพิ่มเติมและแบ่งเงินครับ เรื่องนี้สำคัญมากๆ แยกเงินไว้ในหลายๆตะกร้า ให้บางส่วนยอมเสี่ยงได้ เพื่อผลตอบแทนที่สูงขึ้น และบางส่วนเน้นปลอดภัย ไม่เน้นผลตอบแทน
นี่คือการจัดพอร์ตการลงทุนครับ ...ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับคนวัยนี้
ใครที่ยังไม่มีความรู้ ประสบการณ์ หรือ ไม่แน่ใจว่าตนเองควรต้องจัดพอร์ตแบบไหนถึงจะเหมาะสม ก็สามารถสอบถามเข้ามาได้เบื้องต้นครับ ผมมีทีมงานที่สามารถให้คำแนะนำเบื้องต้นได้
ท้ายนี้ใครยังไม่เริ่ม ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ เริ่มเถอะครับ เริ่มตระหนัก เริ่มกลัว และสำรวจตัวเองได้แล้วครับ #ก่อนจะสายเกินไป