การประกาศปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แคมป์คนงาน การห้ามรับประทานอาหารในร้าน กระทบกับตลาดทุนและเศรษฐกิจไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
...ต้องยอมรับว่าการระบาด COVID-19 (รอบที่ 4) มีแนวโน้มน่ากังวล เนื่องจาก
จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ เพิ่มขึ้นสูงกว่าจำนวนผู้รักษาหายอย่างต่อเนื่องติดต่อกันหลายวัน เป็นเหตุให้จำนวนผุ้ติดเชื้อระหว่างรักษาเพิ่มสูงขึ้นอยางมาก จึงส่งผลกระทบมายัอัตราครองเตียงที่เพิ่มสูงขึ้นด้วย อยู่ที่ประมาณ 81%
ส่วนเรื่องของการฉีดวัคซีน ยังเดินหน้าต่อเนื่องแต่นับว่าค่อนข้างช้าเมื่อเทียบกับผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นเร็วกว่า
ทำให้ภาครัฐต้องออกมาควบคุมอย่างเข้มงวด (อีกครั้ง) เป็นเวลา 1 เดือน ....
ฝ่ายวิจัยของเอเชียพลัส มองว่าผลกระทบแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ จำนวนผุ้ติดเชื้อลดลงแน่นอน และเศรษฐกิจไทยที่ยังไม่เห็นภาคของการฟื้นตัว
1. เศรษฐกิจไทย
บทวิเคราะห์เอเชียพลัส วิเคราะห์ว่าเศรษฐกิจที่จะเริ่มฟื้นตัวในไตรมาส 3 ปีนี้ อาจจะต้องชะลอตัวต่อไป ถึงแม้จะมีมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆจะมีประสิทธิภาพลดลง เพราะช่องทางถูกจำกัด อารมณ์การจับจ่ายใช้สอยไม่ฟื้น
คาดว่าจะส่งผลให้ GDP ของไทยไตรมาส 2 และ 3 มีโอกาสติดลบทั้ง %qoq และ %yoy ก่อนจะไปฟื้นตัวในไตรมาส 4 ของปีนี้
ในภาพรวมเชื่อว่า GDP จะไม่ลดลงต่ำกว่าปี 2563 เนื่องจากปีนี้ได้ภาคการส่งออกมาช่วยไว้ และขยายตัว 17%
2. ตลาดหุ้นไทย
โดยภาพรวมคิดว่าจะมีแรงเทขายทำกำไร เพราะอุตสาหกรรมบางอย่างถูกกระทบ ได้แก่
- ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง
- ค้าปลีก ห้างสรรพสินค้า
- อสังหาริมทรัพย์
อุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์
- กลุ่มถุงพลาสติก Food Packaing
- กลุ่มโรงพยาบาล
- ธุรกิจเกมส์
โดยสรุปแล้วการประกาศให้หยุดกิจกรรมเศรษฐกิจบางประเภท เฉพาะอย่างยิ่งภาคการก่อสร้าง และร้านอาหาร ในกลุ่มจังหวัดสีแด้งเข้มถูกประเมินว่าจะสร้างผลกระทบไปหลายอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
ในขณะเดียวกัน การกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ การแจกเงินจะถูกลดประสิทธิภาพลง ภาพรวมจะกระทบทั้งเศรษฐกิจและตลาดหุ้นให้มีมากยิ่งขึ้น ขาดเม็ดเงินใหม่ๆที่จะไหลเข้าสู่หุ้นไทย
----------------------------------
ขอบคุณแหล่งข้อมูล
บทวิเคราะห์หลักทรัพย์เอเชียพลัส