การลดลงอย่างต่อเนื่อง 2 วันติดของตลาดหุ้นจีนและทางฝั่งของฮ่องกงโดยเฉพาะ A-Share ส่งผลให้หุ้นรายตัวร่วงค่อนข้างหนัก และที่หนักมาก คือ หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่เคยเป็นหุ้นยอดฮิตของนักลงทุนมาตลอด
ทางฝั่งของตลาดหุ้นจีนมีความกังวลในเรื่องของการเข้ามาควบคุมกำกับดูแลของรัฐบาลจีนเกี่ยวกับการผูกขาดของบริษัทเทคโนโลยีในจีน มีการสั่งปรับ การกดดันและบังคับไม่ให้เกิดการผูกขาดเพื่อให้รายเล็กสามารถเข้ามาแข่งขันกันได้
อ่านเพิ่มเติม : หุ้นจีน-ฮ่องกง ร่วงแรงกังวลรัฐบาลจีนคุ้มเข้มหุ้นเทคโนโลยี
เรามาดูกันว่าการปรับตัวแรง 2 วันติดของดัชนีหุ้นจีน ทำให้หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีเหล่านี้ร่วงแรงมากแค่ไหน ...
1. Alibaba (9988.HK)
หุ้น Alibaba เป็นบริษัทแรกๆที่รัฐบาลจีนเข้ามาตรวจสอบ โดยทางการได้สั่งปรับบริษัทกว่า 2.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 8.8 หมื่นล้านบาทโทษฐานผูกขาดตลาดมากเกินไป
แต่ก่อนหน้านั้นบริษัทก็มีประเด็นกับรัฐบาลมาก่อน ตั้งแต่การที่ Jack Ma ลาออกจากบริษัทแล้วหายตัวไป จากกาวิพากษ์วิจารณ์ระบบการเงินการธนาคารของรัฐว่าล้าหลัง ทำให้รัฐบาลไม่พอใจ รวมถึงการทำ IPO หุ้น Ant Financial ก็โดนเบรคกลางอากาศ ราคาหุ้นก็ร่วงมาโดยตลอด
หลายปีที่ผ่านมา ธุรกิจ Alibaba ถือว่าเติบโตอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มชอปปิงออนไลน์ ค้าปลีก โลจิสติกส์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ โซเชียลมีเดีย ให้จองเที่ยว ฟินเทค ธุรกิจคลาวด์คอมพิวเตอร์ ฯลฯ เรียกว่าเป็นธุรกิจที่ครอบคลุมหลากหลายมิติ ขณะเดียวกันก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีลักษณะครอบงำตลาดด้วยเหมือนกัน
ราคาหุ้นเคยทำจุดสูงสุดที่ 300 เหรียญฮ่องกงในช่วงเดือนตุลาคมปี 2020 ปัจจุบันอยู่ที่ 177 เหรียญฮ่องกง ...
2. Tencent (700.HK)
หุ้น Tencent มีความกังวลในประเด็นเรื่องของการที่รัฐบาลจีนออกมาควบคุมธุรกิจเกมห้ามมีการผูกขาดคนดู พร้อมสั่งห้ามเซ็นสัญญาผูกขาดกับค่ายเพลงอีกต่อไป โดยตอนแรก Tencent อยากจะเข้าควบร่วมกิจการเว็บไซต์สตรีมเกม Huya และ DouYu ที่ตัวเองเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และทั้ง 2 ราย ก็เป็นเบอร์ 1 และ 2 ของตลาดเว็บไซต์สตรีมเกมในจีน
Tencent มีส่วนแบ่งการตลาดเกมในจีนอยู่แล้วประมาณ 40% ถ้าควบรวมทั้ง 2 บริษัทเท่ากับว่า Tencent จะมีส่วนแบ่งตลาดเกมออนไลน์มากกว่า 70% เลยทีเดียว ทางการจีนแสดงความเห็นว่า ถ้ามีผู้ครอบครองตลาด การแข่งขันอย่างยุติธรรมจะไม่เกิด ซึ่งรัฐบาลจีนไม่ต้องการให้เป็นแบบนั้น ...
นอกจากนี้ธุรกิจค่ายเพลงในเครือของ Tencent ก็โดนด้วย โดยสั่งให้ Tencent เลิกเซ็นสัญญาผูกขาดกับศิลปินและค่ายเพลงต่างๆ แต่ยังไม่มีรายละเอียดออกมาชัดเจน
ในอดีต Tencent Holdings เคยเซ็นสัญญาผูดขาดสิทธิ์การสตรีมเพลงกับค่ายดังอย่าง Universal Music Group, Sony Music Group และ Warner Music เพื่อขัดขวางคู่แข่ง
... สุดท้ายทางการจีนได้สั่งยกเลิกและปรับ Tencent เป็นเงินเกือบ 2.5 ล้านบาท
ราคาหุ้นเคยทำจุดสูงสุดที่ 770 เหรียญฮ่องกงในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ปัจจุบันอยู่ที่ 440 เหรียญฮ่องกง ...
3. Meituan (3690.HK)
จากธุรกิจที่เติบโตเร็วมากในการเป็นเจ้าของแพลตฟอร์มธุรกิจจัดส่งอาหารและค้าปลีกออนไลน์ แต่ช่วงวิกฤตโควิดระบาดหนักในจีน มีการร้องเรียนว่า Meituan เก็บค่าจัดส่งอาหารสูงมากจากร้านอาหารจนกำไรแทบไม่เหลือ และพนักงานส่งก็โดนกดดันให้เร่งรีบในการจัดส่งจนเกินอุบัติเหตุ เสียชีวิตก็มี ทำให้กระแสความไม่พอใจเกิดขึ้นในวงกว้าง รัฐบาลจีนเลยเข้ามาตรวจสอบ
อีกทั้งยังมีการบังคับให้ผู้ค้าเข้าร่วมโครงการ "2 เลือก 1" กล่าวคือ จะขายบนแพลตฟอร์มของ Meituan แล้ว ห้ามไปขายที่แพลตฟอร์มอื่น ซึ่งรัฐบาลจีนมองว่าผิด
... การเข้ามาตรวจสอบสร้างความไม่พอใจให้กับผู้บริหาร อย่างนาย Wang Xing โพสในโซเชียลของตัวเองท้าทายอำนาจรัฐ และลบโพสออกไปอย่างรวดเร็ว รัฐบาลจีนเลยสั่งลงโทษบริษัทข้อหา "ผูกขาด" ปรับเงินมากถึง 2.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 87,000 ล้านบาท
ราคาหุ้นเคยทำจุดสูงสุดที่ 450 เหรียญฮ่องกงในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ปัจจุบันอยู่ที่ 185 เหรียญฮ่องกง ...
4. NetEase (9999.HK)
NetEase ทำธุรกิจเกี่ยวกับเกม โดยเฉพาะเกมมือถือประเภท Free To Play คือโหลดให้เล่นฟรี แต่ผู้เล่นจะต้องเสียเงินซื้อ "ไอเท็ม" ในเกมถ้าอยากเก่งกว่าคนอื่น และเหนือกว่าคู่แข่ง
... ธุรกิจเกมถือว่าโตเร็วมาก และ Tencent ก็กินส่วนแบ่งการตลาดอันดับ 1 แต่เราต้องเข้าใจว่าธุรกิจของ Tencent ใหญ่มาก มีการซื้อกิจการ ร่วมลงทุน สนับสนุนบริษัทขนาดเล็ก จึงไม่แปลกใจว่าทำไม Tencent ถึงเป็นเบอร์ 1 ในธุรกิจเกม
แต่สำหรับ NetEase แล้ว ไม่ใช่แบบเดียวกับ Tencent บริษัทใช้ความพยายามปลุกปั้นสร้างเกมขึ้นมาเอง จากตลาดเกมมือถือที่ยังเล็กในอดีต แต่ในตอนนี้โตเร็วมาก
ถึงแม้ว่าตอนนี้ Netease จะยังไม่มีประเด็นอะไรกับรัฐบาลจีน และส่วนแบ่งการตลาดของเกมมือถือ NetEase ก็ไม่ได้เป็นเบอร์ 1 แต่ด้วยความหวาดกลัวของนักลงทุน ราคาหุ้น NetEase ก็ถือว่าปรับตัวลงรุนแรงด้วยเช่นกัน
ราคาหุ้นเคยทำจุดสูงสุดที่ 2000 เหรียญฮ่องกงในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ปัจจุบันอยู่ที่ 130 เหรียญฮ่องกง ...
5. Xiaomi (1810.HK)
จะมีอะไรดีไปกว่าการขาย Ecosystem ให้กับผู้บริโภค ถึงแม้ว่าริษัทเองจะมีชื่อเสียงทางด้านสมาร์ทโฟน แต่บริษัทเน้นย้ำว่าจะไม่เอากำไรจากธุรกิจสมาร์ทโฟน แต่จะไปทำกำไรจาก Ecosystem ที่เชื่อมอยู่กับสมาร์ทโฟนในแบรนด์ของ Xiaomi เติบโตจากธุรกิจ Internet of Things และไปลงทุนในสตาร์ทอัพ
Xiaomi อาจจะไมได้มีปัญหาอะไรกับรัฐบาลจีนโดยตรง แต่บริษัทไปมีปัญหากับรัฐบาสหรัฐ เรื่องของการถูกขู่ว่าจะเอาออกจากตลาดหุ้น NASDAQ ทำให้ราคาหุ้นปั่นป่วนระดับหนึ่ง แต่ก็ยังทรงตัวอยู่ได้ ต่อมาไม่นานก็มีความชัดเจนว่าถ้าอเมริกาไม่เอา จะย้ายมาเทรดกับตลาดหุ้นจีน รัฐบาลก็อ้าแขนรับได้ ไม่มีปัญหา
แต่ประเด็นนี้ก็ยังไม่ได้ทำให้หุ้นบวกขึ้นไปมากนัก ตลาดหุ้นจีนก็ปรับฐานหนักจากการตรวจสอบของรัฐบาล ส่งผลให้ราคาหุ้น Xiaomi ที่อยู่ในฮ่องกงร่วงแรงด้วยเช่นกัน
ราคาหุ้นเคยทำจุดสูงสุดที่ 36 เหรียญฮ่องกงในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา ปัจจุบันอยู่ที่ 24 เหรียญฮ่องกง ...
นี้ก็เป็น 5 หุ้นยอดฮิตของจีนที่เป็น A-Share ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงที่ลงมาค่อนข้างหนัก
นักลงทุนคนไหนที่ลงทุนในจีน ก็ต้องจับตามองกันไว้ให้ดีเพราะนี้อาจจะถือเป็นโอกาสสำหรับนักลงทุนอย่างเราได้เก็บหุ้นในราคาถูกก็เป็นไปได้ครับ