1. การลงทุนระยะยาวต้องใช้เวลา
การวิเคราะห์หุ้นแบบปัจจัยพื้นฐานต้องใช้เวลานานมากกว่าสิ่งที่เราคาดหวังว่ามันจะต้องดีในอนาคต อาจะใช้เวลานาน 2 ปี 5 ปี หรือบางครั้งอาจจะใช้เวลาเป็น 10 ปีเลยก็มีเหมือนกัน ซื้อหุ้นลักษณะนี้ก็ทำให้จิตใจไขว้เขว้ได้เหมือนกัน เพราะซื้อแล้วไม่คืน อาจจะลงด้วยซ้ำ แต่สิ่งที่พอจะยึดเหนี่ยวจิตใจได้ คือ ความเข้าใจ และเงินปันผล
ความเข้าใจ คือ เราเข้าใจว่าธุรกิจที่เราลงทุนทำมาหากินแบบไหน ทำธุรกิจอะไร แล้วเราซื้อมันไปทำไม
เงินปันผล คือผลตอบแทนระหว่างทางที่เราถือระยะยาว อาจจะได้รับปีละ 2-3% ถือว่าไม่มาก แต่อย่างน้อยเราก็ยังได้กระแสเงินสดระหว่างที่เราถือไว้บ้าง
บางครั้งการซื้อแล้วขึ้นเลย ก็ถือว่าดี แต่ผ่านไป 1 ปี ก็อาจจะลบได้ ก็ไม่จำเป็นต้องเสียใจไปเพราะไม่มีใครคาดเดาราคาหุ้นได้ ดูหุ้นมากเกินไปก็อาจจะส่งผลเสีย ถ้าเขียวเลยเห็นกำไร ก็รีบขายทิ้ง สุดท้ายมันขึ้นต่อก็ขายหมูไป ในขณะเดียวกันถ้าแดงติดลบ ก็จิตตก เครียด ขายตัดขาดทุน พอผ่านไป 2 ปี ปรากฏว่าหุ้นขึ้นไปแล้ว 200% ก็มานั่งเสียดายทีหลัง
สรุป การลงทุนระยะยาวใช้เวลา ซื้อแล้วติดตามผลประกอบการ แต่อย่าไปใส่ใจราคาหุ้นมาก
2. อย่าคาดหวังว่าจะซื้อที่จุดต่ำสุด
บางทีการคาดหวังว่าจะซื้อจุดต่ำสุด เป็นการพลาดโอกาสครั้งยิ่งใหญ่ไปเลยก็ว่าได้ เพราะหุ้นไม่มีคำว่า "จุดต่ำสุด" มันสามารถลงต่อได้เรื่อยๆ ดังนั้น ซื้อในราคาที่เราคิดวิเคราะห์มาแล้วว่า ราคาตรงนี้ไม่แพง ต่ำกว่ามูลค่าอยู่พอสมควร เราก็ซื้อมันได้เลย
3. อย่าใช้วิธีซับซ้อนในการวิเคราะห์บริษัทมากจนเกินไป
การวิเคราะห์โดยใช้วิธีซับซ้อนมากเกินไป เช่น คาดเดากระแสเงินสดล่วงหน้า การเดาอัตรากำไรที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากขยายธุรกิจ หรือปรับรายได้ กำไร เพิ่มขึ้นในแต่ละปีเพื่อหาค่า Forward P/E หรือใช้วิธี DCF ในการหาราคาที่เหมาสม ก็อาจจะดูเข้าใจยากไปสักหน่อยสำหรับคนที่ไม่เก่งคำนวน
ดังนั้น สิ่งที่นักลงทุนพอจะทำได้ คือ เข้าใจว่าบริษัททำธุรกิจอะไร ราคาหุ้นอยู่ตรงไหน ราคาตรงนี้แพงไปไหม ดูค่า P/E P/BV ปัจจุบัน ค่า ROE และการปันผลที่ผ่านมาสม่ำเสมอไหม ซึ่งข้อมุลเหล่านี้ดูได้จากเว็บไซด์ของตลาดหลักทรัพย์ได้เลย
การอ่านแค่นี้ก็เพียงพอให้เข้าใจภาพของธุรกิจแล้ว การประมาณการดูยากและซับซ้อนเกินไป ทำให้เราประเมินผิดได้ ดังนั้น Back To Basic ใช้วิธีง่ายๆในการวิเคราะห์หุ้น