#วางแผนการเงิน

วางแผนเพื่อวันดีๆ ของเรา ตอนที่ 3

โดย มงคล ลุสัมฤทธิ์
เผยแพร่:
129 views

ตอนนี้คุณคงเริ่มเห็นความสำคัญของการวางแผนเกษียณกันแล้วว่า แต่แล้วเราต้องมีเงินเก็บเท่าไหร่ถึงจะพอใช้ในชีวิตหลังเกษียณ? บางคนบอกว่ามี  1 ล้านบาทก็พอ บางคนบอกต้อง 5 ล้านบาท หรือบางคนบอกว่า 10 ล้านบาท 20 ล้านบาทก็ยังไม่พอ

คนส่วนใหญ่จะประเมินจากความรู้สึกของตัวเอง ว่าเท่านั้นเท่านี้จะพอ แต่พอถึงเวลาเกษียณจริงๆ แล้วมันไม่พอล่ะ  ยุ่งเลย เพราะเราย้อนเวลากลับมาแก้ไขไม่ได้ ทุกๆ วันที่ผ่านไปมันผ่านแล้วผ่านเลย ซึ่งก็รวมถึงการเตรียมตัวเพื่อเกษียณด้วย การที่เรารู้ว่าต้องมีเงินจำนวนเท่าไหร่พอใช้ไปตลอดหลังเกษียณต้องเริ่มต้นจากการประเมินจำนวนเงินต่อเดือนหรือต่อปีที่เราต้องมีไว้ใช้หลังเกษียณครับ

 

ผมมีวิธีการประเมินว่าเราต้องมีเงินไว้ใช้หลังเกษียณ อยู่ 2 วิธีคือ

1.ประเมินจากรายได้ เราควรมีเงินพอใช้ จ่ายหลังเกษียณประมาณ 70% ของรายได้ก่อนเกษียณ เช่นประเมินแล้วว่า ถ้าเดือนสุดท้ายในวัยเกษียณ เรามีรายได้ 100,000 บาทนั่นหมายความว่าหลังเกษียณเราควรมีรายได้ประมาณ 70,000 บาทต่อเดือน และต้องเพิ่มขึ้นในปีต่อๆไป เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นด้วย ทั้งหมดก็เพื่อรักษาระดับไลฟ์สไตล์ให้เหมือนเดิมได้ต่อไปจนถึงวันสุดท้ายของชีวิต

2.ประเมินจากค่าใช้จ่ายในปัจจุบัน เพื่อการรักษาไลฟ์สไตล์ในช่วงหลังเกษียณให้เหมือนปัจจุบัน เราจำเป็นจะต้องมีเงินในจำนวนที่มีมูลค่าเท่ากับจำนวนที่เราใช้จ่ายในปัจจุบัน เช่น ปัจจุบัน เราต้องมีเงินเพื่อใช้จ่ายเดือนละ 30,000 บาท หรือปีละ 360,000 บาทแต่เมื่อถึงวันที่เกษียณ เราต้องมีเงินมากกว่านั้น เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อจะทำให้ข้าวของราคแพงขึ้น

 

 

อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยของประเทศไทยจะอยู่ที่ประมาณ 3.3% ต่อปี ถ้าในปัจจุบันเราอายุ 35 ปี และเราจะเกษียณอายุ 60 ปี นั้นคืออีก 25 ปีข้างหน้า ถ้าเป็นอย่างนี้ จำนวนเราที่จำเป็นต้องมีจะไม่ใช่แค่ 360,000 บาทต่อปีแล้วนะครับ แต่เราต้องมีถึงปีละ 810,607 บาทถึงจะมีไลฟ์สไตล์แบบปัจจุบันได้

 

แต่เวลาที่เหลือก่อนเกษียณของแต่ละคนไม่เท่ากัน ผมเลยทำตารางมาให้ดูง่าย ๆ ตามนี้ครับ (ในสมมุติฐานอัตราเงินเฟ้อปีละ 3.3% และค่าใช้จ่ายปัจจุบันเดือนละ 20,000 บาท หรือปีละ 240,000 บาท)

 

 

ทั้งนี้เราก็รู้แล้วว่าในวันที่เกษียณเราต้องมีเงินเท่าไหร่? แต่อย่าลืมว่าในปีต่อๆ ไป เงินก้อนนี้มันอาจไม่พอใช้แล้วนะ เพราะเงินเฟ้อ (อีกแล้วอ่ะ) ทำให้เราต้องถามตัวเองว่า “แล้วคิดว่าเราจะมีอายุถึงเท่าไหร่?”

อายุเฉลี่ย ของคนไทยในปัจจุบัน ชาย 70 ปี หญิง 76 ปี (ผู้หญิงเป็นเพศที่อึดฝุดๆจริงๆ ด้วย อิอิ) และในอนาคตก็มีแน้วโน้มที่จะอายุยืนยาวขึ้นไปเรื่อยๆ  เราก็เลยต้องวางแผนเผื่อไว้ก่อนว่าเราจะอยู่ถึงอายุ 85 ปีเหมือนคุณปู่ คุณทวดของเราบางท่านที่ยังอยู่

 

บางคนบอกว่าอย่างผม 70 ก็”ปแล้วไม่อยู่หรอก “น่าเสียดาย ถ้าตายแล้ว สิ่งที่ต้องเอามาคิดในการคำนวณกองทุนเกษียณ “และ” อัตราเงินเฟ้อหลังเกียณ

 

ถ้าหลังจากเกษียณ เราหาผลตอบแทนได้เท่าเงินเฟ้อ แบบนี้คิดง่ายๆ คือเอาจำนวนเงินที่ต้องใช้หลังเกษียณปีละ 540,505 บาท จำนวนปีหลังเกษียณ คือ 25 ปี ดังนั้นกองทุนเกษียณที่ต้องมีคือ 13,510,125 บาท เกษียณคือ 25 ปี ดังนั้นกองทุนเกษียณที่ต้องมี 13,510,125 บาท (540,405 บาท *25 ปี)

แต่ถ้าผลตอบแทนได้น้อยกว่าเงินเฟ้อเราก็ต้องหาเงินมากขึ้นเพื่อเผื่อให้เงินเฟ้อกัดกินได้ ตรงกันข้าม ถ้าหาผลตอบแทนได้มากกว่า เงินเฟ้อ ผลตอบแทนนั้นจะช่วยให้เราได้เตรียมเงินน้อยลง แต่มี ข้อควรระวังในการลงทุนหลังเกษียณ ก็คือไม่ควรลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง ขอแค่เอาชนะเงินเฟ้อได้เล็กน้อยก็พอแล้ว

ที่นี้ถ้าอยากรู้ว่า เราต้องมีเงินเท่าไหร่เมื่อวัยเกษียณ ถ้าช่วงอายุที่เราเริ่มไม่เท่ากัน และความสามารถในการหาผลตอบแทนหลังเกษียณไม่เท่ากัน ให้ดูตารางนี้นะครับ ผมเรียกตารางนี้ว่า “กองทุนเกษียณอายุที่ต้องมีในวัยเกษียณ” เพื่อที่จะเบิกใช้ได้เดือนละ 20,000 บาท (ในมูลค่าปัจจุบัน) เป็นเวลา 25 ปี (อายุ 60-85 ปี) ณ อัตราผลตอบแทนต่างกัน โดยมีอัตราเงินเฟ้อ 3.3% ต่อปี

 

 

นี่เป็นตัวเลขกองทุนเพื่อการเกษียณอายุ สำหรับคนที่มีค่าใช้จ่ายส่วนตัวในปัจจุบัน เดือนละ 20,000 บาท เท่านั้นถ้าใครมีค่าใช้จ่ายส่วนตัวมากกว่านี้ ก็ลองคำนวณดูกันนะครับ

 

เห็นตัวเลขแล้วอย่าพึ่งถอดใจ เพราะวิธีที่จะถึงเป้าหมายนั้นไม่ยาก


เจ้าของเพจที่รวมและแบ่งปันความรู้วางแผนการเงิน เพจ : Financial Times by Mongkol นักออกแบบความมั่งคั่ง โดยมงคล ลุสัมฤทธิ์ (Wealth Designer)

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง