"ทำไม Google Apple Microsoft Amazon Facebook รวมถึงบริษัท Tech company ใน Silicon Valley ได้เติบโตอย่างรวดเร็ว ..."
มีโอกาสได้อ่านหนังสือเรื่อง Blitzscaling: the Lightning-Fast Path to Building Massively Valuable Companies โดย Reid Hoffman และ Chris Yeh
... เลยอยากจะสรุปสาระสำคัญ 3 บทเรียนจากการอ่านหนังสือเล่มนี้ครับ
1. อะไรคือ Blitzscaling
"Blitzscaling" คือ กลยุทธที่ตั้งเป้าให้บริษัท มี 2 อย่างควบคู่กัน ประกอบไปด้วย
>>> การเติบโตอย่างก้าวกระโดด
>>> ความยั่งยืน
จริงๆแล้ว คำนี้ประกอบด้วย 2 คำ คือ Blitz เป็นภาษาเยอรมันแปลว่าสายไฟฟ้า และ Scaling ย่อมาจาก scaling up คือการขยายส่วนต่าง ๆ เช่น แรงงาน หรือวัสดุ ให้ได้สัดส่วนกัน
ดังนั้นถ้าเราทั้งสองคำมารวมกัน คือ การทำให้บริษัทเชื่อมโยงถึงกันให้เติบโตอย่างรวดเร็ว และการเติบโตนั้นต้องมีความยั่งยืนด้วย
2. ความเร็วชนะทุกสิ่ง
แนวทางกลยุทธแบบ Blitzscaling คือให้ความสำคัญกับความเร็วมากกว่าประสิทธิภาพ (efficiency)
... โดยจุดมุ่งหมายหลักของกลยุทธนี้คือการยึดครองตลาดให้ได้มากที่สุดก่อน
ผิดกับแนวคิดทั่วไปที่ต้องการขยายอาณาจักรแบบค่อยเป็นค่อยไป ค่อยๆ ทำให้สาขาปัจจุบันเยี่ยมยอด ได้เกรด A+ ก่อนค่อยขยายไปยังสาขาหรือตลาดต่อไป
กลยุทธ Blitzscaling ใช้วิธีทุบหม้อข้าว กระหน่ำลดราคาอย่างมาก บางทีต่ำกว่าต้นทุนจนหรือขยายสาขาแบบก้าวกระโดดจนไม่มีคู่แข่งไหน "บ้า" ทำตามด้วยแน่นอนว่าวิธีนี้อาจแลกด้วยความเสี่ยงที่สูงมาก แต่ผลลัพธ์ที่ได้สามารถทำให้ธุรกิจมี First-scaler advantage สร้างจุดแข็งให้ธุรกิจจนสามารถยึดครองตลาดและกีดกันคู่แข่งออกจากตลาดได้
... อ่านมาถึงตรงนี้ก็นึกถึงโทรศัพท์แบรนด์หนึ่งของจีน ที่เน้นคุณภาพและราคาถูก ไม่เน้นกำไรจากการขายสมาร์ทโฟน แต่เน้นกำไรจากแพลตฟอร์มและ IOT มากกว่า
3. ต้องมี Network Effect เป็นปัจจัยสำคัญ
หนึ่งในตัวตัดสินว่าธุรกิจจะบรรลุเป้าหมายระยะยาวของ Blitzscaling คือ ความสามารถในการทำให้เกิด Network Effect ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อจำนวนผู้ใช้สินค้าและบริการมีมากขึ้น ทำให้ Value ของ Product นั้นๆ สูงขึ้นด้วย (ภาษาการลงทุนน่าจะเรียกว่า Economy of Scale...)
หนังสือเล่มนี้ยกตัวอย่างคุ้นหูเช่นแอพพลิเคชั่นเรียกรถอย่าง Grab เมื่อมีผู้เรียกรถสูงขึ้น ทำให้มีคนขับสนใจเข้ามาลงทะเบียนมากขึ้น และเมื่อคนขับมีมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้ได้รับบริการที่รวดเร็วและดีขึ้น
... ผลลัพธ์ทั้งสองทางทำให้เกิด positive feedback loop ซึ่งสร้างจุดแข็งให้ธุรกิจเพื่อยึดครองตลาดได้ง่ายยิ่งขึ้น
หรืออย่าง Airbnb ในตลาดที่พักอาศัย หรือ Tinder ในตลาดหาคู่
เทคนิคที่หลายๆ ธุรกิจจำพวกนี้ใช้คือการทำการแย่งชิงลูกค้าแบบ "viral" เช่น การให้ส่วนลดเมื่อผู้ใช้งาน/ลูกค้าแชร์บริการกับเพื่อนฝูงและเพื่อนฝูงมาเป็นผู้ใช้งานรายใหม่เมื่อธุรกิจสามารถสร้าง Network ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ก็จะสามารถเข้าถึงลูกค้าจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว
ทั้งนี้ธุรกิจประเภท techonology ทุกวันนี้ถือว่าได้เปรียบในจุดนี้ เนื่องจาก product สามารถสร้าง Network Effect ได้ทุกที่ทุกเวลาโดยอาศัยเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้ขนาดตลาดเติบโตได้มากขึ้นเรื่อยๆ อย่างแทบไร้ขีดจำกัด
4. ให้ความสำคัญกับกำไรขั้นต้น
เปรียบเทียบบริษัท Old Economy อย่าง General Electric มีอัตรากำไรขั้นต้นประมาณ 25% ซึ่งในอุตสาหกรรมเก่าถือว่าสูง
แต่ในปัจจุบันหุ้น Tech อย่าง Google Microsoft และ Facebook มีกำไรขั้นต้นสูงถึง 60-80% แสดงให้เห็นว่าเหล่า Tech company มีอัตรากำไรขั้นต้นที่ดีกว่ามาก
อีกทั้งอัตรากำไรขั้นต้นที่ดี ตัวเลขนี้ยังดึงดูดให้นักลงทุน "ใส่เงินเพิ่ม" ลงไปได้เรื่อยๆ ยิ่งเงินหนามากขึ้น ธุรกิจเหล่านี้ก็ "ทุ่มเงิน" ไปกับการแย่งชิงลูกค้า กินส่วนแบ่งการตลาด และทำให้ลูกค้าติดใจใช้แพลตฟอร์มของตัวเองไปเรื่อยๆ (ไม่แปลกที่เห็นแพลตฟอร์ม E-Commerce หลายแห่งแจกโค๊ดลด แจกเหรียญ เหมือนเป็นการเผาเงินก็อาจจะไม่ผิดนัก)
แม้ว่ากลยุทธ์ Blitzscaling นี้จะเหมาะสมที่สุดกับธุรกิจ Tech Company แต่ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจทั่วไปได้
... เนื่องจากธุรกิจทุกประเภทคงหลีกหนีความเป็น Tech ไม่ได้ จำเป็นจะต้องมีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง
และถึงแม้จะไม่ได้ทำธุรกิจ tech เอง การทราบถึงกลยุทธ์เหล่านี้จะทำให้ธุรกิจ "โลกเก่า" สามารถหาพาร์ทเนอร์หรือ startup ecosystem มาสนับสนุนตัวเองได้ดีขึ้น