#มือใหม่เริ่มลงทุน

ทำไมการประเมินมูลค่าหุ้น จึงคลาดเคลื่อนได้

โดย stock2morrow
เผยแพร่:
193 views

การประเมินมูลค่าหุ้น ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นแค่การ "ประเมิน" หรือเป็นแค่การคาดเดาผลประกอบการว่ามีแนวโน้มจะออกมา บางครั้งก็คาดเคลื่อน บางครั้งก็ห่างไกลกันมาก
... ถึงแม้ว่านักวิเคราะห์ นักลงทุนสถาบันจะมีเครื่องมือที่พร้อมมากก็ยังประเมินมูลค่าหุ้นที่ผิดพลาดได้เช่นเดียวกัน

แล้วแบบนี้ เราควรจะต้องประเมินมูลค่าหุ้นอีกหรือ ?
ก็ในเมื่อมันไม่แม่นขนาดนั้น

เราต้องเข้าใจก่อนว่า การประเมินเป็นการมองภาพของอนาคตว่า "มีความน่าจะเป็น" ว่าจะออกมาเท่านั้นเท่านี้ ถ้าเรามีภาพของการประเมิน จะทำให้เราเข้าใจสถานการณ์ของบริษัทได้ดีมากยิ่งขึ้น และมีเหตุผลเพียงพอที่ยังคงถือหุ้นนั้นต่อไป หรือเราไม่ควรจะถืออีกต่อไปแล้ว

 

Aswath Damodaran ผู้เขียนหนังสือ The Little Book of Valuation และเป็นผู้ที่เข้าใจหลักการลงทุนเน้นคุณค่าอย่างลึกซึ้ง

ในหนังสือ The Little Book of Valuation เขียนโดย Aswath Damodaran บอกไว้ว่า มีปัจจัย 3 อย่างที่ทำให้เราประเมินมูลค่าหุ้นผิดพลาดได้ ไม่ว่าเราจะมีความรู้ ความเข้าใจ หรือเชี่ยวชาญมากแค่ไหนก็ตาม คือ ...


1. บริษัทเป็นการเคลื่อนที่แบบ Dynamic
กล่าวคือเรื่องของธุรกิจ จะเป็นลักษณะ "เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา" (มีความเป็น Dynamic สูง) เช่น สภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลง พฤติกรรมผู้บริโภค เหตุการณ์ New Normal เช่น COVID-19 ที่ทำให้เราอยู่บ้านมากขึ้น ทำกับข้าวกินเองมากขึ้น หรือใช้อินเตอร์เน็ตมากขึ้น เป็นต้น ความสามารถในการแข่งขันที่เมื่อก่อนยังสู้ได้ แต่พอเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น จะมีคู่แข่งหน้าใหม่เข้ามาและเติบโตได้เร็วจนแย่งส่วนแบ่งการตลาดไป

ด้วยสาเหตุเหล่านี้ หุ้นที่เราเคยมองว่า UnderValue ก็สามารถ OverValue ได้ง่ายๆเหมือนกัน


2. ยิ่งมองยาวยิ่งคาดเดาได้ยาก
การประเมินต้องมีการคาดการณ์เสมอ และการคาดการณ์ที่ไม่เหมาะสมก็ทำให้มูลค่าที่วัดออกมาได้คาดเคลื่อนไปมาก เช่น หุ้นที่เคยมี อัตรากำไรขั้นต้นในระดับ 30% มองย้อนไป 3 ปี ก็อยู่บริเวณนี้ ทำให้เราคิดว่าบริษัทมีอัตรากำไรขั้นต้นที่ดี แต่ถ้าหากมองย้อนกลับไปเป็น 10 ปี จะเห็นว่าบริาทมีอัตรากำไรขั้นต้นประมาณ 15-20% เท่านั้น แต่เนื่องจากออกสินค้าบางอย่าง หรือการบริการบางอย่างที่ทำกำไรดี ทำให้อัตรากำไรขั้นต้นสูงขึ้นนั้นเอง

และธุรกิจอะไรที่กำไรดี มันก็ยิ่งเป็นการเชิญชวนคู่แข่งให้เข้ามาในอุตสาหกรรมด้วย การแข่งขันก็ย่อมสูงตาม

อย่างไรก็ตาม การมองยาวๆ ถึงแม้จะคาดเดาได้ยาก แต่มันก็ช่วยลดความเสี่ยงในการกะเก็งความผันผวนจากตลาดได้ด้วยเหมือนกัน


3. มีภาพของเศรษฐกิจเกี่ยวข้องอยู่ตลอดเวลา
ปัจจัยเศรษฐกิจส่งผลกระทบต่อบริษัท เช่นเรื่องของค่าเงินอ่อน/แข็ง กระทบกับกลุ่มส่งออกและท่องเที่ยว การกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลส่งผลต่อการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค ตัวอย่างเช่น เราคาดการว่าบริษัทท่องเที่ยว XXX มี Occupancy Rate เฉลี่ย 75% แต่การกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น รัฐบาลจัดแพคเกตท่องเที่ยวในราคาถูก หรือสามารถนำมาลดหย่อนภาษีจากการท่องเที่ยวได้ จะทำให้ Occupancy Rate พุ่งเป็น 90% การประเมินมูลค่าหุ้นก็ย่อมเปลี่ยนแปลงไป


ดังนั้น การประเมินมูลค่าหุ้นต้องเผื่อความไม่แน่นอนด้วยเสมอ
ซึ่ง คุณ Aswath Damodaran แนะนำว่าความไม่แน่นอนนี้ละที่เราต้องมี Margin Of Safety หรือส่วนเผื่อเพื่อความปลอดภัยเสมอครับ


ศูนย์รวมความรู้เรื่องหุ้น ศูนย์รวมนักลงทุนรายย่อย ที่อยากรู้วิธีการลงทุนในหุ้นอย่างถูกต้องและได้กำไรอย่างยั่งยืน ติดตามเราได้ที่

www.stock2morrow.com 

FB: stock2morrow 

LINE@stock2morrow

FacebookInstagramYoutubeLine

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง