อะไรคือ Bond Yield ?
ทำไมเราต้องให้ความสำคัญกับ Bond Yield ?
แล้ว Bond Yield มีความสัมพันธ์กับตลาดหุ้นอย่างไร ?
Bond Yield คือ ผลตอบแทนพันธ์บัตรจากการที่นักลงทุนถือครอง ซึ่งผู้ลงทุนจะได้ผลตอบแทนในรูปของ "ดอกเบี้ย" จากการถือพันธบัตรนั้นๆ
... คิดง่ายๆเหมือนเราเอาเงินไปฝากธนาคาร เมื่อถือครบ 1 ปี เราก็จะได้ดอกเบี้ยเข้าบัญชีเงินฝากตามที่แบงก์กำหนดไว้ เช่น ได้ดอกเบี้ย 0.5% หรือ 1%
แต่สำหรับ Bond หรือพันธบัตร เป็นตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำ และพันธบัตรก็มีสัญญาว่าถ้าถือครองครบสัญญาจะได้ผลตอบแทนเท่าไร เช่น ได้ 1.2% หรือ 1.5%
ยิ่งพันธบัตรระยะสั้นก็จะได้ผลตอบแทนต่ำ ถ้าระยะการฝากยิ่งยาว เราก็จะได้ผลตอบแทนสูง คล้ายๆกับกรณีของฝากประจำไว้กับธนาคาร
จริงๆแล้ว Bond มีตลาดซื้อขายคล้ายๆกับตลาดหุ้น ยิ่งราคาของพันธบัตรลดลง ผลตอบแทนที่จะได้จากการถือครองจะเพิ่มขึ้น
สมมุติว่าราคาพันธบัตรฉบับนี้ 10 บาท จะได้ผลตอบแทน 1.5%
ถ้าราคาขายพันธบัตรฉบับนี้ 9 บาท เราจะได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบจากราคา จะอยู่ที่ 1.65%
ในขณะเดียวกัน ถ้าราคาพันธบัตรฉบับนี้พุ่งไปที่ 11 บาท เราจะได้ผลตอบแทนเทียบจากราคา อยู่ที่ 1.35%
กลับมาที่ประเด็น Bond Yield ที่เป็นข่าวอยู่ตอนนี้ คือ การเคลื่อนไหวพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ รุ่นอายุ 10 ปี
== แล้วเกี่ยวข้องอย่างไรกับตลาดหุ้น ==
การที่ Bond Yield พุ่งสูงขึ้น นักลงทุนจะรู้สึกว่า ทำไมเราต้องไปรับความเสี่ยงจากตลาดหุ้น เราไปซื้อพันธบัตรที่ความเสี่ยงต่ำแต่ได้ดอกเบี้ยแน่นอนไม่ดีกว่าเหรอ
... ด้วยเหตุนี้เองจึงเกิดการเทขายในหุ้น เพื่อมาถือครองพันธบัตรแทน
ผลตอบแทนพันธบัตร และ ดัชนี S&P500
ที่มาภาพ : CNBC
ในทางตรงกันข้าม ถ้า Bond Yield ให้ผลตอบแทนต่ำมากๆ นักลงทุนจะรู้สึกว่า เรายอมเพิ่มความเสี่ยงไปซื้อหุ้น จะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่า ในแง่ของราคาหุ้นและปันผล จึงนำเงินมาซื้อหุ้น ส่งผลให้หุ้นขึ้นได้นั้นเอง
ดังนั้น ทิศทางของ Bond Yield จะสวนทางกับตลาดหุ้นเสมอครับ
---------------------------------
แล้วจะมีบ้างไหมที่กรณี ผลตอบแทนระยะยาวต่ำกว่าผลตอบแทนระยะสั้น
คำตอบ คือ "มีครับ"
กรณีนี้เราจะเรียกว่า Invested Yield Curved
เป็นอย่างไรไปดูกัน : Inverted Yield Curve กับประเด็นที่ไม่เคยมีใครบอกคุณมาก่อน