กราฟเครื่องมือมีหลากหลายชนิด บางเครื่องมือมีการตีความได้หลากหลายขึ้นอยู่กับ "ความเชื่อ" และ "มุมมอง" ของนักเก็งกำไรว่าจะปรับเปลี่ยนเครื่องมือให้ใช้อย่างไรมีความเหมาะสม
RSI หรือ Relative Strength Index เป็น Indicator ยอดฮิตที่นักลงทุนต้องรู้จักเป็นอย่างดี แต่รู้หรือไม่ว่าในเครื่องมือตัวเดียวกัน แต่นักเก็งกำไรแต่ละคนกลับตีความหมายของ RSI แตกต่างกัน และใช้แตกต่างกันด้วย แล้ววิธีใช้ที่ถูกต้องเป็นอย่างไรกันแน่ วันนี้จะมาไขความลับกันครับ
1. RSI เป็นเครื่องมือบอก Oversold และ Overbought
ค่ามาตรฐานของ RSI จะอยู่ที่ 50 ถ้าเส้น RSI อยู่ในระดับมากกว่า 70 นั้นแสดงว่าราคาหุ้นขึ้นมาเยอะมีการทำ Overbought ไปแล้ว ราคาหุ้นร้อนแรงเกินไป ดังนั้นราคาหุ้น "อาจจะ" มีแนวโน้มปรับฐานระยะสั้นเพื่อลดความร้อนแรงลงมา
เครื่องมือใช้บอกสภาวะ Oversold และ Overbought
ที่มาภาพ : Bisnews Profesional
ในขณะเดียวกัน ถ้า RSI อยู่ในระดับน้อยกว่า 30 นั้นแสดงว่าราคาหุ้นลงมาเยอะมากแล้วจึงเกิดสภาวะ Oversold ดังนั้น ราคาหุ้น "อาจจะ" เด้งขึ้นได้บ้างในระยะสั้น
อย่างไรก็ตาม บางครั้งหุ้นเกิดเหตุการณ์พิเศษ คือ อยู่ในสภาวะ Overbought แล้วยังสามารถขึ้นต่อไปได้เรื่อยๆ แสดงว่าหุ้นอยู่ในสภาวะขาขึ้นแข็งแกร่ง นักเก็งกำไรบางกลุ่มตีความว่าจังหวะนี้เป็นจังหวะที่ควรเข้าไปซื้อเก็งกำไร
... ในทิศทางเดียวกัน หุ้นที่ลงมาเยอะอยู่ในสภาวะ Oversold กลับไม่รีบาวเลย จึงตีความได้ว่าหุ้นเป็นเทรนขาลงอ่อนแอมาก นักเก็งกำไรบางคนจึงไม่เข้าไปซื้อหุ้น
การตีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสถานการณ์
2. RSI เป็นเครื่องมือบอก Momentum ของหุ้น
Momentum คือสภาวะความแข็งแรงของหุ้นในการบ่งบอกทิศทางของหุ้นตัวนั้นๆว่าจะยังคงสภาวะนั้นต่อไปได้อีกหรือไม่ กล่าวคือ หุ้นขึ้น แต่ขึ้นแข็งแกร่งหรือไม่ ยังมีแรงส่งต่อไปอีกหรือเปล่า ถ้าหุ้นลง จะมีโอกาสลงต่ออีกไหม นักเก็งกำไรสามารถใช้ RSI ช่วยจับจังหวะ หรือดูแรง Momentum ของหุ้นได้
ถ้าหุ้นอยู่เหนือค่า 50 และเส้น RSI ยังชี้ขึ้นต่อไปได้เรื่อยๆ นั้นแสดงว่าหุ้นมี Momentum เชิงบวก
ถ้าหุ้นอยู่ใต้ค่า 50 และเส้น RSI ยังลงต่อไปได้เรื่อยๆ นั้นแสดงว่าหุ้นมี Momentum เชิงลบ
ถ้าหุ้นอยู่เหนือค่า 50 และวันถัดมามีการตัดค่า 50 ลงมา แสดงว่าหุ้นมีการเปลี่ยน Momentum เชิงบวกมาเป็น Momentum เชิงลบ นักเก็งกำไรอาจจะอาศัยจังหวะนี้ขายออกไป
อย่างไรก็ตาม บางคนมีการใช้ที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ...
ถ้า RSI เปลี่ยนจาก Oversold เป็น Overbought ครั้งแรก แปลว่าเทรนด์ขาลงสิ้นสุดลงแล้ว และกำลังเปลี่ยนเป็นขาขึ้น
แต่ถ้า RSI เปลี่ยนจาก Overbought เป็น Oversold ครั้งแรก แปลว่าเทรนด์ขาขึ้นสิ้นสุดลงแล้ว และกำลังเปลี่ยนเป็นขาลง
3. RSI เป็นเครื่องมือบอก Divergence ที่ดูง่ายกว่าเครื่องมืออื่นๆ
Divergence คือ สัญญาณขัดแย้งระหว่าง "ราคาหุ้น" และ "Indicator" ปัจจุบันมี 2 แบบ คือ Bullish Divergence และ Bearish Divergence
เครื่องมือใช้บอกสภาวะ Divergence ที่สังเกตได้ง่าย
ที่มาภาพ : Bisnews Profesional
ราคาหุ้นขึ้นต่อทำ New High ได้แต่ RSI ไม่ขึ้นตามหรือไม่ได้มี High ใหม่ตามราคาหุ้นเป็นสัญญาณ Divergence ที่อาจจะทำให้หุ้นลงหรือเกิดการปรับฐานระยะสั้นได้
ในขณะเดียวกัน ราคาหุ้นทำ New low แต่ RSI ไม่ได้ทำ Low ตาม กลับเริ่มยก High ได้ อาจจะเป็นสัญญาณที่หุ้นอาจจะกลับมารีบาวหรือมีการเปลี่ยนแนวโน้มระยะสั้น
ที่สำคัญ RSI เป็นเครื่องมือบอก Divergence ที่นิยิมใช้กันมาก เมื่อนิยมใช้กันมาก คนส่วนใหญ่เห็นแบบเดียวกัน มันจึงให้ "แนวโน้ม" ที่มีความเป็นไปได้สูง ...
เห็นไหมว่าเครื่องมือตัวเดียวกัน แต่กลับมีวิธีใช้ที่แตกต่างกันในแต่ละคน ใช้ไม่เหมือนกัน อ่านค่าไม่เหมือนกัน แต่ RSI ก็ถือว่าเป็นเครื่องมือตัวหนึ่งที่นิยมใช้กันมากสำหรับนักเก็งกำไร
คำถามสำคัญ คือ ใช้แบบไหนจึงจะถูก ... ?
ตามประสบการณ์แล้ว ไม่มีคำว่าถูก 100% ใช้แบบไหนที่สามารถทำเงินให้เราได้ ถือว่าเราใช้ถูกวิธีแล้ว ให้ยืดถือต่อไป มีวินัยในการเทรดต่อไป แต่จะเป็นการดีกว่าถ้าเรานำ RSI มาใช้ควบคู่กับเครื่องมือชนิดอื่น เช่น เส้นค่าเฉลี่ย หรือ MACD จะดีกว่ามากครับ ..