ในการศึกษาเรื่องของ Price Pattern ที่คนไทยชอบเรียกกันว่าพฤติกรรมราคา เรามักจะพูดถึง Chart ของแท่งเทียน รูปแบบของ CandleStick Pattern รูปแบบต่างๆ เรามักจะมีคำถามอยู่ในใจ 3 คำถามคือ
1. อะไรคือ Price Pattern แล้วมันมีทั้งหมดกี่แบบ ?
2. รูปแบบของ Price Pattern ต้องจำไหม ?
3. ทำไมเวลาศึกษา Price Pattern แล้วต้องศึกษาแนวรับ-แนวต้านคู่กันไปด้วย ?
... วันนี้ต้องได้คำตอบครับ ....
1. อะไรคือ Price Pattern แล้วมันมีทั้งหมดกี่แบบ
... มีเยอะมาก และถ้าเราศึกษาแบบจริงๆก็คงจะเรียนรู้กันไม่หมด เช่นรูปแบบ Head and Shoulder หรือรูปแบบ Flag ทั้งหลาย
... ประเด็น คือ ถ้าจับคน 100 คนมาดูกราฟตัวเดียวกันแต่ละคนย่อมมองไม่เหมือนกัน คิดไม่เหมือนกัน เพราะถ้าเราคิดเหมือนกันแล้วก็คงจะ "Take Action" ไปในทางเดียวกันหมด แต่ในความเป็นจริงมีคนคิดต่าง เล่นสวนเป็น Contrarian หรือตั้งสัญญาณให้เร็วขึ้น มีคนหลากหลายรูปแบบ
ทำให้เกิดคำตอบไปยังข้อ 2 คือ รูปแบบของ Price Pattern ต้องจำไหม ?
คำตอบคือ ไม่ต้องจำครับ มันไม่ได้มีความจำเป็นจะต้องจำอะไรขนาดนั้น แต่เราควรจะเข้าใจถึง "พฤติกรรม" มากกว่า ซึ่งก็คือคือพฤติกรรมของราคาที่ทำให้เกิดแพทเทิร์นนั้นๆก็พอ เป็นเรื่องที่สำคัญมากกว่า
ในมุมของนักเก็งกำไรแล้ว เราจึงไม่พยายามชี้ว่านี้เป็น Pattern อะไร แต่จะสังเกตลักษณะพฤติกรรมของราคา พูดง่ายๆก็คือ Price Pattern ทุกประเภทจะมีลักษณะที่เหมือนกัน คือ มันจะมีการเหวี่ยงตัวและบีบตัวของราคาในรูปใดรูปหนึ่ง และสิ้นสุดด้วยการ Breakout
... สิ่งที่กำหนดว่า Break หรือไม่ Break นั้นให้สังเกตพฤติกรรมราคา กับ Trend ของราคาหุ้น
Price Pattern มี 2 ประเภทหลักๆ คือ
1. Contunuation Pattern รูปทรงที่สิ้นสุดด้วยการ Breakout ในทิศทางเดียวกับ Trend
2. Revearsal Pattern รูปทรงที่สิ้นสุดด้วยการ Breakout ในทิศตรงกันข้าม
ดังนั้นเมื่อเราศึกษา Price Pattern แล้ว สิ่งที่ต้องตามมาติดๆ คือ "แนวรับ" และ "แนวต้าน"
ทำไมแนวรับ และแนวต้านจึงสำคัญ ?
สำหรับคนที่ศึกษาและดูหุ้นมายาวนาน จะรู้สึกว่าแนวรับ แนวต้าน ถือเป็นเรื่องมหัศจรรย์อย่างหนึ่ง ทำไมพอราคาหุ้นมาถึงแนวรับแล้วเด้ง ต้องทดสอบอย่างน้อยหนึ่งครั้งก่อนแล้วอาจจะลงต่อ หรือเด้งแล้วเด้งเลยเข้าสู่ไซด์เวย์ แล้วปรับตัวเป็นเทรนขาขึ้น
หรือในอีกด้านหนึ่งพอชนแนวต้าน มันจะไม่ Break ทันที จะต้องลงก่อนเพื่อสะสมกำลัง หรือบีบตัวเพื่อทะลุผ่านขึ้นไป
เพราะฉะนั้นเวลาที่ดู Price Pattern แล้วอย่างลืมดูระดับแนวรับ - แนวต้าน ด้วย จะช่วยให้จังหวะเข้าออกหรือการเก็งกำไรของเรามีประสิทธิภาพมากขึ้น
ถ้ามัน Break ขึ้น เราก็ซื้อ
ถ้า Break ลง เราก็ขาย
รอให้กราฟนำก่อนแล้วเราค่อยตาม แต่วิธีนี้ก็ต้องระวังด้วยเพราะทุกคนคิดเหมือนกัน คือ Break ขึ้นแล้วซื้อตาม ทุกคนซื้อ ราคามันวิ่งไปไกล เวลาคนมีของเยอะๆขายลงมา จะทำให้เราเสียหายได้
ดังนั้นช่วงจังหวะของการบีบเราอาจจะซื้อไม้เล็กๆก่อน เรียกว่าเข้าหุ้นตั้งแต่ "ต้นน้ำ" ถ้าเบรคขึ้นจริงๆ ค่อยซื้อเพิ่ม แบบนี้ถึงจะได้ประโยชน์
โดยสรุป คือ เรื่องของ Price Pattern ไม่จำเป็นต้องจำทุกรูปแบบ แต่ให้เราสังเกตพฤติกรรมของราคา และใช้เรื่องของแนวรับ แนวต้าน เข้ามาร่วมด้วย ส่วนจังหวะของการซื้อขายนั้นก็อยู่ที่ "ใจ" ของผู้เทรดเองว่าชอบแบบไหน ชอบเข้าต้นน้ำ หรือปลายน้ำ ถ้าเข้าต้นน้ำก็จะได้คำใหญ่สักหน่อย แต่ก็เสี่ยงกับการ Stop loss ถ้าไม่เป็นไปตามคาด หรือถ้าเข้าปลายน้ำสัญญาณคอนเฟิร์ม แต่ก็ได้คำเล็กๆเพราะจะมีรายใหญ่ขายเทลงมา ถ้าออกไม่ทันก็จะติดหุ้นได้เหมือนกัน