#ข่าวหุ้นธุรกิจการลงทุน

เกิดอะไรขึ้นในสกุลเงินลีร่าตุรกี แบบเข้าใจง่าย

โดย stock2morrow
เผยแพร่:
1,600 views

ถือว่าเป็นประเด็นที่น่าสนใจ และข่าวดังไปทั่วโลกสำหรับประเทศตุรกีและสกุลเงินลีรา ที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง เรามาสรุปความเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นกับประเทศและสกุลเงิน กันครับ

 

เราต้องเข้าใจก่อนว่าค่าเงินลีราของตุรกีอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็วใจช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา เช่น
ในปี 2016 เราใช้เงิน 1 ลีราตุรกี แลกเป็นเงินบาทได้มากถึง 12 บาท
ในปี 2018 เราใช้เงิน 1 ลีราตุรกี แลกเป็นเงินบาทได้เหลือแค่ 7 บาทเท่านั้น
ในปี 2020 เราใช้เงิน 1 ลีราตุรกี แลกเป็นเงินบาทได้เหลือ 4 บาท
ปัจจุบันเหลือเพียงแค่ 3 บาทกว่าๆเท่านั้น ... !!

 

ทำให้มีข้อสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้นกับประเทศตุรกี และค่าเงินลีราที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง มีสาเหตุแบบนี้ครับ ...


1. แต่เดิมประเทศตุรกีเป็นประเทศที่เติบโตเร็วมากในทางเศรษฐกิจ ในปี 2010-2017 เติบโตเฉลี่ย 7% ซึ่งหลักใหญ่ๆมาจากเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติ เข้ามาตั้งโรงงาน มาตั้งการบริการทำให้เกิดการจ้างงานที่สูง

 

2. เมื่อเกิดการจ้างงานสูง คนก็จับจ่ายใช้สอยกันมาก เศรษฐกิจดีมาก ภาครัฐก็ยิ่งลงทุนหนักมากขึ้น และการลงทุนก็มาจากการกู้ยืนซะเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ประเทศตุรกีมีงบประมาณขาดดุลติดต่อกันยาวนาน (รายจ่ายมากกว่ารายได้)

 

3. พอตุรกีเศรษฐกิจสะพัดขึ้น เติบโตเร็ว การส่งออกนับเป็นหัวใจของเศรษฐกิจโดยว่ากันว่าเรื่องของการส่งออกคิดเป็น GDP 1 ใน 4 ของประเทศ แต่การทะเลาะกับอเมริกาทำให้อเมริกาคว่ำบาตรตุรีและขึ้นกำแพงภาษีเหล็กและอลูมิเนียมจากตุรกี ขึ้นอย่างรวดเร็วเป็น 50% จากเดิมที่คิดแค่ 20% เท่านั้นในปี 2018

 

4. เหล็กและอลูมิเนียมเป็นสินค้าส่งออกหลักของประเทศ เมื่อถูกแบน ทำให้ประเทศเริ่มเกิดปัญหาในเรื่องของการส่งออก แต่ภาครัฐมองว่าเราไปเน้นเรื่องของการท่องเที่ยวแทนละกัน ...

 

5. การท่องเที่ยวของตุรกีดีมากๆ เพราะมีจุดเด่นในเรื่องของการผสมผสานทางวัฒนธรรมระหว่างเอเชียและยุโรปที่หาไม่ได้จากที่ไหน แต่รายได้จากการท่องเที่ยวก็ไม่เพียงพอที่จะมาทดแทนมูลค่าของการส่งออกได้อยู่ดี ส่งผลให้ค่าเงินของประเทศอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง ต่างชาติเริ่มถอนการลงทุนเพราะค่าเงินอ่อนค่าแรง ประกอบกับปัญหาเงินเฟ้อของประเทศอยู่ในระดับสูง พอต่างชาติถอนการลงทุนก็กระทบกับการจ้างงาน คนว่างงานเพิ่มขึ้น

 

6. รัฐบาลพยายามจะแก้ปัญหาหยุดเงินเฟ้อและการสกัดเงินทุนไหลออก โดยการเพิ่มอัตราดอกเบี้ย

 

7. แบงก์ชาติพยายามเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว อย่างครั้งล่าสุดเพิ่มจาก 17% มาอยู่ที่ 19% ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ว่าแบงก์ชาตินายนาจี อักบัล และประธานาธิบดีเรเจป ไตยิป แอร์โดอัน ไม่สู้ดีนักจึงประกาศปลดผู้ว่าแบงก์ชาติฝ่าผ่า

 

 

8. นักลงทุนตกใจเทขายหุ้นในตลาดหุ้นตุรกี ถอนการลงทุน เงินไหลออกยิ่งส่งผลให้ค่าเงินลีร่าอ่อนค่าลงไปอีก

 

9. การปลดผู้ว่าแบงก์ชาติครั้งนี้ไม่ได้มีเหตุผลว่าเพราะอะไร แต่นักเศรษฐศาสตร์คาดเดาว่าทางรัฐบาลต้องการลดอัตราดอกเบี้ย โดยประธานาธิบดีมีความพยายามจะปรับและควบคุมอัตราเงินเฟ้อรายปีให้ลดลงเหลือต่ำกว่า 10% ภายในสิ้นปี 2022 และลงเหลือ 5% เพื่อเป็นคะแนนเสียงที่เขาจะลงสมัครการเลือกตั้งในปี 2023 ให้ได้

 

10. กลับมาที่การท่องเที่ยว รัฐบาลหวังพึ่งเครื่องยนต์นี้มา แต่พอเกิดวิกฤต COVID-19 ไม่มีนักท่องเที่ยวเข้าประเทศ ยิ่งกระทบกับเศรษฐกิจของตุรกีหนักขึ้นไปอีก

 

11. ปัจจุบันนี้อัตราดอกเบี้ยของตุรกีอยู่ที่ 19% ก็ถือเป็นการดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้หันมาเก็บเงินลีราเพิ่มมากขึ้น แต่อนาคตเราไม่มีทางรู้ว่าจะเป็นไปในทางไหน ก็ต้องติดตามกันต่อไปครับ


จากประเด็นที่เล่ามาถือว่าตุรกีเป็นประเทศที่กำลังเจอวิกฤตเศรษฐกิจค่อนข้างหนัก ประเด็นสำคัญคือวิกฤตตุรกีครั้งนี้จะกระทบกับสกุลเงินบาท และประเทศไทยบ้างไหม
... ศูนย์วิจัยกสิกรไทย วิเคราะห์ว่าวิกฤตครั้งนี้มีความซํบซ้อนของปัญหา และเป็นโจทย์ที่แก้ได้ยากมาก การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อเป็นทฤษฏีที่อยู่ในตำรา แต่ใช้จริงกลับไม่ได้ผล ทางภาครัฐเลยอยากจะลองลดดอกเบี้ยดูเพื่อว่าจะดีขึ้น แต่ผู้ว่าคนใหม่ของแบงก์ชาติตุรกีพึ่งเข้ามารับตำแหน่ง คิดว่าแบงก์ชาติน่าจะยังไม่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเร็วๆนี้

สิ่งที่ยังน่ากังวลคือ เงินทุนไหลออกอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด ตุรกีมีทุนสำรองฯ อยู่ที่ประมาณ 52.7 พันล้านดอลลาร์ฯ ซึ่งต่ำกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นของตุรกีที่มีอยู่ที่ 133.9 พันล้านดอลลาร์ฯ

สำหรับประเทศไทยนั้น ผลกระทบน่าจะอยู่ในวงจำกัดเพราะไทยและตุรกีมีความเชื่อมโยงกันน้อย การส่งออกไทย-ตุรกี คิดเป็น 0.4% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด อาจจะส่งผลต่อค่าเงินดอล์ล่าร์สหรัฐ และค่าเงินสหรัฐอาจจะทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค้าได้บ้าง แต่ความแตกต่างของไทย คือ เศรษฐกิจของไทยมีเสถียรภาพทางการเงินที่แข็งแกร่ง และมีทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง


สรุปแล้ว ปัญหาของตุรกีครั้งนี้มีความซับซ้อน และเป็นปัญหาสืบเนื่องมายาวนาน เกิดเงินเฟ้อที่สูงถึงแม้ภาครัฐจะพยายามสกัดแล้วก็ตามก็ยังไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ แต่ปัญหานี้ไม่น่าจะส่งผลกระทบอะไรในประเทศไทยมากนัก

-------------------------------

ขอบคุณแหล่งข้อมูล
Turkish currency and debt crisis, Wikipedia

Turkey unemployment rate, countryeconomy.com

Turkey's Foreign Exchange Reserves, www.ceicdata.com

ประชาชาติธุรกิจ

ข่าวสด

THE STANDARD


ศูนย์รวมความรู้เรื่องหุ้น ศูนย์รวมนักลงทุนรายย่อย ที่อยากรู้วิธีการลงทุนในหุ้นอย่างถูกต้องและได้กำไรอย่างยั่งยืน ติดตามเราได้ที่

www.stock2morrow.com 

FB: stock2morrow 

LINE@stock2morrow

FacebookInstagramYoutubeLine

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง