#ข่าวหุ้นธุรกิจการลงทุน

ประเทศไทยหลัง COVID กับสิ่งที่น่ากังวล

โดย stock2morrow
เผยแพร่:
101 views

สาระสำคัญ

  • เศรษฐกิจไทยฟื้่นตัวได้ช้ากว่าที่คาดการไว้ เนื่องจากพิษ COVID-19
  • ตัวกำหนดเศรษฐกิจไทย คือ การท่องเที่ยว การฉีดวัคซีนให้คนในประเทศ และการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ
  • หลังผ่านพ้นโควิดแล้ว สิ่งที่น่ากังวล คือ ปัญหาของความเลื่อมล้ำ และความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

--------------------------------------------

KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ประเมินเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้ช้า กระทบภาคส่วนต่างๆ ส่งผลให้มีความไม่แน่นอนสูง โดยฝ่ายวิจัยมีการปรับ GDP ลงเหลือเพียงโต 2% จากเดิมที่คาดกันว่าน่าจะโตได้ราวๆ 3.5% โดยสาเหตุหลักมาจากการระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ ที่นำไปสู่การออกมาตรการจำกัดการระบาดและการชะลอลงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ความไม่แน่นอนต่างๆ อาจทำให้ความสามารถในการเปิดรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศล่าช้าออกไปอีก
... ในกรณีที่เลวร้ายสุด คือ ไม่สามารถควบคุมได้ อาจจะส่งผลให้มีการจำกัดที่ยาวนานขึ้น ภาคการท่องเที่ยวไม่ฟื้น อาจมีความเสี่ยงที่จะเห็นเศรษฐกิจไทยหดตัวถึงร้อยละ -1.2 ในปีนี้


3 ปัจจัยที่กำหนดเศรษฐกิจไทยในปี 2564 ได้แก่

1. ความสำเร็จในการควบคุมการระบาดรอบใหม่ ผลกระทบจากมาตรการควบคุมของรัฐ และขีดจำกัดของระบบสาธารณสุข ซึ่งหากการแพร่ระบาดใช้ระยะเวลานานในการควบคุม หรือจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเกิดความสามารถในการรองรับด้านสาธารณสุข อาจนำไปสู่การยกระดับความเข้มของมาตรการควบคุมภาครัฐ ส่งผลให้การใช้จ่ายของภาคเอกชนและการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศชะลอตัวลงอีกครั้ง

2. ประสิทธิผล ผลข้างเคียง และการกระจายวัคซีน หากวัคซีนไม่เป็นไปตามแผนทั้งในแง่ประสิทธิผลของการป้องกัน ผลข้างเคียงที่รุนแรง หรือความล่าช้าในการได้รับและการกระจายฉีดวัคซีนให้กับประชาชน อาจส่งผลต่อการควบคุมการระบาดและการเปิดการท่องเที่ยว และ

3. นโยบายการคลังและนโยบายการเงินเพื่อเยียวยาและกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยลดความเสียหายต่อเศรษฐกิจ ประคับประคองความอยู่รอดของภาคธุรกิจและแรงงาน และกระตุ้นเพื่อชดเชยกำลังซื้อและความต้องการในการลงทุนที่หายไปจนกว่าเศรษฐกิจจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้อีกครั้ง


ทั้งนี้ สิ่งที่ภาครัฐต้องให้ความสนใจ คือ
1. ปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านโอกาส ที่จะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นจากวิกฤตโควิด ทั้งโอกาสในการศึกษาและโอกาสด้านการทำงาน

2. ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ทั้งด้านการแข่งขันในตลาดส่งออกและการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ที่จะยิ่งเป็นปัญหามากยิ่งขึ้นจากความต้องการของผู้บริโภค โครงสร้างการค้า และห่วงโซ่การผลิตโลกที่จะเปลี่ยนแปลงไปหลังโควิด-19


----------------------------------------------

ขอบคุณแหล่งข้อมูล
KKP Research


ศูนย์รวมความรู้เรื่องหุ้น ศูนย์รวมนักลงทุนรายย่อย ที่อยากรู้วิธีการลงทุนในหุ้นอย่างถูกต้องและได้กำไรอย่างยั่งยืน ติดตามเราได้ที่

www.stock2morrow.com 

FB: stock2morrow 

LINE@stock2morrow

FacebookInstagramYoutubeLine

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง