ในการวิเคราะห์หุ้นแบบพื้นฐาน จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ และวิเคราะห์เชิงคุณภาพ
1. การวิเคราะห์หุ้นเชิงปริมาณ
คือการวิเคราะห์ผลประกอบการ งบการเงิน สัดส่วนหนี้สินต่อทุน อัตราส่วนทางการเงินสำคัญ เช่น ROA ROE อัตรากำไรขั้นต้น อัตรากำไรสุทธิ แม้แต่การวิเคราะห์ P/E P/BV ก็ถือว่าเป็นการวิเคราะห์เชิงปริมาณ
พูดง่ายๆ คือการวิเคราะห์ในเชิงตัวเลขที่สามารถคำนวนได้ มีความชัดเจน
2. การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ
คือการวิเคราะห์ความสามารถทางการแข่งขัน อุตสาหกรรม ชื่อเสียง Brand ของบริษัท สินค้าที่บริษัทขาย คู่แช่งเป็นอย่างไร
เป็นสิ่งที่ไม่สามารถคำนวนได้ด้วยตัวเลข แต่อาศัยการเก็บข้อมูล การสัมผัส และประสบการณ์ตรงของผู้ลงทุนต่อบริษัทนั้นๆเอง
ประเด็นสำคัญ คือ การวิเคราะห์แบบไหนสำคัญกว่ากัน ?
จริงๆแล้งการวิเคราะห์ทั้งสองแบบจำเป็นจะต้องไปด้วยกัน
ถ้าเราวิเคราะห์แล้วบริษัท A อยู่ในอุตสาหกรรมที่น่าสนใจ กำลังเติบโต แต่บริษัท A มีปัญหาในเรื่องของการบริหารทางการเงิน คือ กู้เงินมาเยอะ ทำให้หนี้สินมากและจ่ายดอกเบี้ยไปเกือบหมด ทำให้ความสามารถในการทำกำไรน้อย ปันผลจึงน้อยตามไปด้วย หุ้นของบริษัทก็ไม่น่าลงทุนถึงแม้จะอยู่ในอุตสาหกรรมที่ดีก็ตาม
บางบริษัทเป็นบริษัทที่ผูกขาด แต่พอไปดูผลประกอบการปรากฏว่ามีอัตราการทำกำไรต่ำ ปันผลก็น้อย แสดงว่าบริษัทอาจจะมีปัญหาอะไรสักอย่าง นี้ก็เป็นการต้ังข้อสังเกตว่าบริษัทนี้ไม่น่าลงทุน
ตัวอย่างของการดูแต่การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ แต่ไม่ได้ดูการวิเคราะห์เชิงปริมาณก็ทำให้เราพลาดได้
ดังนั้นการวิเคราะห์ทั้งสองจึงต้องไปด้วยกัน ....
ชื่อเสียงก็เป็นเรื่องสำคัญ เหมือนกับกรณีของร้านสะดวกซื้ออย่างเซเว่น นี้ก็ไม่สามารถประเมินได้จากตัวเลขสินทรัพย์ของบริษัท
โรงพยาบาลกรุงเทพ เป็นโรงพยาบาลเอกชนที่มีชื่อเสียงในเรื่องของการบริการ ก็ไม่สามารถประเมินตัวเลข
ชื่อเสียงของโรงแรม ทำไมนักท่องเที่ยวต้องยอมจ่ายเงินแพงๆ คืนละเป็นหมื่นบาทเพื่อนอนแค่คืนเดียว เพราะนักท่องเที่ยวซื้่อความสบาย ซื้อบรรยากาศ ซื้อเวลาที่เงียบสงบในการพักผ่อน ปัจจัยเหล่านี้ก็ไม่สามารถประเมินเป็นตัวเลขสินทรัพย์ได้เช่นเดียวกัน
ดังนั้นการวิเคราะห์หุ้น ต้องวิเคราะห์คุณภาพและปริมาณ ไปพร้อมๆกันครับ