#วางแผนการเงิน

วางแผนเพื่อวันดีๆ ของเรา ตอนที่ (1)

โดย มงคล ลุสัมฤทธิ์
เผยแพร่:
112 views

ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ยุคที่เรียกว่า “Aging Society” เราเป็นสังคมผู้สูงอายุมากขึ้นทุกวัน โดยถ้าดูจากสถิติโครงสร้างประชากรไทย จะพบว่าในปี 2553 ประเทศไทยมีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปเป็นสัดส่วน 9% ของประชากรทั้งหมด และจะเพิ่มขึ้นเป็น 14% ในปี 2564 และจะเพิ่มขึ้นเป็น 20% ในปี 2574 เมื่อนั่นละครับ เราจะพูดได้เต็มปากว่าประเทศไทยเป็น สังคมสูงวัยในระดับสุดยอด เรียบร้อยแล้ว

 

 

คำถามก็คือ วันนี้สังคมไทยมีการเตรียมพร้อมรับมือวัยเกษียณกันแค่ไหน ?

ผมพบว่าคนไทยเรายังไม่ตื่นตัวเรื่องนี้เท่าที่ควรเมื่อเทียบกับหลายๆ ประเทศที่เจริญแล้วทางเศรษฐกิจ อย่างเมื่อหลายปีก่อน ผมไปประชุม MDRT ที่เมืองโตรอนโต้ (MDRT ย่อมาจาก Million Dollar Round Table) องค์กรณ์อิสระที่รวบรวมผู้เชียวชาญทางด้านการเงินไว้มากกว่า 74 ประเทศ จาก 450 บริษัททางการเงิน ก่อตั้งตั้งแต่ปี ค.ศ.1927 ผมได้ซื้อนิตยสารเล่มหนึ่งเกี่ยวกับการวางแผนเกษียณอายุของคนที่นู่นมาอ่าน

หนึ่งในหัวข้อที่ผมชอบมากคือ “How much you need to safe” เค้าถามว่าเราต้องเก็บเงินเท่าไหร่ไว้ใช้ในยามเกษียณ ถือเป็นการให้ความร้างการเงินที่ดีมากๆ ให้กับคนของเค้า เรื่องนี้ในต่างประเทศให้ความสำคัญมากๆ ขนาดว่ามีการเตรียมความพร้อมให้กับคนของเค้าแล้วส่วนหนึ่งแต่เค้ายังแสวงหาความรู้และเตรียมความพร้อมเรื่องเกษียณกันอย่างจริงจรัง

 

 

ในหนังสือเล่มนี้ ซูซี่ ออร์แมน (Suze Orman) ซึ่งเป็นนักวางแผนการเงินชื่อดังของโลก และเป็นวิทยากรประจำในรายการของ Oprah Winfrey Show ได้นิยามคำว่า “วันเกษียณ” ไว้อย่างน่าสนใจเค้าบอกว่าวันเกษียณคือวันที่เราได้มาตอนเช้า แล้วถามตัวเองว่าวันนี้เราจะไปทำอะไรดีๆ นะ? ผมอ่านแล้วรู้สึกประทับใจ เพราะมันหมายถึงวัยหลังเกษียณ ควรจะเป็นวัยที่เราสามารถใช้ชีวิตอย่างที่เราจะทำ มีอิสรภาพในการใช้ชีวิต แต่การที่จะมีอิสรภาพได้นั้น เราก็ต้องมี “เงิน” ถูกมั้ยครับ

 

เพราะฉะนั้นจริงปฎิเสธไม่ได้เลยว่าการวางแผนเกษียณอายุนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมากจริงๆ และเหตุผลที่เราจำเป็นต้องตื่นตัววางแผนเกษียณอายุนั้นก็ด้วยสาเหตุ 4 ประการคือ

 

เหตุผลแรก ระยะเวลาหลังเกษียณที่ยาวนานขึ้น รู้มั้ยครับว่าอายุมนุษย์โดยเฉลี่ยในปี 2443 คืออายุ 49 ปีแต่ปัจจับันผู้ชายมีอายุเฉลี่ย 72 ปี และผู้หญิงมีอายุเฉลี่ย 75 ปี และมีแนวโน้มที่จะอายุยืนมากขึ้นเรื่อยๆ จากการวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่ดีขึ้นจึงเป็นไปได้สูงว่าผู้คนในอนาคตจะมีอายุยืนยาวถึงอายุ 85 ปีโดยเฉลี่ย

เหตุผลที่สอง เรื่องของเงินเฟ้อ ระดับเงินเฟ้อมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นทำให้เงินออมของเราด้อยค่าลงโดยเฉลี่ยแล้วในประเทศไทยจะมีอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ประมาณ 3.3% ต่อปี ถ้าวันนี้เราต้องมีเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายปีละ 360,000 บาทหากสมมุติว่าอัตราเงินเฟ้อเป็น 3.3% ต่อปีถ้าวันนี้เราต้องมีเงินเพื่อเป้นค่าใช้จ่าย 360,000 บาทหากสมมุติว่าอัตราเงินเฟ้อเป็น 3.3% ไปอย่างนี้ทุกๆ ปี เชื่อมั้ยครับว่าในอีก 20 ปีข้างหน้า เราต้องเตรียมเงินเพื่อค่าใช้จ่ายเพื่อไลฟ์สไตล์แบบเดิมนี่แหละ แต่หากค่าใช้จ่าย 360,000 บาทต่อปี มันจะกลายเป็น 689,142 บาทต่อปี หรือเกือบ 2 เท่าในปัจจุบัน

 

เงินเฟ้อถึงเป็นปัจจัยที่สำคัญมากๆ ที่หลายคนลืมพิจารณาบางคน วางแผนเกษียณอายุไว้แล้ว เพิ่งมารู้ว่าเงินที่มีอยู่ไม่เพียงพอสำหรับตอนเกษียณ  เพราะลืมเผื่อเงินให้เงินเฟ้อกัดกินเงินต้น

 

เหตุผลที่สาม เรื่องของไลฟ์สไตล์หลังเกษียณ อายุที่เราต้องการหลายๆ คนบอกว่าชีวิตหลังเกษียณ ไม่ต้องการอะไรมาก มีแค่เดือนละหมื่นก็พอแล้ว แต่ผมถามจริงๆ เถอะครับว่าเงินหมื่นบาทในอีก 20 ปีข้างหน้ามันจะเหลือค่าเท่าไหร่กันเชียว ผมเชื่อว่าหลายคนอยากจะรักษาไลฟ์สไตล์ให้เป็นเหมือนกับตอนก่อนที่จะเกษียณอายุ ถ้าเราอยากได้แบบนั้น เราควรมีเงินประมาณ “70 เปอร์เซนต์” ของรายได้ก่อนการเกษียณถึงจะเพียงพอครับ

เหตุผลที่สี่ คือสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไป ช่วงของการเกษียณอายุค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพก็ต้องเพิ่มมากขึ้นด้วย ทุกวันนี้คนอายุยืนขึ้นก็จริง แต่ก็ตามมาด้วยโณคภัยไข้เจ็บ และค่ารักษาพยาบาลแต่ละครั้งก็ไม่ใช่ถูกๆ แถมยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ด้วยซ้ำ ถึงแม้ว่าเราจะซื้อประกันสุขภาพ แต่รู้มั้ยครับว่าเบี้ยประกันของคนอายุหลังเกษียณนี่แพงมากจริงๆ

 

เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว ถึงเวลาที่เราจะเริ่มต้นเกษียณอย่างจริงจรังได้หรือยังครับ ?

 

 


เจ้าของเพจที่รวมและแบ่งปันความรู้วางแผนการเงิน เพจ : Financial Times by Mongkol นักออกแบบความมั่งคั่ง โดยมงคล ลุสัมฤทธิ์ (Wealth Designer)

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง