ไม่อยากโดนหุ้นที่เพิ่มทุนทำอย่างไร ?
หุ้นที่มี D/E Ratio ต่ำๆ ดีกว่าหุ้นที่มี D/E Ratio สูงๆอย่างไร
แล้วหุ้นทีมี D/E Ratio สูง ดีหรือไม่ดีกันแน่
คำถามเหล่านี้น่าจะติดอยู่ในใจของนักลงทุนมือใหม่จำนวนมาก เราจะมาทำความเข้าใจกันสักหน่อยครับว่า D/E Ratio คืออะไร ใช้อย่างไร และมีประโยชน์อย่างไรในการลงทุน
D/E Ratio ย่อมาจาก
D ย่อมาจาก Debt คือ หนี้สินรวมของบริษัท
E ย่อมาจาก Equity คือ ส่วนของผู้ถือหุ้น(ส่วนของทุน)
ดังนั้น D/E Ratio ก็คือ การนำหนี้สินรวมของบริษัทมาเปรียบเทียบกับส่วนของผู้ถือหุ้น โดยนำหนี้สินรวมมาหารด้วยส่วนของผู้ถือหุ้นนั่นเอง
ในวิกฤต COVID ที่เกิดขึ้น มีทั้งบริษัทที่ได้รับผลกระทบหนัก และได้รับผลกระทบเบา โดยส่วนใหญ่แล้วบริษัทที่ได้รับผลกระทบหนัก มักจะมี D/E Ratio ค่อนข้างสูง เพราะรายได้หาย แต่หนี้สินไม่ได้หายตามไปด้วย อาจจะมีปัญหากับงบดุลได้ในภายหลัง
โดยปกติแล้ว D/E Ratio ต่ำๆ จะดีกว่า ...
1. D/E = 1 แสดงว่ามีหนี้สินรวมเท่ากับส่วนของผู้ถือหุ้น มีความเสี่ยงปานกลาง
2. D/E < 1 แสดงว่ามีหนี้สินรวมน้อยกว่าส่วนของผู้ถือหุ้น มีความเสี่ยงน้อยกว่ากรณีที่ 1 และ 3
3. D/E > 1 แสดงว่ามีหนี้สินรวมมากกว่าส่วนของผู้ถือหุ้น
แสดงให้เห็นว่าบริษัทนั้นมีหนี้สินน้อย มีโอกาสกู้เงินมาลงทุน ทำโครงการได้อีกเยอะ แต่ถ้ามากกว่า 1.5 ขึ้นไป ถือว่าค่อนข้างสูง มีความเสี่ยงแล้ว และถ้ามีค่ามากกว่า 2 ขึ้นไป มีความเสี่ยงสูงที่งบดุลจะตึงตัว เวลาเกิดปัญหาคือ อาจจะต้องเพิ่มทุนเข้ามาเพื่อให้ส่วนของผู้ถือหุ้น (Equity) มากขึ้นนั้นเอง
ดังนั้น ถ้าเราไม่อยากเสี่ยงหุ้นที่มีการเพิ่มทุน ให้เลือกหุ้นที่มี D/E Ratio จะปลอดภัยกว่า
บริษัทที่มีหนี้สินต่ำ งบดุลแข็งแกร่งแต่อาจจะต้องแลกมาด้วยการไม่เติบโตของรายได้
ถ้าอย่างนั้น เวลาเราเลือกหุ้น เราก็ต้องเลือกหุ้นทีมี D/E Ratio ต่ำๆไปเลย จะได้ไม่เกิดปัญหา
แต่นั้นก็เป็นคำพูดที่ถูกเพียงครึ่งเดียว ...
เพราะหุ้นทีมี D/E Ratio ต่ำๆ อาจจะบ่งบอกว่าช่วงเวลาที่ผ่านมาไม่ได้มีการลงทุนอะไรเพิ่ม ทำให้ผลประกอบการไม่เติบโต (หุ้นไม่มี Growth) เมื่อกำไรไม่โต ปันผลก็เพิ่มไม่ได้ ทำให้ราคาหุ้นขึ้นได้ยากนั้นเอง
สรุป ข้อควรรู้เกี่ยวกับ D/E Ratio ...
1. ถ้าไม่อยากซื้อหุ้นทีมีความเสี่ยงเพิ่มทุน ทำอย่างไร
ตอบ หุ้นที่มี D/E Ratio ต่ำๆ มีความเสี่ยงที่จะไม่เพิ่มทุน
2. หุ้นที่มี D/E Ratio ต่ำๆ ดีกว่าหุ้นที่มี D/E Ratio สูงๆอย่างไร
ตอบ หุ้นทีมี D/E Ratio ต่ำๆ มีสภาพคล่องที่ดีกว่า กู้เงินมาลงทุนได้ มาเป็นกระแสเงินสดหมุนเวียนในบริษัทได้ งบดุลไม่ตึงตัว และมีโอกาสเพิ่มทุนน้อยกว่าหุ้นที่มี D/E Ratio สูงๆ
3. หุ้นทีมี D/E Ratio สูง ดีหรือไม่ดีกันแน่
ตอบ มีทั้งดีและไม่ดีครับ
ด้านที่ดี - เป็นหุ้นที่มีการเติบโตสูง ดูอัตรากำไรขั้นต้น อัตรากำไรสุทธิที่เพิ่มสูงขึ้น ROI ROE ประกอบ
ด้านที่ไม่ดี - มีความเสี่ยงในการเพิ่มทุน
บริษัทที่มีหนี้สินต่อทุนสูง แสดงว่ากู้เงินมาลงทุนมาก สิ่งที่จะตามมาคือรายได้โตกระโดด
D/E Ratio ถือเป็นอัตราส่วนสำคัญที่นักลงทุนไม่ควรมองข้ามครับ