ว่ากันว่าใครที่มี Data ของลูกค้ามากที่สุด หรือมี Ecosystem มากที่สุด จะเป็นผู้ชนะในการทำธุรกิจยุคปัจจุบัน
เหมือนกับกรณีของ Xiaomi ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนมือถือที่ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยแนวคิดของ Xiaomi คือ ผลิตสมาร์ทโฟนในราคาถูกและต้องมีคุณภาพ เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงได้ บริษัทพยายามตัดรายจ่ายที่ไม่เป็นจำเป็น เช่น โปรโมชั่น งบโฆษณา ตั้งหน้าร้านเพื่อมาขายของ หรือฝากขายแบ่งเปอร์เซ็นต์ สิ่งเหล่านี้ Xiaomi ไม่ทำ แต่จะใช้วิธีพูดกันปากต่อปาก แล้วก็ประสบความสำเร็จ
กลายเป็นว่า Xiaomi เป็นแบรนด์หนึ่งที่ผุ้บริโภคเชื่อใจในคุณภาพ ...
... ในขณะเดียวกันสินค้า เครื่องใช้ไฟฟ้าของจีน อาจจะไม่มีคุณภาพ แต่ถ้าได้ติดแบรนด์ Xiaomi เข้าไปแล้ว ผู้บริโภคก็ไว้วางใจได้ว่าของมีคุณภาพอย่างแน่นอน
Xiaomi ไม่ได้ลงทุนผลิตสินค้า หรือคิดค้นนวัตกรรมเอง แต่ใช้วิธี "ร่วมทุน" ไปถือหุ้นในสตาร์ทอัพหลายๆแห่ง ทำให้ผู้บริโภคเห็นว่ามีสินค้า Xiaomi อยู่จำนวนมาก และนวัตกรรมอยู่ในสินค้านั้นๆ บางอย่างสามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต เชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนได้ เรียกว่า Iot หรือ Internet of Things
แน่นอน .. การที่ Xiaomi เข้าไปถือหุ้นหลายสตาร์ทอัพ ก็มีบางแห่งที่ประสบความสำเร็จ บางแห่งที่ล้มหายไป บางแห่งสามารถขาย IPO เข้าตลาดหุ้นได้ และนี้คือ 4 สตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จของ Xiaomi
1. Smart Mi
ผู้ผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้ในครัวเรือน เช่น เครื่องปรับอากาศ เครื่องฟอกอากาศ เครื่องดูดฝุ่น หม้อหุงข้าว ทีวี พัดลม โดยมีจุดเด่นคือสามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต และสมาร์ทโฟนได้ กลายมาเป็นสินค้าประเภท Iot สามารถบังคับจากระยะไกลได้ เป็น Smart Object และทาง Xiaomi ก็สามารถเข้าถึงพฤติกรรมการใช้งานของผู้บริโภคได้ เป็น Big Data เพื่อนำไปต่อยอดในทางธุรกิจ
2. HuaMi
เริ่มต้นมาจากนาฬิกาสมาร์ทวอทช์ (Smart Watch) อุปกรณ์ที่ใช้วัดอัตราการเต้นของหัวใจ นับก้าว สวมใส่เพื่อการออกกำลังกายในชื่อ Mi Band ซึ่งขายในราคาท้องตลาดที่ประมาณ 12 เหรียญ (ประมาณ 300 บาท) ในขณะที่แบรนด์อเมริกาอาย่าง Fitbit ราคาสูงถึง 60 เหรียญ - 250 เหรียญ (2000 บาท - 7000 บาท) ของราคาถูกแถมมีคุณภาพ ทำให้ได้รับความนิยมอย่างมากทั่วโลก
ปัจจุบันขาย IPO เข้าตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ค ...
3. NineBot
ผู้ผลิตสินค้าประเภทสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า คนจีนเรียกกันว่า Hoverboard ได้รับความนิยมมากในประเทศจีน ราคาไม่แพง ใช้พลังงานไฟฟ้า สามารถเดินทางไปที่ใกล้ๆได้แถมยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
4. ZMI
ชื่อเดิม คือ Zimi Corporation และแบรนด์สินค้าของบริษัท คือ ZMI ผู้ผลิต Portable Power อุปกรณ์ชาร์ตไฟแบบพกพา คนไทยเรียกกันติดปากว่าพาวเวอร์แบงก์
ตั้งแต่ปี 2014-2019 บริษัทขายสินค้าไปแล้วมากกว่า 110 ล้านชิ้น
ปัจจุบันได้หลุดจากคำว่าอุปกรณ์ชาร์ตไฟแบบพกพา ไปใส่นวัตกรรมประเภท Pocket wifi ตัวปล่อยสัญญาณ 4G ซึ่งสามารถรองรับซิมส์ของเมืองไทยได้อีกด้วย
นี้ก็เป็น 4 ยูนิคอร์นที่ประสบความสำเร็จของ Xiaomiนั้นเองครับ ...