#ลงทุนแนวปัจจัยพื้นฐาน

เปิดงบดูธุรกิจ TKN เมื่อ “เถ้าแก้น้อย” จะก้าวเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์

โดย stock2morrow
เผยแพร่:
95 views

 

แน่นอนว่าในทุกวันนี้ หากพูดถึงธุรกิจสาหร่ายที่โด่งดังที่สุด คงจะเป็นใครไม่ได้นอกจาก “เถ้าแก่น้อย” และอีกก้าวของเถ้าแก่น้อยในตอนนี้ คือการก้าวเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ ด้วยชื่อย่อ TKN เพื่อขยายกิจการและตอบสนองวิสัยทัศน์ในการเป็นที่รู้จักในระดับโลกยิ่งขึ้น ก่อนที่ TKN จะเข้าตลาดหลักทรัพย์ เรามาทำความรู้จักกับธุรกิจของเถ้าแก่น้อยกันเพิ่มเติมดีกว่า ก่อนตัดสินใจว่าควรลงทุนในหุ้นตัวนี้หรือไม่

 

ก่อนอื่น เราลองมาดูโครงสร้างรายได้แบ่งตามผลิตภัณฑ์กัน

 

 

จะเห็นว่ารายได้เกือบทั้งหมดของเถ้าแก่น้อยนั้น มาจากผลิตภัณฑ์สาหร่ายเพียงอย่างเดียว ต่างกันแค่การแปรรูปเท่านั้น 

 

ต่อไปเป็นส่วนของโครงสร้างรายได้ แบ่งตามประเทศคู่ค้า

 

 

จะเห็นว่าในขณะที่รายได้ในประเทศลดลง เถ้าแก่น้อยพึ่งพิงรายได้จากต่างประเทศถึงกว่าครึ่งเลยทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "จีน" ซึ่งเป็นประเทศที่มีมูลค่าการซื้อสินค้ามากที่สุดในบรรดาคู่ค้าต่างประเทศทั้งหมด ดังนั้นความหวังการเติบโตในอนาคต จึงอยู่กับการส่งออกไปยังจีนและประเทศอื่นๆว่าจะขยายตลาดได้สำเร็จหรือไม่ 

 

ต่อมาเป็นสถิติของการนำเข้าสาหร่ายทะเลในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2549-2557 ครับ

 

 

จะเห็นว่าภาพรวมอุตสาหกรรมของผลิตภัณฑ์สาหร่าย ซึ่งนับตั้งแต่ปี 2550-2557 ปริมาณการนำเข้าเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 10 ต่อปี แต่ในปีหลังๆอัตราการนำเข้าเริ่มเติบโตเริ่มช้าลง และมีผู้เล่นรายใหญ่อีกหลายรายเข้ามาจับตลาดนี้กันพอสมควร ซึ่งคู่แข่งที่สำคัญของเถ้าแก่น้อย มีดังนี้ครับ

 

 

อย่างไรก็ตาม ณ ปัจจุบัน “เถ้าแก่น้อย” นั้น จะถือว่าเป็นเจ้าตลาดก็ว่าได้ เพราะส่วนแบ่งการตลาดสูงเกินครึ่งมาโดยตลอด

 

 

ต่อมาเป็นส่วนของผลการดำเนินงานทางการเงินครับ

 

 

หากดูจากในส่วนของฐานะทางการเงิน จะเห็นว่า

  • สินทรัพย์รวม เพิ่มขึ้น 253.75 ล้านบาท หรือ 21.27% โดยในปีนี้ มีการลงทุนในที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ มากกว่าปีที่ผ่านๆมา
  • หนี้สินรวม เพิ่มขึ้น 165.32 ล้านบาท หรือ 18.20% โดยหนี้สินส่วนมากเป็นหนี้สินหมุนเวียนกว่า 90% และเจ้าหนี้การค้าถึงกว่า 50%
  • ส่วนของผู้ถือหุ้น เพิ่มขึ้น 88.43 ล้านบาท หรือ 31.08% โดยส่วนที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดคือ กำไรที่ยังไม่ได้จัดสรร

 

ซึ่งส่วนของผู้ถือหุ้นนั้น มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นมากกว่า ทำให้ D/E ลดลงจาก 3.19 เหลือ 2.88

 

ในส่วนของรายได้นั้น ปีนี้ “เถ้าแก่น้อย” มีรายได้เพิ่มขึ้น 637 ล้านบาท ส่วนต้นทุนเพิ่มขึ้น 383.17 ล้านบาท ทำให้กำไรสุทธิโตเพิ่มขึ้น 137.54 ล้านบาท ซึ่งมีการเพิ่มขึ้นของยอดขายจากจีนและอินโดนีเซีย ส่งผลให้ ROA และ ROE เติบโตขึ้นพอสมควร

 

อย่างไรก็ตาม สำหรับนักลงทุนแล้ว สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันอีกอย่างก็คือ โครงสร้างผู้ถือหุ้น

 

IPO ในครั้งนี้เป็นการขายหุ้นเพิ่มทุนให้ประชาชนทั่วไป ทำให้มี Free float 26%

 

รอบนี้ IPO จำนวน 360 ล้านหุ้น ราคาพาร์หุ้นละ 0.25 บาท (ทั้งนี้โค้งสุดท้าย มีการตัดสินใจ "แตกพาร์" จากเดิมพาร์ 1 บาท เหลือแค่พาร์ 25 สตางค์) 

 

ราคา IPO ยังไม่สรุปออกมาอย่างเป็นทางการ ทำให้ยังไม่สามารถรู้ได้ว่า P/E นั้นจะเป็นอย่างไร 

 

และการตั้งราคา IPO  จะสมเหตุสมผลหรือไม่? เพราะการลงทุนในหุ้น ไม่ใช่เพียงแค่การซื้อหุ้นของบริษัทที่มีพื้นฐานดีมีอนาคตเท่านั้น  แต่จำเป็นต้องซื้อในราคาที่สมเหตุสมผลและไม่แพงจนเกินไป

 

ก็คงต้องรอดูกันต่อไปในวันที่ 23 ว่าราคาที่ออกมาจะเป็นอย่างไร เพื่อประกอบการตัดสินใจในการซื้ออีกทีนะครับ

 

ที่มาข้อมูล: TKN Filing, Settrade, SEC

 


ศูนย์รวมความรู้เรื่องหุ้น ศูนย์รวมนักลงทุนรายย่อย ที่อยากรู้วิธีการลงทุนในหุ้นอย่างถูกต้องและได้กำไรอย่างยั่งยืน ติดตามเราได้ที่

www.stock2morrow.com 

FB: stock2morrow 

LINE@stock2morrow

FacebookInstagramYoutubeLine

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง