อาทิตย์ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสไปบรรยายในงาน ITS World Congress 2019 ซึ่งเป็นงานสัมมนาธุรกิจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมคมนาคมที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีการนำเสนองานวิจัยและวิทยาการใหม่ๆ มากมาย
ได้ข้อสรุปว่าธุรกิจและองค์กรใดๆ ที่ข้องเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ หรือ “mobility” เช่น ธุรกิจยานยนต์ ธุรกิจการนำทาง ธุรกิจขนส่ง ประกันภัย หรือธุรกิจสร้างเมืองในยุคสมัยหน้า จะถูกเปลี่ยนแปลงด้วยคลื่นเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างรวดเร็ว
ไม่ว่าจะโดยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ที่แทรกอยู่ในทั้งระบบการขับเคลื่อนรถยนต์ไร้คนขับ เทคโนโลยีโดรน ไปจนถึงเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งระบบจัดการข้อมูลจาก IoT devices จำนวนมาก เพื่อให้การเคลื่อนที่ของมนุษย์เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ รื่นเริง และปลอดภัยมากที่สุด “mobility is connectivity”
สมัยก่อน ขอเพียงยานพาหนะของเราเคลื่อนที่ได้ก็บุญแล้ว
รถยนต์วิ่งได้ดี จุคนได้พอดี วิ่งได้ไม่กินน้ำมันเกินไป ก็เพียงพอ ถึงแม้มันจะไม่เชื่อมต่อกับอะไรเลยก็ไม่เป็นอะไรมากนัก ในเชิงคมนาคม mobility ถือเป็นเป้าหมายสูงสุดมานานหลายปี
แต่ดูจากวิทยาการล่าสุดและความเคลื่อนไหวของบริษัทและเทศบาลในหลายประเทศแล้ว ดูเหมือนว่า mobility ได้คิดค้นนิยามความหมายใหม่ของตัวมันเองขึ้นมาแล้ว ณ เวลานี้ คำว่า mobility เทียบเท่ากับคำว่า connectivity หรือ “การเชื่อมต่อ” ในสังคมเมืองในอนาคต การไม่มี connectivity แทบจะแปลว่าไม่มี mobility เลยเสียด้วยซ้ำไป
เหตุเนื่องมากจากการที่ในอนาคตทุกสิ่งทุกอย่างจะเกิดการเชื่อมต่อกัน ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์มือถือ wearables ที่เราใช้ รถยนต์ที่เรานั่ง ไปจนถึง physical assets ต่างๆ ที่ปรากฏอยู่บนท้องถนน โดยเฉพาะในโลก 5G ที่จะทำให้การเชื่อมต่อนี้รวดเร็วและรองรับจำนวนของสิ่งเหล่านี้มากขึ้น
ที่ต้องเชื่อมต่อ ก็เพราะว่า value ต่อลูกค้าและต่อประชาชนจะถูกขับเคลื่อนด้วย analytics engine ที่ต้องการข้อมูลเป็น input หากไม่มีการเชื่อมต่อ ก็จะไม่มีข้อมูล เมื่อไม่มีข้อมูลก็จะไม่เกิด value ใหม่ๆ เหล่านี้
ตัวอย่างที่ 1: Traffic controller ในเมืองเบอร์ลิน
ในบางเมือง การดูแลการจราจรทั้งระบบสามารถอยู่บน dashboard เดียวที่เปิดได้ด้วย web browser ในทุกๆ ห้วงเวลา จะสามารถมองเห็นถึง “สุขภาพ” ของสี่แยกไฟเขียวไฟแดงได้ทั้งเมือง และมีระบบเตือนว่าสี่แยกไหนกำลังรถติดเกิน “ค่าที่ยอมรับได้” นอกจากจะเก็บเรื่องการเปลี่ยนสัญญาณไฟแล้ว มันยังเก็บเรื่องปริมาณรถด้วย มันถึงสามารถปรับระบบให้สับไฟได้อย่าง optimal ขึ้น ไม่ใช่ว่าไม่มีรถ แต่ยังขึ้นไฟแดง
ตัวอย่างนี้ เกิดจากความร่วมมือระหว่างเทศบาลและบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่อย่าง SIEMENS ที่ทำให้คุณภาพชีวิตคเมืองดีขึ้น
ตัวอย่างที่ 2 : connected vehicles
Connected vehicles นั้นไปไกลกว่าเรื่อง autonomous vehicles ในกลุ่มผู้สนับสนุนรถยนต์ไร้คนขับ จะมองไปถึงอนาคตที่เราไม่จำเป็นต้องเสียเวลามนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นคนขับรถ หรือ เราเองที่เป็นคนขับ และจะได้ใช้เวลาทำอย่างอื่น ระหว่างการเดินทาง และขอบจินตนาการของอนาคตนี้มันไปไกลกว่านั้น มันไปถึงการดีไซน์ถนนและเมืองใหม่ ให้เหมาะกับการเคลื่อนที่แบบใหม่มากขึ้น
หากในอนาคตผู้คนเลิกที่จะเป็นเจ้าของรถยนต์ และนิยมการเช่าใช้แบบ sharing economy มากขึ้น ลานจอดรถขนาดเล็กจะถูกแปรสภาพ เป็นพื้นที่ใช้สอยอื่นๆ ที่เกิดประโยชน์มากขึ้น จะเป็นร้านค้า ร้านอาหาร เป็น co-working space ก็เป็นได้
ทว่าเรื่อง autonomous vehicles นั้นพูดกันมานานแล้ว และยังดูว่ายังต้องการอีกหลายปีพอสมควร โดยเฉพาะการ integrate เข้ากับการใช้งานจริงในประเทศต่างๆ ทั่วโลก connected vehicles เป็นอะไรที่จะมาเร็วกว่ามาก และมาถึงปัจจุบันแล้วในบางกรณี มันคือการที่รถยนต์สามารถทำการสื่อสารกับโลกภายนอก
ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลการทำงานของชิ้นส่วน สื่อสารไปยังศูนย์ซ่อมก่อนเพื่อให้สั่งอะไหล่มารอ หรือจะเป็นการสื่อสารข้อมูลความเร็วและพฤติกรรมการขับรถระหว่างรถบรรทุกขนของกับศูนย์ควบคุมสินค้า ซึ่งนอกจากจะช่วยในเรื่องของความปลอดภัยแล้ว ยังช่วยกำกับการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพของผู้ส่งของด้วย เห็นตัวอย่างเกี่ยวกับ connectivity ที่จะมาปรับบทบาทธุรกิจเกี่ยวกับการเคลื่อนที่แล้ว เรียกได้ว่ากระทบแทบธุรกิจ ไม่เพียงแค่ธุรกิจยานยนต์เพียงอย่างเดียว