เส้นค่าเฉลี่ย หรือ Moving Average เป็นที่นิยมกันมากในหมู่นักเก็งกำไร ไม่เว้นแม้กระทั่งนักลงทุนที่ต้องการดูจังหวะของการซื้อขาย
คนที่ใช้ไปนานๆจะเริ่มเห็นว่าเส้น Moving Average เป็นเส้นค่าเฉลี่ยที่ค่อนข้างแม่นยำระดับหนึ่ง นอกจากจะบอกแนวโน้มขาขึ้น-ขาลง ได้แล้ว ยังใช้เป็นแนวรับ แนวต้านที่ได้ผลอีกด้วย
... นั้นแสดงว่ามีความเป็น "จิตวิทยา" มวลชนของคนในตลาดอยู่เหมือนกัน เมื่อคนในตลาดส่วนใหญ่เทรดคล้ายๆกัน ใช้เครื่องมือเหมือนๆกัน และเทคแอคชั่นเหมือนๆกัน ผลลัพธ์ก็จะออกมาเป็นไปอย่างที่คาดกันเอาไว้ เมื่อผลลัพธ์ถูกต้องบ่อยๆก็ยิ่งทำให้คนเชื่อว่า "มันได้ผล" จึงเกิดการทำซ้ำไปเรื่อยๆนั้นเอง
ในปัจจุบันไม่เพียงแค่นักลงทุนรายย่อยที่ใช้เครื่องมือทางเทคนิคเป็นอย่างเดียว แต่นักลงทุนสถาบัน กองทุนระดับประเทศก็ใช้เครื่องมือกราฟเทคนิเคิลด้วยเช่นกัน
ประเด็นคือ แล้วเราจะประยุกต์เครื่องมือนี้อย่างไรดี ... มีหลักคิดง่ายๆดังนี้ครับ
1. เมื่อตลาดหุ้นเป็นขาขึ้น (เล่นเหนือเส้นค่าเฉลี่ย) ... ในจังหวะหุ้นย่อตัวเข้าใกล้เส้น
- คนที่ขายเริ่มหยุดขายเพราะเห็นแท่งเทียนเข้าใกล้เส้นค่าเฉลี่ยแล้ว
- คนที่ถือ Short เริ่มปิดสัญญา เพราะมองว่าหุ้นน่าจะเริ่มถึงจังหวะเด้งบ้าง
- คนที่ถือเงินสด ก็จะซื้อตอนเข้าใกล้เส้นค่าเฉลี่ย เพราะคิดว่าหุ้นลงมาเยอะแล้ว
2. เมื่อตลาดหุ้นเป็นขาลง (เล่นใต้เส้นค่าเฉลี่ย) ... ในจังหวะหุ้นวิ่งขึ้นจนเข้าใกล้เส้นค่าเฉลี่ย
- คนซื้อเริ่มหยุดซื้อ เพราะคิดว่าหุ้นไม่น่าจะผ่านเส้นไปได้ อาจจะทดสอบก่อนเพื่อสะสมกำลังรอบใหม่
- คนที่ซื้อมาตั้งแต่ข้างล่าง เริ่มอยากขายหุ้นเพราะคิดเหมือนกันว่าหุ้นขึ้นมาสักพัก เข้าใกล้เส้นค่าเฉลี่ยแล้วขายทำกำไรเพื่อสะสมกำลังใหม่ก่อน
- คนที่ถือ long เริ่มปิดสัญญา ในขณะที่คนอยาก Short เริ่มเปิดสัญญเพราะคิดว่าหุ้นน่าจะติดแนวต้านไม่สามารถผ่านเส้นค่าเฉลี่ยไปได้
เส้นค่าเฉลี่ย ถือเป็นเครื่องมืออีกอย่างหนึ่งที่มีประสิทธิภาพมาก และการใช้งานไม่ยาก ไม่ซับซ้อนเหมาะสำหรับนักลงทุนมือใหม่ที่อยากทำความเข้าใจ รวมถึงมือโปรก็นิยมใช้กันมากเช่นกัน
เพราะในเส้นค่าเฉลี่ย มี "จิตวิทยามวลชน" ซ่อนไว้อยู่ ....